เข้าจํ้า ผอกผี

“เข้า” ในที่นี้หมายถึง ข้าว

“เข้าจํ้า” มีสองความหมาย คือ ๑. “ข้าวผอกผี” หรือ “เข้าควดผีเข้า” ๒. เป็นชื่อการละเล่นชนิดหนึ่งของเด็ก ๆ

“สารานุกรมภาษาอีสาน-ไทย-อังกฤษ” ของ ดร.ปรีชา พิณทอง อธิบายว่า

เข้าจ้ำ ๑ น. การละเล่นชนิดหนึ่ง เป็นการเล่นของเด็ก ๆ เด็กจำนวนตั้งแต่สิบคนขึ้นไป ปั้นข้าวเหนียวหนึ่งปั่นยืนเป็นแถวส่งข้าวเหนียวต่อกันไป จะส่งให้ใครก็ได้การส่งก็ส่งโดยเร็วจนไม่สามารถจดจําได้ว่าข้าวเหนียวไปอยู่กับใคร เมื่อเห็นเป็นเวลาสมควรแล้วก็ถามว่าข้าวเหนียวอยู่กับใครถ้าใครตอบถูกก็ถือว่าชนะแล้วตั้งต้นเล่นใหม่ การเล่นชนิดนี้เด็ก ๆ ชอบมาก เพราะสนุกดีการเล่นชนิดนี้เรียกการเล่น เข้าจํ้า

เข้าจ้ำ ๒ น. ข้าวผอกผี มีข้าวเหนียวหนึ่งปั้น กล้วยหนึ่งใบ ถ้ากล้วยไม่มีเอานํ้าอ้อยหนึ่งก้อนแทน เช่นเมื่อภูตผีปีศาจเข้าสิงใคร เถ้าจํ้าหรือหมอผีจะมาทําพิธีเชิญผีออก เถ้าจํ้าจะเอามือขวาจับเครื่องผอก แล้วเชิญผีออก คําเชิญว่า ‘ผีไฮ่ผีนาผีป่าผีดงผีโพงผีพรายผีเสนียดจังไฮ มึงมาฝังอยู่ในเนื้อ มึงมาเฮื้ออยู่ในคีง เชิญมึงมากินเข้ากับกล้วย กินแล้วให้มึงหยับออก บอกหนีให้มึงหนีไปกํ้าตาวันตกนกเขาเขียว ผีเหลียวมาให้ตามึงแตก ไม้ค้อนเท้ากูซิเดกหัวผี’ พอพูดจบก็เอาเครื่องผอกจํ้าลงไปที่ตัวคนไข้ แล้วโยนของผอกไปทางทิศตะวันตก”

ส่วน “วัดจะนานุกมพาสาลาว” ของสะถาบันวิดทะยาสาดสังคมแห่งชาด อธิบายว่า

เข้าจํ้า ๒ น. เข้าผอกผี, เข้าควดผีเข้า ซึ่งหมอผีปั้นเอาไปจํ้าคนผู้ที่คิดว่าถูกผีเข้า เพื่อดูว่าเป็นผีชนิดใดเข้า (ตามความเชื่อถือของคนลาวคราวโบราณ)”

เข้าผอกผี ก็หมายถึง ข้าวเลี้ยงผี “สารานุกรมภาษาอีสาน-ไทย-อังกฤษ” ของ ดร.ปรีชา พิณทอง อธิบายว่า

ผอก ก. เลี้ยงผีเรียกผอกเครื่องผอกผีจะเอาอะไรแล้วแต่ผีชอบ จะเป็นของคาวของหวานก็ได้ผีที่ให้โทษให้คุณ ถ้าเราไม่ผอกมันก็จะให้โทษ ถ้าผอกเราก็ได้คุณ เด็กที่เกิดใหม่ พอล้างเสร็จ คนโบราณก็ผอกผีพรายผายผีป่าพร้อมทั้งกล่าวคําผอกว่า กูหุกกูหุก กุกกู่กุกกู่ แม่นลูกสูเอาสามื้อนี้ กลายมื้อนี้มื้อหน้าลูกกู

“วัดจะนานุกมพาสาลาว” ของสะถาบันวิดทะยาสาดสังคมแห่งชาด อธิบายว่า

ผอก ก. ทําการเลี้ยงผีทําการบะ (บ๋า) ไหว้วอนผี เฉพาะให้เด็กน้อยเกิดใหม่ ล้างแล้วคนโบราณก็ผอกผีพาย ผีป่า พร้อมทั้งกล่าวคําผอกว่า กูหุกกูหุก กุกกู่กุกกู่ ผีพรายเถ้า ผีเป้าตาแมว คันว่าแม่นลูกสูให้เอาไปมื้อนี้ยามนี้ กลายมื้อหน้าแม่นลูกกู

