เสมา “พิมพาพิลาป”
ใบเสมาศิลปะทวารวดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๖ แผ่นหนึ่งสลักภาพพุทธประวัติตอนพระพุทธองค์โปรดพระนางพิมพาที่ตําหนักของพระนาง หรือที่นิยมเรียกว่าพิมพาพิลาป นับได้ว่าเป็นหนึ่งในงานศิลปกรรมชิ้นเอกในอดีตกาลของแผ่นดินอีสาน โดยใบเสมาแผ่นนี้ค้นพบจากเมืองฟ้าแดดสงยาง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ปัจจุบันจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขอนแก่น
เงินตราโบราณ ในอีสานบ้านเฮา (ตอนที่ ๔)
ฉบับนี้จะมาเล่าถึงตราประทับอกตราหนึ่งที่พบในเงินฮ้อย และพบเป็นจำนวนค่อนข้างมากรองลงมาจากตรางูหรือพญานาคที่กล่าวไปแล้ว เงินฮ้อยตราช้างมีหลากหลายรูปแบบ ซึ่งจะเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์ของอาณาจักรแห่งนี้ได้พอสมควร
ทางอีศาน 21 : ฟ้อนรับปีใหม่
สายลมเหนือพัดมาบอกข่าวการเปลี่ยนผ่านฤดูกาล อากาศเย็นลง-เย็นลง และแล้วลมตะวันตกสาดเข้ามาปะทะ ฝนฟ้าพลันคึกคะนอง ลมปั่นป่วนกระโชกแรง กระทั่งทุกอย่างสงบ แสงทองอร่ามหล้าลิ่วเมฆขาวบางกระจายบนฟ้าคราม อุณหภูมิลดลงวูบวาบ สัมผัสแห่ง เนื้อหนังสรุปรู้ว่า ...ฤดูหนาวมาถึงแล้ว
เรื่อย ๆ มาเรียง ๆ : สวัสดีปีใหม่
คำว่า “ปีใหม่” ...คนเราอาศัยดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ กำหนดวันเวลาเป็นเดือน เป็นปี ต่อมาสังเกตช่วงอากาศร้อน ฝนตก และอากาศหนาวกำหนดฤดูกาล การจะเริ่มต้นนับว่าช่วงไหนเป็นปีใหม่นั้น ต่างกลุ่มต่างก็ขึ้นปีใหม่กันตามความนิยมที่เห็นว่าเหมาะสมของกลุ่มของตน
เที่ยวทั่วทีป: วาระสุดท้าย…ที่แท้จริง
พระนางซูสีไทเฮาสวรรคตหลังฮ่องเต้น้อยปูยีครองราชย์ได้เพียง ๑ มื้อ ภายหลังทหารของพรรคก๊กมินตั๋งได้รุกเข้าไปภายในสุสานของพระนาง และเนื่องจากเมื่อสมัยยังมีชีวิต พระนางรับประทานผงไข่มุกเป็นประจำแม้อายุมากแต่ยังดูสาว และเมื่อเสียชีวิตลงยังได้มีการถนอมศพด้วยการใช้ไข่มุกใส่ไว้ทั้งในปากและในทวาร ซึ่งกล่าวกันว่าเฮ็ดให้ศพบ่เน่าเปื่อย และเพราะเหตุนี้ทหารของพรรคก๊กมินตั๋งจึงได้เฮ็ดอนาจารกับศพของพระนาง
บทร้อยกรองของ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ 50-53
๕๒. ศาสตรศิลป์เป็นเงินเป็นทรัพย์ ไปสำหรับกับผู้ตกไกล ปัญญาไวเป็นเงินของฝาก ยามเมื่อยากเกิดเหตุจิบหาย ธรรมทั้งหลายของดีเฮาก่อ เป็นของห่อต่อไว้ยามตาย ศีลทั้งหลายเป็นเงินเป็นแก้ว บ่ฮู่แล้วทุกเมื่อทุกยาม
พร้อมสรรพรับปีใหม่ ๒๕๕๗
๏ พ้นผ่านฉนำหนึ่งสติพึงคะนึงเห็นเดือนปีกระชากเช่นก็จะลากสกานกลาย
มงคลนิมิต สู่จิตทรรศน์ “ศตวรรษิกชน”
ณ วารกาลเถลิงศกใหม่ พุทธศักราช ๒๕๕๗ นี้ ขออำนวยพรดลบันดาลผู้อ่านทุกท่านได้บริบูรณ์ด้วยสุขสนุก สุขสบาย สุขสว่าง สุขสงบ สุขสง่า สุข เท่าทัน และอายุมั่นขวัญเพริศพร้อยเป็นร้อยปี กันอย่างถ้วนหน้าสืบไป องค์การสหประชาชาติได้นิยามไว้ว่า ประเทศใดที่มีประชากรอายุ ๖๐ ปีขึ้นไปในสัดส่วนร้อยละ ๑๐ หรืออายุ ๖๕ ปีขึ้นไป เกินร้อยละ ๗ ของจำนวนประชากรทั้งหมด ถือว่าประเทศนั้นได้ก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