ตอนที่ 3 จากตำนานสู่สถานการณ์จริง
ตอนที่แล้ว เราได้ซึมซับตำนานแห่งความแห้งแล้งของภาคอีสานว่าเล่าขานกันมาอย่างไร ใครเป็นผู้เกี่ยวข้องในตำนานในแต่ละช่วง คราวนี้ลองมาพิจารณาสภาพของความเป็นจริงในปัจจุบันดูว่าอีสานแห้งแล้งจริงหรือไม่? สภาพ, ข้อมูล, สถิติ, ตัวเลขต่าง ๆ ที่มีอยู่ มันก็ได้สะท้อนปัญหาอย่างชัดเจนว่า การแก้ปัญหาทั้งภัยแล้งและปัญหาน้ำท่วมภาคอีสาน นอกจากแก้ไขกันไม่ได้แล้ว ดูเหมือนปัญหามันจะทวีคูณหนักหนาขึ้นทุกวันด้วยซ้ำ
มรดกวัฒนธรรมพิพิธภัณฑ์บ้านไทย จิม ทอมป์สัน
ธานี เมื่อ พ.ศ. 1893 จนถึง พ.ศ. 2310 ลักษณะงานมีรูปแบบ องค์ประกอบ เทคนิค และวัฒนธรรม ตามแบบจิตรกรรมไทยประเพณีภาคกลางที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดีย จีน เขมร และอิทธิพล ของศิลปไทยยุคก่อนกรุงศรีอยุธยา ในระยะแรกใช้สีในวรรณะเอกรงค์ ต่อมาเมื่อมีการติดต่อกับต่าง ประเทศ ทำให้มีสีต่างๆ เพิ่มเข้ามา นิยมเขียนเรื่องอดีตพุทธ พุทธประวัติ ทศชาติชาดก เทพชุมนุมและ ภาพลวดลายต่างๆ ปิดทองที่ภาพสำคัญและทำลายดอกไม้ร่วงที่พื้นหลังภาพ สถานที่ตั้งจิตรกรรมส่วน ใหญ่พบที่อุโบสถ ปรางค์ วิหาร ศาลาการเปรียญ หอไตร กุฏิ ตู้พระธรรม สมุดข่อย และพระบฏ
ปิดเล่ม ทางอีศาน 94
ตรุษจีนก็ผ่านไปแล้วพร้อมกับข่าวไม่ดีเรื่องไวรัสประหลาดระบาดที่เมืองจีน
วันที่เขียน “ปิดเล่ม” นี้ จีนประกาศปิดเมืองไปแล้วสามเมือง คือเมืองอู่ฮั่นเมืองใหญ่ และเมืองเล็กรอบ ๆ อู่ฮั่นอีกสองเมือง
ยังไม่ล้าง
“แต๊บเอ้ย! ไปเก็บยอดกระถินข้างฮั้วกับผักเม็ก ผักติ้วที่พ่อปลูกไว้มากินแหน่บักหำ!”
บักแต๊บก็ไปเก็บผักตามที่พ่อเฒ่าเหงี่ยมบอก มันเอาผักที่เก็บมาไปล้างที่โอ่งน้ำข้างบ้านแล้วเดินไปหาจานที่จะใส่ผักในครัว
พ่อเฒ่าเหงี่ยมไม่เห็นตอนบักแต๊บล้างผักเห็นแต่ตอนมันไปเอาจานมาใส่ผัก จึงถามบักแต๊บด้วยความหวังดี
“เจ้าล้างแล้วบ่บักหำ?”
บักแต๊บได้ยินพ่อเฒ่าเหงี่ยมถามแว่ว ๆ ก็ตอบไปตามตรงว่า
“บักหำยังบ่ล้าง! ล้างแต่ผัก!”
ตามรอยจาริกหลวงปู่มั่น จากอีสานสู่ล้านนา
“อย่าลดละท้อถอยความเพียร ธรรมเป็นสมบัติกลาง และเป็นสมบัติของทุกคนที่ใคร่ต่อธรรม พระพุทธเจ้ามิได้ผูกขาดไว้แก่ผู้หนึ่งผู้ใดโดยเฉพาะ ต่างมีสิทธิครอบครองเป็นเจ้าของได้ด้วยการปฏิบัติดีของตนด้วยกัน” (หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)
ขี้เหล็ก : ฮ่วมพาแลงกินแกงต่างหม้อ
ผิดที่ต่าง หรือ ต่างจึงผิด
แบบไหนเรียกว่าถูก แบบไหนเรียกว่าผิด
พ่อนางพาทำแบบนี้ หรือ แม่อ้ายพาทำแบบนั้น
ถูกเพราะเป็นวัฒนธรรมบ้านฉัน หรือ ผิดจากประวัติศาสตร์ลิ้นเธอ
จุลจิต เสน่ห์งามเจริญ “ศิลปะก่อเกิดพลังสร้างสรรค์”
“ศิลปะเป็นพลังสร้างสรรค์ ที่จะช่วยให้มนุษย์ปรับเปลี่ยนอารมณ์และความรู้สึก ศาสนาและวัฒนธรรม ศิลปะจึงมีพลังในการช่วยค้นหา
ตัวเอง ช่วยในการค้นพบคุณค่าศักยภาพ ความงามของระบบความสัมพันธ์ระหว่างตนเอง สรรพสิ่ง ที่แวดล้อมก่อให้เกิดพลังสร้างสรรค์หลากหลาย ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม”
ศึกษา ศรัทธา พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
ในขณะที่ทุกประเทศกำลังจะเข้าสู่มหาสงครามโลกครั้งที่ ๑ ตามด้วยการปฏิวัติของโซเวียต รุสเซีย และสงครามปฏิวัติจีนก็เริ่มปะทุ