เมืองฟ้า : สวรรค์ของคนอีสาน

“…สวรรค์บ้านนาอยู่ไหน ๆ ไม่รู้อะไร ใครมองไม่เห็น บ้านนาสวรรค์ทั้งเป็น ๆ โปรด มองให้เห็นนะจะเป็นความสุข ไม่เหมือนความ ทุกข์ของคนในบาร์ ๆ …”

เสียงลําเต้ยสวรรค์บ้านนาของพรศักดิ์ ส่องแสง แว่วมาในโสตประสาท ทําให้ผู้เขียนอยากจะชวนท่านมาเปิดผ้าม่านกั้ง ทบทวนความรู้เรื่องสวรรค์ของคนอีสานในระดับจักรวาลวิทยา จนเกิดเป็นชุดความรู้ที่เป็นกลไกสําคัญในระบบควบคุมสังคม และกลายเป็นพลังขับเคลื่อนชุมชนให้ก้าวไปสู่อุดมคติร่วมกัน

ในสังคมอีสานมีรากฐานความเชื่อที่ปรับปนผสมผสานกันมาจากคติ “ผี พราหมณ์ และพุทธ” ซึ่งเป็นการผสมผสานทางวัฒนธรรมที่ถูกนําใช้สร้างความเข้มแข็งของชุมชนจนเกิดเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ

ผู้เขียนได้ศึกษาความเชื่อจาก “ลําสลอง” วรรณกรรมทางพุทธศาสนาที่กล่าวถึงอานิสงส์ของการทําบุญด้วยวัตถุทานชนิดต่าง ๆ ที่ถูกบันทึกไว้ในคัมภีร์ใบลาน จากลําสลองจํานวน ๓๒ เรื่องของวัดป่าสักดาราม บ้านท่าม่วง อําเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด วรรณกรรมดังกล่าวทําให้เห็นภาพสะท้อนของความเชื่อเรื่องสวรรค์ของคนอีสานที่มีฐานคิดหลักมาจากคติ “พราหมณ์และพุทธ” ที่คละเคล้าด้วยกลิ่นอายวัฒนธรรม “ผีพื้นบ้าน” สวรรค์ในวรรณกรรมลําสลอง เรียกว่า “เมืองฟ้า”

เมืองฟ้า แบบพราหมณ์-พุทธ

“เมืองฟ้า” เป็นคําที่พบในวรรณกรรมอีสานที่เกี่ยวกับพุทธศาสนาของท้องถิ่นอีสานหลายเรื่อง คําว่า “เมืองฟ้า” หมายถึง สวรรค์ หรือเทวโลก รวมไปถึงพรหมโลกตามคติทางพุทธ ศาสนา ดังนั้น การจะทําความเข้าใจเกี่ยวกับเมืองฟ้า จึงจําเป็นที่จะต้องเข้าใจโครงสร้างของ ภพภูมิความเชื่อในคติพุทธศาสนาที่เรียกว่า “ไตรภูมิ” เป็นพื้นฐาน

ไตรภูมิ คือความเชื่อเรื่องโลกศาสตร์ของคนโบราณแบ่งออกเป็น ๓ ส่วน ได้แก่ กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ ซึ่งในเตภูมิกถาหรือไตรภูมิพระร่วงได้กล่าวถึงภูมิที่ ๔ คือโลกุตรภูมิด้วย แต่ผู้คนมักจะให้ความสําคัญกับ ๓ ภูมิแรกที่เป็นโลกียภูมิ แยกโลกุตรภูมิออกไปต่างหาก

โลกศาสตร์ในคติทางพุทธศาสนา กล่าวถึง การที่สรรพสัตว์ผู้ที่ยังไม่บรรลุถึงนิพพาน ต้องเวียนตายเวียนเกิดอยู่ในภูมิทั้งสามที่เรียกว่า “วัฏสงสาร” ได้แก่

