ปีที่สร้างพระธาตุพนมในตำนานอุรังคธาตุ
พระธาตุพนมเป็นศาสนสถานสำคัญของลุ่มแม่น้ำโขง เป็นที่ประดิษฐานพระธาตุหัวอกของพระพุทธเจ้า ที่เรียกว่า “อุรังคธาตุ” ตั้งอยู่ที่วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม สถานที่ตั้งขององค์พระธาตุพนมเป็นเนินดินสูงกว่าบริเวณโดยรอบประมาณ ๒ เมตร เรียกตามตำนานอุรังคธาตุว่า “ภูกำพร้า”
ฤกษ์งาม ยามดี : โลกเก่าที่เล่าซํ้าบนโลกใหม่
การแสดงจุดยืนด้วยท้องถิ่นนิยมที่ปรากฏอยู่ทั่วไปในสังคมอีสานปัจจุบัน เช่น การรณรงค์อาหารอีสาน การเที่ยวเมืองอีสาน การรื้อฟื้นประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นอีสาน ตลอดถึงการฟื้นฟูภูมิปัญญาอีสาน
ภาพจำลองอุตตรกุรุทวีปในพิธีศพชาวอีสาน
ประเพณีงานศพที่น่าสนใจในวัฒนธรรมชาวพุทธที่สะท้อนให้เห็นว่า เป็นการจำลองถึงพิธีศพอันเกิดในอุตตรกุรุทวีป อันเป็นดินแดนอุดมคติของมนุษย์ตามคติไตรภูมิ ที่จะนำมาเปิดผ้าม่านกั้งเรื่องราวการตายที่สัมพันธ์กับประเพณีของคนอีสานในครั้งนี้
พุทธปรินิพพานในตำนานอุรังคธาตุ
เรื่องราวแห่งมหาวิปโยคของชาวพุทธ จากเหตุการณ์พุทธปรินิพพานขององค์สมเด็จพระโคตมพุทธเจ้า เมื่อกว่า ๒,๖๐๐ ปีก่อน ได้ถูกเรียบเรียงและบันทึกไว้ในพระไตรปิฎก เรียกว่า มหาปรินิพพานสูตร เป็นพระสูตรที่มีขนาดยาวจึงเรียกว่า ทีฆนิกาย
มังมูน บุญข้าว : เสาค้ำวัฒนธรรมอีสาน
มนุษย์ที่อาศัยในแผ่นดินอีสานค้นพบข้าวป่าและนำมาเป็นอาหาร จากยุคเก็บหาจนสามารถนำมาเพาะปลูกในผืนนาที่จัดการระบบนํ้าอย่างชาญฉลาด บนเส้นเวลาทอดยาวกว่าหมื่นปีที่วิถีข้าวและวิถีคนปรับปนจนเป็นเนื้อเดียวกัน ผูกพันก่อเกิดเรื่องราวของการผลิต การแปรรูป ความเชื่อ และประเพณี ที่สะท้อนถึงความสมบูรณ์มั่งคั่งโดยมีข้าวเป็นแก่นสารของการก่อเกิดวัฒนธรรม
เมืองฟ้า : สวรรค์ของคนอีสาน
“...สวรรค์บ้านนาอยู่ไหน ๆ ไม่รู้อะไร ใครมองไม่เห็น บ้านนาสวรรค์ทั้งเป็น ๆ โปรด มองให้เห็นนะจะเป็นความสุข ไม่เหมือนความ ทุกข์ของคนในบาร์ ๆ ...”
แซ่บนัว หัวม่วน
เป็นที่เชื่อถือกันมาช้านานว่าปัจจัยสี่อันประกอบด้วย อาหาร ยารักษาโรค ที่อยู่อาศัย และเครื่องนุ่งห่ม เป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญในการดำรงชีวิต นอกจากนี้ ปัจจัยสี่ยังเป็นสิ่งบ่งชี้ถึงวิถีวัฒนธรรมที่ปรุงปรับสอดรับกับสภาพธรรมชาติแวดล้อมที่มนุษย์ตั้งถิ่นฐาน ปัจจัยสี่จึงให้ภาพสะท้อนสำคัญของการดำรงชีวิตมนุษย์ในวิถีธรรมชาติ
แถน ในตำนานอุรังคธาตุ
แม้ว่า ตำนานอุรังคธาตุจะเป็นเรื่องราวของราชวงศ์กับพุทธวงศ์ แต่ในเนื้อหาทางประวัติศาสตร์ของราชวงศ์ล้านช้าง ไม่อาจปฏิเสธการก่อร่างสร้างอาณาจักรตามคติแถน ซึ่งเป็นความเชื่อดั้งเดิม ก่อนที่จะถูกซ้อนทับกลืนกลายด้วยคติพุทธ
พิธีบรมราชาภิเษกในตำนานอุรังคธาตุ
การสถาปนาพระผู้ผ่านพิภพขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ปกครองแว่นแคว้น มีธรรมเนียมสำคัญที่ถือปฏิบัติกันมาแต่ครั้งโบราณ นั่นคือ การรดน้ำเพื่อเปลี่ยนสถานภาพ
รอยพระพุทธบาทในตำนานอุรังคธาตุ
ปาทลักษณะนิทาน หรือเรื่องราวของการประทับรอยพระพุทธบาทในดินแดนลุ่มแม่น้ำโขง เป็นสาระสำคัญหนึ่งที่ปรากฏอยู่ในตำนานอุรังคธาตุ ดังนั้น แนวคิดเรื่องรอยพระพุทธบาท จึงเป็นแนวคิดสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการแต่งตำนานอุรังคธาตุ