Tag

โควิด-19

อีศานในสถานการณ์ไวรัส“โควิด-19” ลามระบาดทั่วโลก “ให้พี่น้องป้องปาย ซำบายดี ทุกผู่ทุกคน” ( 11 )

บ่ายวันพฤหัสบดีที่ 9 เมษายน ปรึกษาหารือการขับเคลื่อนวัฒนธรรมภาคพลเมือง รศ.ดร.พรอัมรินทร์ พรหมเกิด, รศ.ดร.บัวพันธ์ พรหมพักพิง, ผศ.ดร.มานะ นาคำ, รศ.ดร.สถาพร เริงธรรม (อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มข.), นางสาววรัญญา ศรีริน (นศ.ปริญญาเอก สาขาสังคมวิทยา), นางสาวศิรินัน ทับอาษา ป.โท ปรัชญา และตัวแทนมูลนิธิทางอีศาน ปรีดา ข้าวบ่อ, ดร.อาทิตย์ บำรุงเอื้อ, ปรัชญา นันธะชัย, ธีระศักดิ์ จงจันทร์ ขอบคุณซึ่งกันและกันครับ

อีศานในสถานการณ์ไวรัส“โควิด-19” ลามระบาดทั่วโลก “ให้พี่น้องป้องปาย ซำบายดี ทุกผู่ทุกคน” ( 13 )

"...ถ้าผ่านการระบาดครั้งนี้ไปได้ก็ไม่มีอะไรรับประกันว่า จะเกิดโรคระบาดที่ใหญ่กว่านี้อีกในอนาคต เมืองไทยไม่น่ารอให้ถึงวันนั้น วันนี้เรามีภาคเกษตรที่เป็น “ต้นทุน” ที่สำคัญที่สุด มีศักยภาพที่จะเลี้ยงตนเองและเลี้ยงคนในโลกได้ เป็นครัวเราครัวโลกได้ดีถ้ามีการวางแผน การจัดการ การพัฒนาอย่างเหมาะสม..."

(17) Covid-19 เรียนรู้จากสถานการณ์ (10-04-2020)

โครงการวิจัยนี้มีชื่อว่า Covid-19 Case Cluster Study ที่เยอรมันมีงานวิจัยซึ่งน่าจะเป็นที่เดียวในโลก ที่ไม่รอให้โรคระบาดจบแล้วค่อยทำ แต่ทำทันทีตั้งแต่วันนี้ เพื่อศึกษาว่า โควิด-19 ระบาดอย่างไรตั้งแต่แรกเริ่มและพัฒนามาอย่างไร จะติดตามไปทุกระยะอย่างใกล้ชิด วิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยชุมชนเป้าหมายมีส่วนร่วม

(16) Covid-19 เรียนรู้จากสถานการณ์ (08-04-2020)

ปัญหาเศรษฐกิจระหว่างการระบาดของโควิด-19 ก็หนักหนาแล้ว จะสาหัสมากกว่าอีกเมื่อโรคร้ายนี้ผ่านไป นี่เป็นการคาดการณ์ของผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจสังคม ทำให้รัฐบาลประเทศต่างๆ นอกจากจะหาทางเยียวยาระหว่างนี้แล้ว ยังต้องเตรียมรับมือกับ “เผาจริง” หลังจากนี้

(15) Covid-19 เรียนรู้จากสถานการณ์ (06-04-2020)

สมาร์ทโฟนต้านไวรัส จีน ไต้หวัน เกาหลี มีการใช้ “แอป” เพื่อค้นหาผู้ติดเชื้อ แล้วให้กักตัวในบ้านหรือไปโรงพยาบาล ประเทศในยุโรปอเมริกายังรีรอ ตั้งคำถามเรื่องสิทธิส่วนบุคคล เพราะแอปนั้นจะบอกว่า ตั้งแต่ติดเชื้อ หลายวันที่ผ่านมาตนเองใกล้ชิดกับใคร จะได้ติดตามตรวจโรคได้ทัน

(14) Covid-19 เรียนรู้จากสถานการณ์ (04-04-2020)

สหรัฐอเมริกา แฟรงคลิน ดี รุสเวลท์ (Franklin D. Roosevelt 1882-1945) ประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา 4 สมัย (1933-1945) ผู้นำในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ (1929-1933) จนถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 (1939-1945) ก่อนเป็นประธานาธิบดี ท่านเป็นผู้ว่าฯ มลรัฐนิวยอร์ค (1929-1933) ได้รับการยกย่องว่าป็น 1 ใน 3 ประธานาธิบดีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของสหรัฐอเมริกา อีกสองท่าน คือ จอร์ช วอชิงตัน และอาบราฮัม ลินคอล์น

(13) Covid-19 เรียนรู้จากสถานการณ์ (03-04-2020)

แปลกใจที่สื่อเสนอข่าวและมีการแชร์ชื่นชม 13 จังหวัดที่ยังไม่มีผู้ติดเชื้อโควิด-19 ยกเป็นโมเดลอีกต่างหาก เพราะตอนที่ลาวกับพม่ายังไม่มีผู้ติดเชื้อก็ไม่เห็นมีใครไปชื่นชมเขา มีแต่ไปให้ความเห็นว่า เขาคงไม่มีเครื่องมือ หรือเพราะไม่ได้ตรวจหรือเปล่า ตั้งข้อสังเกตไปต่าง ๆ นานา

(12) Covid-19 เรียนรู้จากสถานการณ์ (02-04-2020)