๑. เหมฐิมวัฏสงสาร เป็นการเวียนเกิดเวียนตายอยู่ในภูมิชั้นที่ตํ่าทราม ผู้เกิดในภูมินี้จะมีความทุกข์มาก ภูมิในเหมฐิมวัฏสงสารนี้เรียกว่า อบายภูมิ หรือ ทุคติภูมิ แบ่งออกเป็น

นิรยภูมิ หมายถึง โลกที่ไม่มีความสุขสบาย นิรยภูมิหรือโลกนรก เป็นโลกที่เต็มไปด้วยความ ทุกข์ และปราศจากความสุขโดยสิ้นเชิง สัตว์ผู้ไปเกิดอยู่ในนิรยภูมิต้องรับกรรมทรมานจากผลแห่งอกุศลกรรมหรือบาปกรรมของตนที่ได้กระทํามาในอดีตชาติ

เปตติวิสยภูมิ หมายถึง โลกที่อยู่ของสัตว์ผู้ห่างไกลจากความสุข เปตติวิสยภูมิหรือโลก เปรตนี้ ไม่มีสถานที่อยู่โดยเฉพาะสัตว์ที่ไปเกิดในโลกเปรตแม้จะมีความทุกข์น้อยกว่าสัตว์นรก แต่ยังเป็นผู้ห่างไกลจากความสุขเป็นอันมาก มีความหิวโหยต้องอาศัยผลทานจากการทําบุญของญาติอุทิศไปให้เป็นปัจจัยดํารงชีวิต

“เมืองฟ้า” เป็นคําที่พบในวรรณกรรมอีสานที่เกี่ยวกับพุทธศาสนาของท้องถิ่นอีสานหลายเรื่อง

คําว่า “เมืองฟ้า” หมายถึง สวรรค์หรือเทวโลก รวมไปถึงพรหมโลก ตามคติทางพุทธศาสนา…

อสุรกายภูมิ หมายถึง โลกที่อยู่ของสัตว์ซึ่งปราศจากความร่าเริงสนุกสนาน ต้องอยู่อย่าง หลบ ๆ ซ่อน ๆ มีชีวิตความเป็นอยู่และการเสวยทุกขเวทนาคล้ายคลึงกับเปรต

ติรัจฉานภูมิ หมายถึง โลกที่อยู่ของสัตว์ผู้ไปโดยขวางผู้เกิดในติรัจฉานภูมินี้คือสัตว์โลกทั้งหลายที่ไม่ใช่มนุษย์ เราจึงเห็นได้ง่ายกว่าผู้เกิดใน นิรยภูมิ เปตติวิสยภูมิ และอสุรกายภูมิ สัตว์ที่ไปเกิดในภูมินี้ไม่ต้องรับทุกขเวทนาตลอดเวลา เหมือนสัตว์นรกเปรต และอสุรกาย เพราะทําบาปอันเบา มีผลบุญอยู่บ้าง สัตว์ที่ไปเกิดในภูมินี้เวลาจะไปไหนมาไหนต้องอยู่ตามขวางอยู่ตามยาว ต้องควํ่าอกไป มีทั้งที่เป็นสัตว์บก สัตว์นํ้า และสัตว์ปีก เป็นต้น

๒. มัชฌิมวัฏสงสาร เป็นการเวียนเกิดเวียนตายอยู่ในภูมิชั้นกลาง ถือว่าเป็นโลกชั้นดี มี โลกียสุขพอประมาณ คือมีสุขบ้างทุกข์บ้าง หรือมีสุขโดยส่วนเดียวแต่เป็นสุขชั้นโลกีย์จึงเรียกว่า สุคติภูมิ มี ๗ ภูมิ ประกอบด้วย มนุสภูมิ ๑ ชั้น และ เทวภูมิ ๖ ชั้น แบ่งออกเป็น

มนุสสภูมิ หมายถึง โลกของมนุษย์ที่ได้เกิดมาจากครรภ์ของมารดา

จาตุมหาราชิกาภูมิ เป็นด้านที่จะขึ้นตาวติงสภูมิ ตั้งอยู่ที่เขายุคนธร เชิงเขาพระสุเมรุ

