นิตยสารทางอีศาน ฉบับที่ 14

ส่องซอด ทางอีศาน ฉบับที่ 14

จอกหนึ่ง พอซิกริกจอกสอง พอแซกแรกจอกสาม พอแปลกความจอกสี่ หลงพี่หลงน้องจอกห้า เห็นป้าว่าแม่นเมียจอกหก ชกปากพ่อเฒ่าจอกเจ็ด แกล้มเป็ดแกล้มไก่จอกแปด ฟ้อนตากแดดว่าแม่นฝนตกรินจอกเก้า ข้าวอยู่เล้านึกอยากขายเกวียนละบาทก็ขายจอกสิบ หลิบพุ้นหลิบพี้จอกสิบเอ็ด ตึ่งลึ่งตึ่ง

ยี่สิบสี่ มิถุนา…

ถึงเดือนมิถุนายน ของทุกปี ผมจะนึกถึงเพลง...ยี่สิบสี่มิถุนา...ยน มหาศรีสวัสดิ์ ปฐมฤกษ์ ของรัฐธรรมนูญของไทยฯ...นึกได้ว่าที่ด้านซ้ายของลานพระบรมรูปทรงม้า หน้าประตูสนามเสือป่าจะมีหมุดฝังอยู่ มีข้อความจารึกว่า “ณ ที่นี้ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ เวลาย่ำรุ่ง คณะราษฎร ได้ก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญเพื่อความเจริญของชาติ”

ซ่างแต้มฮูป อีสาน ล้านนา สู่อารยธรรมสุวรรณภูมิ

ฉบับนี้ศิลปะนำชีวิตจะขอนำท่านผู้อ่านมารู้จักกับช่างวาดชาวอีสานย้ายถิ่นฐานไปอยู่ล้านนาไปตามหาความงามแห่งสุนทรียรสเลาะเลียบประเทศเพื่อนบ้าน เป็นซ่างแต้มฮูปตามภาษาอีสาน หรือภาษาทางนครหลวงเวียงจัน นครหลวงพระบาง หรืออีกหลายแขวง ภาษาก็คือ ๆ คล้าย ๆ อีสานบ้านเฮานี่แหละครับ

ความยั่งยืนและเป็นธรรม ของการจัดการน้ำขนาดเล็ก

นานเหลือเกินกว่าคนในสังคมแห่งนี้จะคิดขึ้นมาได้บ้างว่า ที่เราสร้างบ้านแปงเมืองกันมาจนเจริญรุ่งเรืองได้ขนาดนี้ การทำนาอย่างเช่นในภาคอีสานนี้ก็ด้วยการทำนาน้ำฝน ด้วยชลประทานขนาดเล็กของชุมชน ทำขึ้นมาด้วยสมองและมือของชาวนาตัวเล็ก ๆ ถึงปัจจุบันก็ยังคิดเป็นร้อยละ ๙๕ ของพื้นที่

การเดินทางสู่โลกของชาวนา ครัวเรือนชาวนา (๒)

ในงานวิจัยรางวัลโนเบลของนักเศษฐศาสตร์อย่าง เอลินเนอร์ ออสทอร์ม ที่มีบทที่พูดถึงการถือครองทรัพยากรของท้องถิ่นในแบบ “common property” อันเป็นแบบแผนเดียวกันของชาวนาในการตั้งถิ่นฐานและการถือครองกรรมสิทธิ ซึ่งปัญหาด้านการถือครองที่ดินนี้มักจะเป็นปัญหาขัดแย้งกับสังคมภายนอกที่มีระบบระเบียบกติกาที่แตกต่างไปจากโลกของพวกเขา ซึ่งเป็นที่มาของปฏิกิริยาทางสังคม-เศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในหลายกรณีเมื่อชาวนาต้องอยู่ร่วมกับโลกปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างต่อเนื่อง ความแตกต่างดังกล่าวได้สร้างความอึดอัดขัดแย้งและเกิดเป็นกรณีปัญหาขึ้นมากมายนำไปสู่การศึกษาวิจัยกันหลากมิติ

