สนั่น ชูสกุล นักรบวัฒนธรรมผู้พลีชีพกลางสนามรบ (๓)
สนั่นหวนคิดถึงรากเหง้าของตนเสมอ แม้ได้ใช้ชีวิตอยู่ภาคอีสานมากกว่าที่บ้านเกิดของตน มาอยู่อีสานจนส่องซอดถึงระบบนิเวศบุ่ง ทาม มาอยู่จนตั้งสร้างครอบครัว มีลูกสองคน นายนาคร ชูสกุล และนางสาววรรณลีลา ชูสกุล
สนั่น ชูสกุล นักรบวัฒนธรรมผู้พลีชีพกลางสนามรบ (๒)
ดร.เสรี พงศ์พิศ ได้แสดงตัวอย่างรากลึกทางวัฒนธรรมที่บรรพชนสร้างไว้
“การรุกเข้าไปในชุมชนเป็นไปในหลายรูปแบบ ถ้าเปรียบกับธุรกิจ นายทุนใช้ทั้งไม้แข็งไม้นวม ใช้การครอบงําแบบซื้อตัว ซื้อที่ ซื้อความรู้ความสามารถของชาวบ้าน ผู้นำชุมชน ที่เป็นอุปสรรคต่อการ ‘ฮุบ’ ที่ดิน การผูกขาดพันธุกรรม ทำลายความหลากหลาย ทําลายพันธุ์พืชพื้นบ้าน โดยการซื้อที่ดินที่ปลูกพืชเหล่านี้ก็มี แล้วให้เจ้าของที่ดินมาทํางานด้วยค่าแรงที่ไม่อาจปฏิเสธได้
สนั่น ชูสกุล นักรบวัฒนธรรมผู้เสียสละกลางสนามรบ
“ความรู้เรื่องระบบนิเวศอยู่กับชาวบ้าน ในน่านน้ำมีปลากี่ชนิดเขารู้จักและนับให้คุณฟังได้หมด รู้นิสัยของปลา รู้ว่ามันวางไข่เดือนอะไร วางไข่ที่ไหน เดือนไหนมันอยู่ที่ไหน หากินน้ำลึกหรือน้ำตื้น รู้หมด แล้วถ้าจะจับมันจะต้องมีเครื่องมือชนิดไหนเขาก็รู้ จับอย่างไรไม่เป็นการล้างผลาญเขาก็รู้ก็ทำ เขาหวงแหนและมีกุศโลบายในการดูแลให้มีอยู่มีกินถึงลูกถึงหลาน เขามีพิธีแสดงความรักความกตัญญูต่อธรรมชาติ ทั้งตาแฮก ปู่ตา แม่คงคา แม่ธรณี แม่ย่าเพีย มเหศักดิ์หลักเมือง
จะ นะ ชะ นะ
ธัมมะต้องชนะ ดั่งจะนะต้องมีชัย
ธรรมชาตินั้นยิ่งใหญ่ จักรวาลจัดสรรมา
หมู่บ้านที่ไม่ปรากฏบนแผนที่ประเทศไทย
หมู่บ้านนี้ชาวบ้านตั้งชื่อกันเองว่า
หมู่บ้าน"คาเซ"
ตามชื่อหมู่บ้านในละครเรื่อง"เก็บแผ่นดิน"
ที่ชาวบ้านลุกขึ้นมาต่อสู้กอบกู้แผ่นดินเกิดของตน
ชื่อหมู่บ้านดั้งเดิมตั้งตามลักษณะภูมิศาสตร์ - "ตะกาดบัวผุด"
โลกของเรา
ร้อยถ้อยคำนำบรรสานขานรักษ์โลก
ลบสีโศกปาดสีสุขยุคสมัย
บรรยายความจากห้วงห้องหัวใจ
ธรรมชาตินี้ยิ่งใหญ่ธรรมดา