ตาวติงสภูมิ เป็นสวรรค์ชั้นสําคัญในเทวโลก เนื่องจากเป็นที่อยู่ของพระอินทร์

ยามาภูมิ เป็นสวรรค์ชั้นที่สว่างไสวเพราะรัศมีแก้วและรัศมีจากกายเทวดา

ตุสิตาภูมิ เป็นที่อยู่ของพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย

นิมมานรดีภูมิ มีสภาพเหมือนสวรรค์ชั้นตุสิตาภูมิ แต่มีความงดงามมากกว่า

ปรนิมมิตวสวัตตีภูมิ เป็นสวรรค์ที่เทวดา มีความสุขยิ่งกว่าสุคติภูมิอื่น ๆ เนื่องจากความ ประสงค์ต่าง ๆ ของเทวดาในภูมิชั้นนี้จะมีเทวดาอื่นเนรมิตมาให้

๓. อุปริมวัฏสงสาร คือ การเวียนเกิดเวียน ตายอยู่ในภูมิชั้นสูงที่มีสุขมาก มีอยู่ ๒๐ ภูมิ ประกอบด้วย

รูปาวจรภูมิ หรือรูปพรหม มีจํานวน ๑๖ ชั้นภูมิ ในรูปภูมิทั้งหมดนี้รวมเป็นหนึ่งกัณฑ์ เรียกว่า “สัตตมกัณฑ์” หรือเรียกว่า “โสฬส พรหม” การไปเกิดในพรหมโลกได้เป็นเพราะ อํานาจรูปาวจรกุศลคือการเจริญฌานสมาบัติ ในพรหมโลกจะมีแต่บุรุษเท่านั้น พรหมทั้งหลายจะมีรูปร่างงดงาม มีรัศมีรุ่งเรืองยิ่งกว่าเทวดาในฉกามาพจรสวรรค์และมีรัศมีรุ่งเรืองยิ่งขึ้นไป ทุก ๆ ชั้นพรหมแต่ละองค์จะประทับนิ่งอยู่ในปราสาททองหรือปราสาทแก้ว ไม่มีการหายใจเข้าออก ไม่มีการกินอาหาร อุจจาระ ปัสสาวะ

อรูปาวจรภูมิ หรืออรูปพรหม มีจํานวน ๔ ชั้นภูมิ ผู้ไปเกิดในอรูปาวจรภูมิจะเป็นพรหมที่ไม่มีรูปร่าง มีแต่จิต เจตสิก เพราะท่านเหล่านั้น เห็นว่าถ้าหากมีร่างกายอยู่จะมีแต่โทษ

ภูมิทั้ง ๓๑ ภูมิ เป็นชุดความรู้ที่เกิดจากความเชื่อเกี่ยวกับเมืองฟ้าที่ได้รับอิทธิพลมาจากคติของพุทธเถรวาทที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก เป็นความรู้ที่อธิบายว่าเมืองฟ้าเป็นดินแดนที่ตั้งอยู่สูงกว่ามนุสสภูมิขึ้นไปตั้งแต่เทวโลกถึงพรหมโลก เมืองฟ้าจึงเป็นเรื่องราวความเชื่อของคนอีสาน เกี่ยวกับโลกหลังความตายของผู้ทําความดี


แถน หรือพระอินทร์ในฮูปแต้ม

เมืองแถน สวรรค์ในคติผีพื้นบ้าน

ก่อนที่พราหมณ์และพุทธจะเผยแผ่เข้าสู่อีสานในช่วงพุทธศตวรรตที่ ๗ – ๘ ผู้คนในลุ่มแม่นํ้าโขงได้ยอมรับนับถือผีแถนมาก่อน ดังที่ปรากฏในเรื่องขุนบรม ความว่า

