พระสุเมรุกลางใจเรา

การสร้างปราสาท หรือเทวสถานตามคติฮินดูคือการสร้างทิพยวิมานถวายแด่เทพเจ้ายามที่ท่านเสด็จลงมายังโลกมนุษย์แต่โดยปกติทวยเทพจะประทับอยู่ที่เขาพระสุเมรุซึ่งถือเป็นศูนย์กลางของโลกและจักรวาล ดังนั้นการสร้างปราสาทจึงเท่ากับเป็นการจําลองเขาพระสุเมรุ

หลักฮวงจุ้ยของชาวฮินดูอธิบายว่า เขาพระสุเมรุล้อมรอบด้วยภูเขาบริวาร ซึ่งแท้ที่จริงคือการอธิบายภาพเทือกเขาหิมาลัย ที่มีจุดสูงสุดอยู่ที่ยอดสู่การมาตา (หรือ “เอเวอเรสต์”) ศาสนาฮินดูกําเนิดในชมพูทวีป แนบชิดหิมาลัย จึงแต่งคัมภีร์โดยเรียกหิมาลัยว่า “เขาพระสุเมรุ” (อ่าน สุ-เมน) การสร้างปราสาทตามคติฮินดูจึงนิยมสร้างบนภูเขา เนินเขา หรือสร้างบนฐานเป็นชั้น ๆ สร้างไว้ที่ไหนก็มีความหมายโดยนัยว่า ตรงนั้นคือศูนย์กลางของโลกและจักรวาล คือที่ประทับของเทพเจ้า ตามบรมราชโองการของกษัตริย์ผู้สร้าง

ปราสาท หรือเทวสถาน อาจมี ๑ ยอด ๓ ยอด หรือ ๕ ยอดคําว่า “ยอด” ในทางวิชาการสถาปัตยกรรม กําหนดให้เรียกว่า “ปรางค์” ดังนั้นไม่ว่าจะมีกี่ยอด หรือกี่ปรางค์ให้ถือว่าปรางค์ ตรงกลางที่สูงที่สุดเป็นปรางค์ประธาน หรือเขาพระสุเมรุจําลองนั่นเอง

เมื่อศาสนาพุทธกำเนิดขึ้นก็รับเอาคติการสร้างเขาพระสุเมรุจำลองจากฮินดู มาอธิบายการสร้างเจดีย์หรือพระธาตุเช่นกัน เพียงแต่บนจุดสูงสุดของเขาพระสุเมรุในคติพุทธ มิได้เป็นที่ประทับของเทพเจ้า หากเป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้า หรือพระโพธิสัตว์ หรือบ้างก็ว่าเป็นที่ประดิษฐานสัจธรรมคําสอนของพระพุทธองค์

ลักษณะของปรางค์มีหลายรูปแบบ แต่เป็นที่ยอมรับกันว่า ปรางค์ประธานแบบฝักข้าวโพดของปราสาทหินพิมาย จังหวัดนครราชสีมา เป็นปรางค์ที่มีความสวยงาม สมบูรณ์สอดคล้องกับการเป็นเขาพระสุเมรุจําลอง จนมีความเชื่อว่าปรางค์แบบฝักข้าวโพดที่พิมายนี้อาจส่งอิทธิพลต่อการออกแบบสร้างปรางค์ประธานปราสาท

การสร้างปรางค์ หรือเจดีย์ หรือพระธาตุตามคติการจําลองเขาพระสุเมรุ ถือเป็นนครวัดในกัมพูชา วัฒนธรรมร่วมของชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นมหาปราสาทนครวัดในกัมพูชา มหาเจดีย์ชเวดากองในเมียนมา พุทธสถานบรมพุทโธ กับเทวสถาน พราหมณัน (ปรัมบานัน) บนเกาะชวาในอินโดนีเซีย ล้วนมีจุดเชื่อมโยงในฐานะที่เป็น “เขาพระสุเมรุจําลอง”  เหมือนกันนั่นเอง

***

คอลัมน์ ห้องศิลป์อีศาน นิตยสารทางอีศาน ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๔๖ | กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙

.
ราคาเล่มละ ๑๐๐ บาท
สมัครสมาชิก ครึ่งปี ๖๐๐ บาท
หนึ่งปี ๑,๑๐๐ บาท
ตลอดชีพ ๙,๕๐๐ บาท (ได้รับหนังสือย้อนหลัง)
.
สั่งซื้อ// ชำระเงิน // สอบถามเพิ่มเติม ได้ทาง
inbox หนังสืออีศาน m.me/166200246799901
line id : @chonniyom (มี@) คลิก https://lin.ee/amxqtvW
อีบุค ที่ www.mebmarket.com


โทร. 086-378-2516
บริษัท ทางอีศาน จำกัด
244/539 รามอินทราซอย 5 แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กทม. 10220

Related Posts

คําผญา (๒)
ยโสธร
ท้าวปาจิต – นางอรพิม : จากตํานานท้องถิ่น สู่ชาดกนอกนิบาต
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com