งานเขียนชุด “มหากาพย์ชนชาติไท” บรรพสอง ‘หนูไฟ เป่าหน’ นักเดินทางผู้ยิ่งยง คงนามไท (ตอนที่ ๒)
วัฒนธรรมบั้งไฟ” จัดอยู่ในสังกัดร่วม ‘สายวัฒนธรรมแถน’ ของชาวไท|ลาว กลุ่มต่าง ๆ ที่สืบสายเชื้อเครือมาจาก ‘ชาวไป่เยวี่ย’ ในส่วนสายชาติพันธุ์ไท มายาวนานแต่โบราณสมัย จากการวิจัยสนามของนักวิชาการหลายท่าน รวมทั้งของผู้เขียนเอง ข้อมูลสนามบ่งชี้ว่า ประเพณีบุญบั้งไฟของชาวไทยถิ่นอีสานอยู่ร่วมบริบทประวัติศาสตร์สังคมและวัฒนธรรมมากับชาวลาวแห่งอาณาจักรล้านช้าง
บ้านของฉันและโลกของเธอ
ภายในรั้วมีถั่วแตงและแปลงผัก มีการงานของความรักจากทุ่งถิ่น
แต่ละหยดหยาดเหงื่อที่เรื่อริน ล้วนแต่งแต้มชีวินมิสิ้นรัก
ลาบนก
เมนูอาหารป่า ก็เป็นอีกหนึ่งเมนูที่คนอีสานชอบนัก ไม่ว่าจะเป็นผัดเผ็ดหมูป่า อ่อมบ่าง ซั้วงูสิง ก้อยกะปอม ถือว่าเป็นอาหารชั้นเลิศ แม้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าหวงห้าม ผู้ใดมีไว้ครอบครองหรือล่ามาทำเป็นอาหารก็จะมีความผิด! แต่คนบางกลุ่มก็ยังแอบล่าหามารับประทานอยู่เสมอ
จิตรกรรมฝาผนัง วัดทุ่งศรีเมือง ภาพฉายวิถีชีวิตคนอุบลฯในอดีต
วัดเป็นสถานที่รวบรวมศิลปะแต่ละสมัยไว้ได้อย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ภาพจิตรกรรมฝาผนัง” พระอารามเก่า ๆ มักมีภาพจิตรกรรมฝาผนังยุคที่วัดนั้น ๆ สร้างขึ้นมาปรากฏอยู่ และแน่นอนว่า ช่างเขียนภาพในโบสถ์ วิหารต่าง ๆ ย่อมเป็นช่างเขียนชั้นดี อย่างน้อยก็ดีที่สุดเท่าที่ทางวัดนั้น ๆ จะเฟ้นหามาได้
สาส์นจาก “ทางอีศาน” – ติดอาวุธทางปัญญา
ตั้งแต่โควิดสิบเก้าเริ่มระบาด องค์กรสายส่งปิดกิจการ ร้านค้าก็ทยอยหยุดธุรกรรม นิตยสารรายเดือน “ทางอีศาน” จึงต้องระงับการขายตามร้านค้าปลีก จัดพิมพ์เฉพาะสมาชิกและคำสั่งซื้อตรงจากแฟน ๆ ทั่วประเทศตั้งแต่ ฉบับ ๙๖ เดือนเมษายน ๒๕๖๒ และได้ลดจำนวนหน้าลงจาก ๑๖๐ หน้า เหลือ ๑๒๘ หน้า หน้าสี่สีที่มี ๔๘ หน้าก็ปรับเป็นขาวดำทั้งหมด
ทฤษฎี “ผีบ้า”
ชีวิตในหมู่บ้านหนึ่งก็เหมือนนิยายเรื่องหนึ่ง มีการเกิด แก่ เจ็บ ตาย มีดีใจโศกเศร้า มีเคียดแค้นให้อภัย มีสันติสงคราม มีบาดหมางสามัคคี ตัวละครประกอบด้วย พระเอกผู้ร้าย นางเอกนางรอง ผู้ทรงศีลมหาโจร คนเข้าวัดเข้าบ่อน คนหมั่นเพียรเกียจคร้าน ฯลฯ และก็มีผีบ้า