“…ดูรา สปุริสทั้งหลาย ดังเราจักรู้มา มีในกาลเมื่อก่อนเถ้าเก่าเล่ามา เป็นคําปรําปราสืบๆ มาว่าดังนี้ กาลเมื่อก่อนนั้น ก็เป็นดินเป็นหญ้า เป็นฟ้าเป็นแถน ผีแลคนเที่ยวไปมาหากันบ่ขาด เมื่อนั้น ยังมีขุนใหญ่ ๓ คน ผู้หนึ่งชื่อว่าปู่ลางเชิง ผู้หนึ่งชื่อขุนคาน อยู่สร้างบ้านเมืองลุ่มกินปลา เฮ็ดนาเมืองลุ่มกินเข้า เมื่อนั้น แถนจึงใช้ให้มา กล่าวแก่คนทั้งหลายว่า ในเมืองลุ่มนี้กินเข้าให้ บอกให้หมาย กินแลงกินงายก็ให้บอกแก่แถน…”

ต่อมาเมื่อพุทธศาสนาได้เข้ามามีอิทธิพลต่อระบบความเชื่อของชาวอีสาน โลกศาสตร์ แบบผีโบราณที่มีเมืองแถนเป็นดินแดนหลังความตาย มีพญาแถนหลวงเป็นเจ้าปกครอง ได้ปรับ เปลี่ยนไปโดยการนําแถนไปซ่อนทับกับเทพทางพุทธศาสนา คือ “พระอินทร์” เมืองแถนจึงกลายเป็นสวรรค์ชั้นดาวดึง ดังที่ในวรรณกรรมเรื่องปฐมกัปป์ที่ว่า

“…บัดนี้ จักกล่าวเจ้าแถนหลวงฟ้าคื่น เป็นพ่อเจ้าจอมสร้อยที่เซ็ง ก็หากแม่นสักโกไท้เทโว ตนยิ่ง เป็นมิ่งเจ้าจอมสร้อยยอดเสนห์ อันว่า แถน แต่งนั้นหากแม่นวิสสุกรรมเจ้าตนประเสริฐในสวรรค์ ทําฤทธีเป็นซู่อันสอนไว้ อันว่าแถนกลม เฒ่าทั้งบาแถนเถือก กับท้งหูหิ่งเฒ่าแถนฟ้าฟาก สวรรค์ หากแม่นจตุท้าวทั้งสี่ราชา หลิงโลกาซู่ ประการแวนเผี้ยน…”

เมื่อเทวดาพราหมณ์ – พุทธ เข้ามาซ่อนทับคติเดิมของผี คําว่า “เมืองผี” จึงกลายเป็นโลก หลังความตายในทัศนะเชิงลบที่เปรียบได้กับนรก ในคติพราหมณ์-พุทธ แม้คําว่า “ผี” จะถูกจัดกลุ่มให้แบ่งเป็นผีดีและผีร้ายที่ให้ทั้งคุณและโทษ แต่สําหรับคําว่า “เมืองผี” ในคติคนอีสานได้เปลี่ยนมาเป็นที่อยู่ของเปรตและผีในคติพราหมณ์-พุทธ

พระอินทร์ เจ้าแห่งเมืองฟ้า

ในวรรณกรรมอีสานหลายเรื่องได้สะท้อนให้เห็นความเชื่อเกี่ยวกับตําแหน่งของพระอินทร์ ว่าเป็นผู้มีทิพยสมบัติที่ประเสริฐ เป็นประมุขของเทวดาทั้งหลายในเทวภูมิ และมีหน้าที่ในการ ดูแลช่วยเหลือพุทธศาสนิกชนที่ทําดี ดังที่กล่าวไว้ในลําสลองว่า

“…ผู้ใดแลมาพลิกมาฝังผ้ากฐินดังนั้นก็ดี เต ชนา อันว่า คนทั้งหลายฝูงนั้น คันจุติตายจาก กําเนิดเมืองคน ก็เทียรย่อมได้เอากันไปเกิดเป็น พญาอินทร์สุรินทรเทวราช ตนเป็นอาชญ์แก่ เทวดาทั้งชั้นฟ้า…”