มีข้อถกเถียง ความเห็นต่างและแนวปฏิบัติต่างเกี่ยวกับโควิด-19 เพราะวันนี้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกเหมือนคนติดอยู่ในถ้ำ หาทางออกไม่เจอ ยังไม่เห็นแสงสว่างอยู่ปลายถ้ำปลายอุโมงค์ไหน เพราะนี่คืออุบัติการณ์ใหม่ มาตรการอะไรที่ใช้กันมาก่อนใช่ว่าจะใช้ได้กับโควิด-19 นี้ เป็นโคถึกที่คึกอย่างยิ่ง ยังเอาไม่อยู่

(11) Covid 19 เรียนรู้จากสถานการณ์ (31.03.2020)

สองคำที่น่าจะทำให้เราเข้าใจสถานการณ์เศรษฐกิจวันนี้ คือ เศรษฐกิจถดถอย (recession) และเศรษฐกิจตกต่ำหรือเสียหายใหญ่หลวง (depression) ซึ่งยกเอาสหรัฐอเมริกามาเป็นกรณีศึกษา เพราะนอกจากจะมีตัวเลขที่มีการวิเคราะห์ไว้โดยละเอียด สหรัฐยังเปรียบเสมือนหัวรถจักรสำคัญที่ลากเศรษฐกิจโลก และเป็นต้นแบบของการพัฒนา

(9) Covid-19 เรียนรู้จากสถานการณ์ (28/3/20)

ในสถานการณ์ที่วิกฤติขึ้นเรื่อยๆ ผู้ติดเชื้อในสหรัฐเกินแสน อิตาลี สเปน เยอรมัน ฝรั่งเศส อิหร่าน ยังไม่มีทีท่าว่าจะ “ราบ” หรือจะลด คนตายก็เพิ่มขึ้นทุกวัน ยาก็ยังไม่มี วัคซีนก็ยังห่างไกล โรงพยาบาลก็โกลาหลเพราะเตียงไม่พอ เครื่องช่วยหายใจขาดแคลนหนัก รวมทั้งเสื้อและหน้ากากสำหรับแพทย์พยาบาล รอมาจากจีนและอินเดียแหล่งผลิตใหญ่ ในยุโรปอเมริกาไม่ได้ผลิตเอง ไม่ได้เตรียมไว้ เพราะไม่คิดว่าจะวิกฤติขนาดนี้

(10) Covid 19 เรียนรู้จากสถานการณ์ (30.03.2020)

สถาบันและองค์ภาครัฐ วิชาการ ธุรกิจทั่วโลก ร่วมมือกันวิจัยและพัฒนายาและวัคซีน ซึ่งน่าจะได้ผลเร็วกว่าที่ผ่านๆ มา รวมทั้งมีการนำเลือดของผู้ติดโควิด19 ที่หายแล้วมาให้ผู้ป่วยด้วยไวรัสนี้ เชื่อว่า สารภูมิต้านทาน (antibody) ที่เกิดกับผู้ติดเชื้อที่หายแล้วจะช่วยกำจัดไวรัสตัวนี้ได้เร็วขึ้น ที่เยอรมันกำลังทดลองเรื่องนี้อยู่

(8) Covid-19 เรียนรู้จากสถานการณ์ (27/3/20) ศึกษาอดีต เข้าใจปัจจุบัน สร้างสรรค์อนาคต

@ เชื่อหรือไม่ว่า ในประวัติศาสตร์โลกที่ผ่านมา คนตายมากที่สุดไม่ใช่เพราะแผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด หรือสงคราม แต่เพราะไวรัส แบคทีเรีย ปรสิต แค่มาลาเรียโรคเดียวหลายพันปีที่เกิดก็นับไม่ได้แล้วว่าตายเท่าไร การระบาดใหญ่ๆ ในประวัติศาสตร์มีนับครั้งไม่ถ้วน

(7) Covid-19 เรียนรู้จากสถานการณ์ (26/3/20) #จิตอาสาพาฝ่าวิกฤติ

โควิด19 ได้เปิดเผยอีกด้านหนึ่งของมนุษย์ คือ ความดีงาม ความมีน้ำใจ ความเสียสละ ผู้คนไม่นิ่งดูดาย แต่ลุกขึ้นมาช่วยเหลือเกื้อกูลกัน สร้างความหวังและกำลังใจให้กัน ปลุกความเชื่อมั่นร่วมกันว่า ที่สุดก็จะฝ่าฟันปัญหา และชนะวิกฤตินี้ได้ด้วยกัน

(6) Covid-19 เรียนรู้จากสถานการณ์ (25/3/20) โควิด19 กับการเมือง

“หนทางพิสูจน์ม้า โคโรน่าพิสูจน์ผู้นำ” @ วันนี้นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาออกมาบอกว่า “เราเห็นแสงสว่างอยู่ปลายอุโมงค์” แล้ว แต่ด้วยน้ำเสียงและลักษณะท่าทางแตกต่างจากเวลาแถลงเรื่องอื่น วันนี้ดูเซื่องซึมเหมือนไก่ป่วย CNN สื่อ “คู่แค้น” ถามแบบไม่ต้องการคำตอบว่า “อุโมงค์ไหน”

(5) Covid-19 เรียนรู้จากสถานการณ์ (24/3/20)

จากผู้ติดเชื้อ 3 คนเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์กลายเป็น 64,000 คนเมื่อวันที่ 23 มีนาคม เพียง 5 สัปดาห์ให้หลังได้อย่างไร คนตายรวม 6,000 คน ตายวันเดียว 600 คน เหล่านี้คือโศกนาฎกรรมของมนุษยชาติ
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com