สำนึกร่วมทางประวัติศาสตร์

สำนึกร่วมทางประวัติศาสตร์

นบคำนับ : อาจารย์ทวี รัชนีกร

เหตุการณ์เมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๖ เป็น “จิตสำนึกร่วมทางสังคม” และพัฒนาขยายตัวเป็น “สำนึกทางประวัติศาสตร์” เชื่อมต่อมาจากเหตุการณ์วันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ และต่อเนื่องเป็นเหตุการณ์วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙

จากวันปฏิวัติประชาธิปไตย ๒๔๗๕ ถึงวันประชาธิปไตยเบ่งบาน ๒๕๑๖ ฝ่ายพลังใหม่ต้องล้มลุกคลุกคลาน เกิดความแตกแยกโกลาหล ขบวนประชาธิปไตยต้องต่อสู้ทั้งภายนอกและภายใน ในขณะที่ฝ่ายอนุรักษ์และอำนาจนิยม ซึ่งเป็นชนชั้นนำและอยู่ในฐานะได้เปรียบ พวกเขารักษาผลประโยชน์ของตนและสืบทอดอำนาจจากรุ่นสู่รุ่นมาได้ยาวนาน

เหตุการณ์วันที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๖ ผ่านมาถึงเดือนนี้ปีนี้นับได้ ๕๐ ปีเต็ม พัฒนาการทางการเมืองของสังคมไทยในปัจจุบัน สะท้อนออกชัดเจนในการเลือกตั้งและการจัดตั้งรัฐบาลครั้งล่าสุด

พรรคการเมืองของคนรุ่นใหม่ที่ประกาศตนเป็นฝ่ายประชาธิปไตยได้รับคะแนนเสียงมาเป็นอันดับหนึ่ง พรรคการเมืองใหญ่ที่ประกาศตนขณะหาเสียงว่าเป็นฝ่ายประชาธิปไตยได้คะแนนมาอันดับสอง แต่สามารถพลิกเกมการเมืองมาเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลได้สำเร็จ โดยยอมกลืนน้ำลายตนเองจับมือกับพรรคการเมืองสายคณะรัฐประหาร อภิมหานายทุน และพวกบ้านใหญ่

ใครสามารถหยั่งรู้ได้ว่า ความคิดจิตวิญญาณประชาธิปไตยของบุคคลในซีกรัฐบาล มีเข้มข้นหรือเจือจางขนาดไหน ในสัดส่วนที่ผสมปนเปอยู่กับสำนึกของเจ้าขุนมูลนาย และบริษัทบริวารของนายทุนเจ้าของพรรค

ใน “วาระ ๕๐ ปี ๑๔ ตุลา” หากกล่าวเฉพาะถึงสำนึกประชาธิปไตยในแผ่นดินถิ่นอีสาน ซึ่งถือว่ามีเนื้อนาบุญ มีปุ๋ยชั้นเลิศ มีหน่ออ่อนที่ผุดงามขึ้นทั้งปริมาณและคุณภาพ แต่ถ้าเปรียบเทียบกับหลักคิด ค่านิยม วิถีจารีตต่าง ๆ ที่ปลูกฝังเหนี่ยวรั้งกันมายาวนาน จะเห็นได้ว่ากระแสนี้ยังคงเป็นหลักที่สังคมยึดถือกัน

Related Posts

ไม่ทำตามกฎ
นางแตงอ่อน
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com