เมืองฟ้าอันวิเศษนี้มีสภาวะที่ประณีตงดงาม ในสลองฮาวเทียนกล่าวว่า “…นรหญิง ชายทั้งหลายทายกฝูงนั้น จุตฺโต คันว่าคาดจากชาติอันเป็นคน อภิรมฺมนฺติ ก็ได้เอาตนเมือเกิด ในชั้นฟ้าเลิศตาวติงสา อน(-นุ)ภวิตฺวา ได้เสวยสมบัติเป็นอันมาก มีนางฟ้าหากแวดล้อมอ้อม เป็นบริวารแลเสพตุริยนนตรีทิพย์ทุกสิ่ง…”

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการสร้างวัตถุทานที่กล่าวถึงในลําสลองมีหลากหลาย และมีความ แตกต่างกัน อานิสงส์ที่ทําให้ได้เสวยสุขในเมืองฟ้าจึงไม่ได้จําเพาะเจาะจงลงไปที่การได้เกิดเป็นพระอินทร์เท่านั้น แต่อาจจะส่งผลให้ไปเกิดเป็นเทวดาอื่น ๆ แตกต่างกันไปตามวัตถุทาน

พระพรหม เทวดาใหม่จากคติพราหมณ์พุทธ

จากคติพราหมณ์-พุทธ ผู้ที่จะเกิดในพรหมโลกคือผู้ที่เจริญสมาธิจนสําเร็จฌานสมาบัติ โดย การสําเร็จฌานในระดับที่แตกต่างกัน จะมีอานิสงส์ให้ไปเกิดในพรหมโลกในระดับภูมิที่ต่าง กันไป แต่ในคติพุทธพื้นบ้านเช่นในเรื่องสลองทุงเผิ่งของคนอีสานนั้น ได้อธิบายเกี่ยวกับอานิสงส์ของการทําทานที่ทําให้ได้ไปเกิดในพรหมโลก ในลักษณะที่ต่างออกไปจากคติพุทธเถรวาท กล่าวคือ ขนาดของทุงเผิ่งที่สร้างถวาย จะส่งผลอานิสงส์ให้ได้ไปเกิดในพรหมโลกได้ด้วย

สุขในเมืองฟ้าในส่วนของพรหมโลกนี้ สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อของชุมชนอีสานที่ว่าไม่ได้มีเพียงการเจริญฌานตามคติความเชื่อของพุทธศาสนาเท่านั้นที่จะทําให้ไปเกิดในพรหมโลก แต่การสร้างวัตถุทานบางอย่างตามคติพื้นบ้าน เช่น ทุงเผิ่ง การขุดบ่อนํ้า การสร้างเพดาน รวมถึงการฟังธรรม สิ่งเหล่านี้สามารถทําให้ไปเกิดในพรหมโลกได้เช่นกัน สะท้อนให้เห็นถึงการยอมรับชุดความรู้เกี่ยวกับพรหมโลกของพุทธศาสนาเพิ่มเข้ามาในระบบจักวาลวิทยาแบบผีพื้นบ้าน เป็นการผสมผสานทางวัฒนธรรม (Cultural Integration) เกี่ยวกับความเชื่อเรื่องเมืองฟ้าในวัฒนธรรมอีสาน

จากเมืองผีสู่เมืองฟ้า ด้วยทานบารมี

ความเชื่อเรื่องเมืองฟ้าในลําสลอง เป็นเหมือนคู่มือบอกวิธีการในการหลุดพ้นจากเมืองผีเพื่อไปสู่เมืองฟ้า อันเป็นสุขอันประณีตและดีงาม โดยจะต้องอาศัยการทําบุญด้วยวัตถุทานต่าง ๆ ดังที่กล่าวไว้ใน สลองธุงเหล็กว่า “…โยปุคฺคโล อันว่าบุคคลผู้ใดได้สร้างธุงเหล็กบูชาแก้ว ทั้ง ๓ ดังนั้น พ้นจากบาปกรรมเวรทั้งมวลคือว่า เป็นเผตแลผี ตกนารกก็ได้เกิดเป็นเทวบุตรเทวดา อยู่วิมานคําผาสาท นั้นแล…”