บทบาทนักการเมืองรุ่นแรกของอีสาน (๔)

ความขัดแย้งของสองขั้วอำนาจ อันดำรงอยู่ในปัจจุบัน คือระหว่างขั้วอำนาจเก่ากับขั้วอำนาจใหม่เคยเกิดขึ้นมาแล้วตั้งแต่เริ่มก้าวสู่ระบอบประชาธิปไตย ตั้งแต่มีสภายุคแรก (แต่งตั้ง ๗๐ คน) และตั้งแต่มีรัฐบาลชุดแรกจากระบอบใหม่ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ในฐานะนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศไทย เผชิญกับแรงบีบคั้นจากฝ่ายอนุรักษ์นิยมที่ตระหนกตกใจกับ เค้าโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ของ หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) อันมีลักษณะก้าวหน้าล้ำยุคและโน้มเอียงไปทางสังคมนิยมว่า เป็นแนวคอมมิวนิสต์จึงรวมหัวกันต่อต้าน

ม่วนชื่นเจ้าแม่สองนาง

หมอ ช่วยบักวันชนะแหน่ วันชนะคือใครฉันไม่ได้สนใจ เบื้องหน้าฉันคือแมวที่กำลังทำท่ากระหายอากาศอย่างเอาเป็นเอาตาย หน้าบวม แถมเยือกเมือกเป็นสีม่วงคล้ำเช่นนี้ไม่ผิดแน่ อาการเป็นพิษจากยาพาราเซตามอล ไม่ทันได้ซักถามอะไรให้มากความเพราะถือเป็นกรณีฉุกเฉินที่ทุกวินาทีไม่ต่างจากทรายแห่งชีวิตที่กำลังร่วงหล่นสู่กระเปาะแก้วเบื้องล่าง

สภาพอีสานเมื่อ ๘๐ ปีก่อน จากชีวิตและปาฐกถาของผู้แทนราษฎรรุ่นแรก

หากได้อ่านหนังสือเล่มนี้จนจบ จะเห็นด้วยกับความดีเด่นในภาพร่วม ตามที่ ผศ.ดร.สมเกียรติได้ กล่าวไว้ นับเป็นครั้งแรกที่ “ผู้แทนราษฎร” ของจังหวัดต่าง ๆ ได้สะท้อนคติและความสำนึกที่ตนมีต่อท้องถิ่นของตน ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของรัฐสมัยใหม่ ที่เป็นรัฐเดี่ยวออกมาอย่างกระตือรือร้นและมีความหวัง ในส่วนของผู้แทนราษฎรของภาคอีสานชุดแรก ๑๙ คนนี้ ส่วนใหญ่ได้เป็นผู้แทนราษฎรครั้งนี้เพียงครั้งเดียว ยกเว้นรายของ นายเลียง ไชยกาล นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ นายทองม้วน อัตถากร และขุนวรสิษฐดรุณเวทย์ ในจำนวนผู้แทนราษฎรชุดแรกและชุดต่อ ๆ มาจนถึงปีที่เกิด “รัฐประหาร พ.ศ. ๒๔๙๐” นี้ มีผู้แทนราษฎรอีสานหลาย ๆ คน ที่อุทิศชีวิตให้กับงานการเมืองอย่างน่าประทับใจ

นิตยสาร “ทางอีศาน” ฉบับ “รำลึก ๒๔ มิถุนา ๒๔๗๕”
เล่มที่ ๑๔ ปีที่ ๒ ประจำเดือนมิถุนายน ๒๕๕๖

เรื่องเด่น
– อีสานเมื่อ ๘๐ ปีจากปากคำของผู้แทนรุ่นแรก
– เวลาของคนอีสาน โดย สมัย วรรณอุดร
– ห้องศิลป์อีศาน โดย ธีรภาพ โลหิตกุล (รางวัลศรีบูรพา 2556)