ประเพณี “ผอกผีเป้า ผีพายเด็กแรกเกิด” เป็นประเพณีเกี่ยวกับความเชื่อของคนพื้นถิ่นอีสาน โดยเชื่อกันว่าเมื่อมีการให้กําเนิดเด็กจะต้องประกอบพิธี “ผอกผีเป้า ผีพายเด็กแรกเกิด” หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สิงห์เด็ก หรืออาจเรียกว่า การต้อนรับสมาชิกใหม่ของครอบครัวซึ่งเป็นความเชื่อที่ชุมชนบ้านหัวบึง ตําบลทรายมูล อําเภอนํ้าพอง จังหวัดขอนแก่น ได้ให้ความสำคัญและเชื่อว่าเมื่อได้ประกอบพิธีดังกล่าวแล้ว จะทำให้เด็กคนนั้นเลี้ยงดูง่าย ไม่งอแง เชื่อฟังพ่อแม่ สุขภาพร่างกายแข็งแรง ผู้เป็นพ่อแม่ก็สบายใจเมื่อลูกได้ผ่านพิธี “ผอกผีเป้า ผีพายเด็กแรกเกิด” ประเพณีนี้เดิมเมื่อหมอตำแยทำคลอดเด็กเสร็จก็จะทําพิธี “ผอกผีเป้า ผีพายเด็กแรกเกิด” (ข้อมูลโดย : สํานักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม)

แต่ “ผอก” ในคําไทยภาคกลาง หมายถึงกลางวัน มีคําว่า “กินผอก” – กินมื้อกลางวัน

๐ ครั้นถึงเวลากินผอก แก้ห่อข้าวออก ขมีขมัน ๐ (สังข์ทอง ร.๒)

“เข้าผอก” – ข้าวกลางวัน

๐ เสบียงบ้างมาไม่ทันตะวันสาย เป็นเข้าผอกเลี้ยงพลที่คนพาย ๐ (คาวีกลอนอ่าน)

(อ้างอิง : “รัตนมาลา” ศ.ดร.นิยะดาเหล่าสุนทร)

อย่างไรก็ตาม “ข้าวผอก” ในไทยภาคกลางน่าจะมีความหมายกว้างกว่า “ข้าวมื้อกลางวัน” คือหมายถึง การกินข้าว, ข้าวที่กิน,  ข้าวเลี้ยงผี

“สมัยโบราณถึงเดือนสี่มีพิธีตรุษ พระสงฆ์สวดอาฏานาฏิยสูตร คนเข้าใจว่าสวดไล่ผี ซํ้ายังมีการยิงปืนอาฏานา ว่าทำให้ผีตกใจวิ่งเตลิดเปิดเปิง คนเฒ่าคนแก่ต้องเอาขมิ้นกับปูนวางไว้ข้างที่นอนสำหรับผีเรือนและผีญาติพี่น้อง ที่ตกใจวิ่งหนีมาหกล้มหกลุกหัวร้างข้างแตก ใช้ทาบาดแผลแล้วตัดต้นไม้มาปักข้างบันไดต่างว่าต้นไม้ผูกของกินกับกระบอกนํ้าเล็ก ๆ ให้ทานพวกผีอนาถา ที่วิ่งหนีมาจนเหนื่อย ได้หยิบฉวยกินพลาง ของกินที่ผูกไว้และกระบอกนํ้า เรียกว่า ข้าวผอก กระบอกนํ้า” (จาก “บ่ดุจบ้านเมืองเรา” โดย กิเลน ประลองเชิง ไทยรัฐ ๒ ก.ค. ๒๕๕๓)

ในภาษาไทอาหมมคำใกล้เคียงกับ “ผอก” คือ “พอก” แปลว่า เลี้ยงอาหาร กินเลี้ยง

ส่วน “ผอก” ในโคลงลิลิต พระลอว่า

๐ พระเอยอาบนํ้าขุ่น เอาเย็น

ปลาผอกหมกเหม็นยาม อยากเคี้ยว

รุกรุยราคจําเป็น บ้างเมื่อ แคลนนา

อดอยู่เยียวดิ้วเดี้ยว อยู่ได้ ฉันใด ๐

“ปลาผอก” คำนี้น่าจะเป็นคำเขมร อ่านว่า “ผะ-อก” แปลว่า ปลาร้าปลาสดถ้า เป็นปลาร้า ปลาเน่า เรียก “ผะหก”

******

คอลัมน์  คำเก่าอย่าฟ้าวลืม  นิตยสารทางอีศาน ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๖๑| พฤษภาคม ๒๕๖๐

.
ราคาเล่มละ ๑๐๐ บาท
สมัครสมาชิก ครึ่งปี ๖๐๐ บาท
หนึ่งปี ๑,๑๐๐ บาท
ตลอดชีพ ๙,๕๐๐ บาท (ได้รับหนังสือย้อนหลัง)
.
สั่งซื้อ// ชำระเงิน // สอบถามเพิ่มเติม ได้ทาง
inbox หนังสืออีศาน m.me/166200246799901
line id : @chonniyom (มี@) คลิก https://lin.ee/amxqtvW
อีบุค ที่ www.mebmarket.com
โทร. 086-378-2516
บริษัท ทางอีศาน จำกัด
244/539 รามอินทราซอย 5 แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กทม. 10220

Related Posts

ภูมินามแม่นํ้าโขง : หลันชางเจียง กิวลุ่งเกียง เก้าลวง กาหลง
จันทน์เทศ ไม้ที่มีค่าควรเมือง
อมตะอีศาน
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com