#บันทึกชีวิต (บทที่ ๒) ฉบับที่ ๑๒ ท่าแร่

ฉบับที่แล้วเล่าไปไกลเพราะล้วนเกี่ยวพันกันไปหมด คณะมิซซังต่างประเทศกรุงปารีสประจำอยู่ที่กรุงศรีอยุธยาและภาคกลาง เมื่อปี 1881 ได้เดินทางไปอีสาน ขี่ม้าไปถึงโคราช แล้วนั่งเรือล่องแม่น้ำมูลไปถึงอุบลฯ ปี 1883 ล่องแม่น้ำโขงขึ้นไปถึงนครพนม แล้วต่อมาไปที่สกลนคร เพราะได้ข่าวว่ามีคนเวียดนามที่เป็นคริสต์จำนวนหนึ่งขอให้ไปตั้งวัดที่นั่น

#บทเรียนชีวิต (บทที่ ๒) ฉบับที่ ๑๑ ญาติพี่น้อง

จดหมายฉบับที่แล้ว พ่อพูดถึงรากเหง้ากับคีรีวง ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกันมาก อยากเล่าให้ฟังเพื่อจะได้เป็นพื้นฐานในการเข้าใจว่า ทำไมพ่อจึงอยากเขียนถึงท่าแร่ บ้านเกิดของพ่อ

#บทเรียนชีวิต (บทที่ ๒) ฉบับที่ ๑๐ ญาติพี่น้อง

พูดถึงญาติทางปู่จำนงค์ไปแล้ว ทางด้านของย่าคำปุนนั้น ญาติพี่น้องของทวดหนูนาที่สกลนครมีมากก็จริง แต่เราก็ไม่ได้สนิทกับใคร เพราะไม่ได้มีความสัมพันธ์หรือติดต่อกันมาตั้งแต่ต้น เคยมี พล.ต.ต.ชาติชาย อุปพงษ์เท่านั้น เพราะนามสกุลอุปพงษ์กับศรีวรกุลเป็นลูกหลานเจ้าเมืองสกลนครเหมือนกัน

#บทเรียนชีวิต (บทที่ ๒) ฉบับที่ ๙ ญาติพี่น้อง

ปู่มาเมืองไทยอายุ 8 ขวบ ได้นามสกุล “พงค์พิศ” เมื่อไร อย่างไร พ่อก็ลืมถามปู่ รู้แต่ว่าท่านเป็นต้นตระกูล น้องของปู่ทุกคนพร้อมลูกหลานจึงใช้นามสกุลเดียวกันนี้ เขียนต่างกันบ้าง ไม่เป็นไร ขอให้ใช้ตามที่เขียนในบัตรประชาชนของตนก็แล้วกัน ดั้งเดิมจริงๆ พงค์ ใช้ ค์ ไม่ใช่ ศ์ หรือ ษ์ ไม่ทราบแปลว่าอะไร

#บันทึกชีวิต (๘) “แม่”

พ่อขอเงินย่าหนึ่งสลึงไปซื้อดินสอ ย่าไม่ให้ แต่เมื่อขอไปให้คนขอทาน โดยเฉพาะวนิพกพเนจร ที่มาเป่าแคน เล่นพิณ เล่นกะจับปี่หน้าบ้าน ย่าจะให้เสมอ แต่พ่อไม่ให้เขาทันที จะเดินตามเขาไป ฟังเขาเล่นหน้าบ้านโน้นบ้านนี้จนสุดหมู่บ้าน จึงให้ตังค์เขา แล้วเดินกลับบ้าน เบิกบานอิ่มใจในเสียงดนตรี

นิตยสารทางอีศาน ฉบับที่ 128

“อารยธรรมแอ่งสกลนคร ในอ้อมกอดภูพาน และในหลับใหลของหนองหาร” นิตยสาร “ทางอีศาน” ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๑๒๘ ประจำเดือนธันวาคม ๒๕๖๕ ภาพปก : ดิลก หว่างพัฒน์
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com