เนื้อหาภายในเล่ม
สาส์นจาก “ทางอีศาน”, บทบรรณาธิการ นักการเมือง – งานการเมือง, จดหมาย อาจิณ จันทรัมพร, ธีรชัย บุญมาธรรม, “จ่าจ่อย”, สานิจ มาตขาว, เบิ่งโลก / เบิ่งไทย / เบิ่งอีสาน, เรื่องจากปก สภาพอีสานเมื่อ ๘๐ ปีก่อน จากชีวิตและปาฐกถาของผู้แทนราษฎรรุ่นแรก, อีสาน : แผ่นดินแห่งการต่อสู้ บทบาทนักการเมืองรุ่นแรกของอีสาน, รำลึก อ่ำ บุญไทย “กฤดาการบนที่ราบสูง”, คำผญา ปรัชญากวี เงืน-ทอง, บทความพิเศษ จุดสลบใกล้สรุป คดีปราสาทพระวิหารรอบสอง, อุษาคเนย์เห่กล่อม ว่าด้วยตลกบ้าน ๆ “นิทานขุนบรมฉบับอีสาน”, อัตลักษณ์แห่งชาติพันธุ์อีศาน วัฒนธรรมบ่อน้ำ น้ำส้าง น้ำส้างแส่ง, ข่วงบักจุก, เดินทวนหนทาง สัญชาติลาวกลายเป็นไทยในบังคับสยาม, คำถิ่นกลิ่นอายแขฺมร์ ตะตึงไถง – ไถงตรง – ปะนอยไถง, ถนนสายอนาคต การเดินทางสู่โลกของชาวนา (๒) ครัวเรือนชาวนา, บ้านเมืองเรื่องของเรา ความยั่งยืนและเป็นธรรมของการจัดการน้ำขนาดเล็ก, ในเครื่องแบบ บัวใหญ่ จังหวัดจัดการตนเอง, ข่าวคนอีศาน, กินสบาย ๆ รายทาง ผ่านกาฬสินธุ์ของกินอร่อย, รายงาน “ทางอีศาน” “ขับ-ลำ”ลาว มาจากไหน ?, ปีสันติประชาธรรมสู่ ๑ ศตวรรษ ป๋วย อึ๊งภากรณ์, บทกวี อีศาน ๒๕๕๖, ใจอีศาน นิทานตาแฮก, บทความพิเศษ กาลเวลาของชาวอีสานในอดีต, หอมดอกผักกะแญง ละครชีวิตในเมืองหลวง, สดับหู สะดุดตา สะกิดใจ, นิทานก้อม ฝันได้กินหมกหน่อไม้กับ ๕๘, ส่องเมือง ถอยไปตั้งหลัก, แก่นเมือง หลวงพ่อพระมหาถาวร, เสียงเมือง ผู้ใหญ่ลี เพลงอารมณ์ขันกับการเมืองในรูปพ่อขุนอุปถัมภ์, หลงฮอยอีสาน ม่วนชื่นเจ้าแม่สองนาง, เฮาอยู่ยะลา เสี่ยดำ (คนขายเกิบ), เรื่องเล่าชุดพ่อเฒ่ากับลูกเขย พ่อเฒ่าสีกับบักสอย, กาบแก้วบัวบาน (ตอน ๑๔), รายงานพิเศษ สถานการณ์การอ่าน(ใน)บ้านเรา กับ วรพันธ์ โลกิตสถาพร, เรื่อย ๆ มาเรียง ๆ ยี่สิบสี่ มิถุนา, ห้องศิลป์อีศาน มหัศจรรย์ ‘ภูพาน’ บันดาลใจ, ศิลปะนำชีวิต ซ่างแต้มฮูปอีสาน ล้านนา สู่อารยธรรมสุวรรณภูมิ

พร้อมเนื้อหาอันลึกซึ้งถึงรากเหง้า จากคอลัมน์ต่าง ๆ ในเล่ม และเรื่องสั้น – เรื่องยาว กวี สาระบันเทิงต่าง ๆ ครบครัน และเข้มข้นเช่นเคย

WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com