ปิดเล่ม ทางอีศาน ๑๑๕

“…เรามีความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ และสังคม และการจัดสรรทรัพยากรอย่างมหาศาล ท่านทราบไหมครับว่า ๕๐ ปีที่แล้ว ตอนเริ่มแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ถ้าเราแบ่งคนไทยเป็น ๕ กลุ่ม กลุ่มละ ๒๐% คนจนที่สุดของประเทศไทยในปี ๒๕๐๔ เมื่อเริ่มแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ ๑ นั้น เป็นเจ้าของรายได้ประชาชาติ ๔% คนรวยที่สุดอยู่ด้านบน ๒๐% ของประเทศนั้นเป็นเจ้าของรายได้ประชาชาติเกือบ ๖๐%

เงินตราโบราณ ในอีสานบ้านเฮา (ตอนที่ ๑๓)

หลังจากสยามมีการผลิตเหรียญเงินอย่างตะวันตกใช้อย่างเป็นทางการในปี ๒๔๐๓ แต่เงินปลีกที่มีราคาต่ำกว่าหนึ่งไพนั้น ก็ยังใช้เบี้ยหรือหอยเบี้ย ซึ่งเป็นหอยขนาดเล็กที่ได้จากมหาสมุทรอินเดีย ใช้เป็นเงินปลีกมาตั้งแต่สมัยอาณาจักรอยุธยา โดยอัตราแลกเปลี่ยนของหอยเบี้ยมีตั้งแต่ ๖๐๐-๘๐๐ เบี้ย เป็นหนึ่งเฟื้องแล้วแต่ความขาดแคลนหอยเบี้ย ซึ่งหอยเบี้ยนี้พ่อค้าชาวมลายู นำใส่เรือสำเภามาขาย

เงินตราโบราณ ในอีสานบ้านเฮา (ตอนที่ ๑๒)

ช่วงสมัยรัชกาลที่ ๓ จนถึงสมัยรัชกาลที่ ๔ การค้าของสยามรุ่งเรืองมาก จนส่งผลให้เงินตราที่มีใช้จ่ายในตลาดคือ เงินพดด้วง หรือเงินหมากค้อ ของคนลาวอีสาน มีจํานวนไม่เพียงพอใช้ซื้อขายแลกเปลี่ยน เพราะผลิตด้วยมือ กําลังผลิตค่อนข้างตํ่าผลิตได้วันละไม่กี่ร้อยบาท ทั้งที่ความต้องการใช้มีมากกว่านั้น ชาวต่างประเทศซึ่งเป็นชาวตะวันตกมักนำเงินเหรียญของตนมาซื้อขายสินค้า แต่ต้องนำเงินเหรียญนั้น ๆ หลอมเป็นเงินพดด้วง แล้วตีตราของทางราชการเสียก่อน จึงเป็นที่ยอมรับของพ่อค้าหรือราษฎรชาวสยาม

ฮูปแต้มวัดโพธาราม นาดูน

ฮูปแต้มวัดโพธารามเขียนด้วยสีฝุ่นผสมกาวใช้สีของผนังสิมเป็นสีพื้น สีที่ใช้มีสีน้ำเงิน ฟ้า เขียว เหลือง แดง ดํา และขาว วรรณะสีโดยรวมแล้วเป็นสีเย็น ภาพที่ต้องการเน้นให้สะดุดตา จะเขียนสีตรงกันข้ามติดกัน เช่น สีครามตัดเส้นด้วยสีนํ้าตาล ส้ม และดํา เป็นต้น

เรื่องข้าวที่เขา (ทองแถม) ไม่ได้เล่าให้ฟัง

คนไทยกินข้าวเป็นอาหารหลักมานาน นานจนอดนึกไม่ได้ว่า ตอนยังไม่เป็นคนไทยก็คงกินข้าวเหมือนกัน กินจนติดเป็นนิสัย กินอาหารอื่นมากเท่าใดก็ไม่รู้สึกอิ่มเหมือนกินข้าว นอกจากรู้จักกินข้าวแล้ว ดูเหมือนว่าเรารู้เรื่องราวของข้าวที่กินทุกมื้อทุกวันน้อยเหลือเกิน รู้บ้างก็กระท่อนกระแท่น ไม่ปะติดปะต่อ รู้จริงบ้างนิดหน่อย แต่ส่วนใหญ่รู้ไม่จริง

“พลัง” ของแนวคิดสิทธิชุมชน

ผู้เขียนได้นำเสนอใน “ทางอีศาน” ฉบับก่อนว่า ฐานคิดเรื่องคุณค่าของแนวคิด “สิทธิชุมชน” มีความใกล้เคียงกับแนวคิด “วัฒนธรรมชุมชน” ที่มองชุมชนเป็นสถาบันสำคัญ มีกระบวนการภายในที่จะจัดการตนเองเพื่อความอยู่รอด แต่ในทางกระบวนการวิเคราะห์ชุมชนนั้น แนวคิดสิทธิชุมชนค่อนข้างให้ความสำคัญกับการศึกษาความขัดแย้งและการสร้างกติกาข้อตกลง การปรับดุลอำนาจภายในซึ่งเกิดขึ้นตลอดเวลาของชุมชน
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com