ศิลปินมรดกอีสาน เชิดชูเกียรติศิลปินต้นแบบ ปราชญ์ถิ่นอีสาน
หากพูดถึง ศิลปวัฒนธรรม นั้น ล้วนเกี่ยวข้องกับขนบธรรมเนียมและประเพณี เป็นสิ่งที่เราทุกคนเข้าใจตรงกันว่าจะมีวัฒนธรรมก็ต้องมีขนมธรรมเนียม และประเพณี ควบคู่กันไป รวมไปถึงวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของคนในชุมชนท้องถิ่น จึงไม่อาจปฏิเสธได้ว่าวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน คือศูนย์กลางทำให้เกิดวัฒนธรรมขึ้น และจะทำให้วัฒนธรรมคงอยู่ต่อไปได้อย่างไร จึงจะเป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ ด้านประเพณี ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา และองค์ความรู้ท้องถิ่นภาคอีสาน
ทางมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้เฟ้นหาศิลปินต้นแบบ และผู้สร้างสรรค์ผลงาน จึงได้จัดทำฐานข้อมูลด้านศิลปวัฒนธรรม โดยจะนำเสนอความรู้ ประวัติ ผลงาน ของศิลปินอีสาน หรือผู้ที่มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรมสัมพันธ์ เพื่อเผยแพร่ให้ได้เป็นที่รู้จักและเข้าใจเกี่ยวกับศิลปินมรดกอีสานมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งเป็นแนวทางในการทำงาน หรือแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงาน ทั้งนี้ยังเป็นการอนุรักษ์และสืบสานต่อไปได้อีกด้วย
ซึ่งมหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดกิจกรรม ยกย่องเชิดชูเกียรติ ศิลปินมรดกอีสาน และผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรมสัมพันธ์ เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และวันอนุรักษ์มรดกไทย จัดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๘ เรื่อยมาจนกระทั่ง ปี พ.ศ. ๒๕๖๒ ในปัจจุบัน
และในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ การพิจารณาศิลปินและนักขับเคลื่อนวัฒนธรรมเพื่อเชิดชูเกียรติศิลปินมรดกอีสานและผู้มีผลงานดีเด่นวัฒนธรรมสัมพันธ์ ประจำปี ๒๕๖๒ รวมทั้งหมด ๒๓ รายชื่อ ในวันอังคาร ที่ ๒ เมษายน ๒๕๖๒ ณ โรงละครคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
การเชิดชูเกียรติศิลปินมรดกอีสานและผู้มีผลงานดีเด่นวัฒนธรรมสัมพันธ์ ประจำปี ๒๕๖๒ มีจำนวนทั้งหมด ๒๓ รายชื่อ โดยแบ่งเป็นการเชิดชูเกียรติศิลปินมรดกอีสาน จำนวน ๙ รายชื่อ และผู้ที่มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรมสัมพันธ์ จำนวน ๑๓ รายชื่อ และ ๑ กลุ่ม ดังนี้
ศิลปินมรดกอีสาน จำนวน ๙ ท่าน
อมรศิลปินมรดกอีสาน จำนวน ๓ ท่าน
ได้แก่
๑. อินตา บุตรทา (หมอลำเรื่องต่อกลอน)
๒. หยาดฟ้า กาลวิบูลย์ หยาด นภาลัย (นักร้องเพลงลูกกรุง)
๓. สมชาย คงสุขดี ดาร์กี้ กันตรึมร็อค (กันตรึม)
สาขาทัศนศิลป์ จำนวน ๑ ท่าน ได้แก่
๑. จักรี หาญสุวรรณ (จิตรกรรม)
สาขาวรรณศิลป์ จำนวน ๒ ท่าน ได้แก่
๑. คำภา สีโสดา เซียงคำภา ผญาย่อย (ประพันธ์กลอนลำ)
๒. วงเดือน ทองเจียว (วรรณกรรมร่วมสมัย)
สาขาศิลปะการแสดง จำนวน ๓ ท่าน ได้แก่
๑. โกวิฐ วัฒนกุล (นักแสดงภาพยนตร์)
๒. ทองแปน พันบุปผา (หมอลำกลอน)
๓. ทองใบ จันทร์เหลือง จินตหรา พูนลาภ (หมอลำลูกทุ่ง)
ผู้มีผลงานดีเด่นวัฒนธรรมสัมพันธ์ จำนวน ๑๓ ท่าน ๑ กลุ่ม ดังนี้
สาขาหัตถกรรม จำนวน ๒ ท่าน ได้แก่
๑. ธนิษฐา วงศ์ปัดถา (การทอผ้า)
๒. ทวี สุขโข (การทอผ้า)
สาขาการแพทย์แผนไทย จำนวน ๑ ท่าน ได้แก่
๑. โอฬาร ชูเกียรติสกุล (นวดไทย)
สาขาวิสาหกิจชุมชน จำนวน ๑ ท่าน ได้แก่
๑.ทองเลิศ สอนจันทร์ (ผ้าทอ)
สาขาศิลปกรรม จำนวน ๖ ท่าน ได้แก่
๑. สมจิตต์ เพ็ชรสังหาร สมจิตต์ แก่นนครบันเทิงศิลป์ (ประพันธ์กลอนลำ)
๒. ทักษิณ มาพร หมอลำสมพงษ์ มาพร (หมอลำกลอน)
๓. เพชราภรณ์ กาละพันธ์ พวงเพชร กาละพันธ์ (หมอลำกลอน)
๔. เคน ราวะรินทร์ เด่นชัย แดนอีสาน (หมอแคน)
๕. สังวาลย์ จำปาทอง (สรภัญญะ)
๖. บุญมี ล้อมวงศ์ (ช่างหล่อทองเหลือง)
สาขาภาษาและวรรณกรรม จำนวน ๑ ท่าน ได้แก่
๑.พระมหาใจ เขมจิตฺโต สวนไผ่ (ประพันธ์กลอนผญา)
สาขาอาหารและโภชนาการ จำนวน ๑ กลุ่ม ได้แก่
๑. วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านห้วยไม้ซอด ข้าวเม่าเงินแสน
สาขาสื่อสารวัฒนธรรม จำนวน ๒ ท่าน ได้แก่
๑. สมชาย ฐานเจริญ
๒. พระอาจารย์อุดล อคคธมโม
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://cac.kku.ac.th/?p=6410
ที่มา : https://sites.google.com/site/isanartdb/