ดังนั้น ความเชื่อเกี่ยวกับการพ้นจากทุกข์ ในเมืองผีไปสู่สุขในเมืองฟ้าตามคติของคนอีสาน จึงสามารถเกิดขึ้นได้ด้วยการสร้างวัตถุทาน ที่จะส่งผลให้ได้ไปเกิดในภูมิที่สูงกว่าเหมฐิมวัฏสงสาร ซึ่งได้แก่การเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา และพรหม รวมถึงเป็นเหตุนําไปสู่การเข้าถึงพระนิพพาน ดังเช่นที่กล่าวไว้ในวรรณกรรมลําสลอง ที่ปรากฏในชุมชนอีสาน เช่น สลองอัฏฐะ สลองทุงเหล็ก สลองเสตตะสัตร สลองไฟดอก สลองไฟ สลอง บวช และสลองสรรพทาน เป็นต้น

การสร้างวัตถุทานเพื่อจะได้พ้นจากเมืองผี นอกจากบุคคลนั้นจะทําให้กับตนเองแล้ว ยังสามารถทําอุทิศให้กับผู้ตายเพื่อให้พ้นจากทุกขเวทนาในอบายภูมิได้อีกด้วย ดังปรากฏในสลองดอกไม้ไฟว่า

“…อันว่าพ่อแลแม่แลญาติพี่น้องวงศาลูกเมียแลหลานเหลน ปาปกมฺมา ได้กระทํากรรม อันเป็นบาปด้วยปากด้วยใจ จุตฺตา ตายแล้ว ปวตนฺติ ก็ตกไปในอบายทั้ง ๔ เต ปุคฺคลา อันว่า บุคคลทั้งหลายฝูงนั้น มุญฺเจย ก็เพิงพ้นจากทุกข์ซุคน ๆ ปุปฺผลคฺคินาทานสฺสนุภาเวน ด้วย อานุภาพบุญอันแต่งไฟดอกบูชาแก้วทั้งนั้นแล…”

ความส่งท้าย

เมืองฟ้าที่เกิดจากการผสมผสานทางวัฒนธรรม (Cultural Integration) ระหว่างความเชื่อแบบพราหมณ์-พุทธ ที่เข้ามาซ่อนทับพื้นที่ทางความเชื่อแบบผีของคนอีสานที่เดิมเชื่อเรื่องเมืองฟ้า เมืองแถน การผสมผสานทางวัฒนธรรมนี้ ทําให้คติเรื่องนรกสวรรค์ของชาวอีสานเป็นระบบเมืองผี เมืองคน เมืองฟ้า ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะต่างจากไตรภูมิของพุทธศาสนา เถรวาท และได้มีอิทธิพลต่อระเบียบปฏิบัติในประเพณี พิธีกรรม วิถีชีวิต ตลอดทั้งเกิดการผลิตซํ้าผ่านวรรณกรรมต่าง ๆ ที่ตกทอดมาถึงปัจจุบัน

อย่างไรก็ตามจักรวาลวิทยาเรื่องเมืองฟ้านี้ กําลังถูกท่าทายจากจักรวาลวิทยาแบบ วิทยาศาสตร์ตะวันตก สิ่งที่สังคมอีสานต้องตั้งรับให้ทันคือ การที่จักรวาลวิทยาเรื่องเมืองฟ้าซึ่งเคยถูกนํามาใช้เป็นกลไกในการสร้างสังคมอุดมคติที่ มีสันติสุขกําลังถูกลดความสําคัญลง เพราะชุดความรู้ใหม่เกี่ยวกับจักรวาลวิทยาแบบวิทยาศาสตร์ตะวันตกที่อธิบายถึงเฉพาะวัตถุและสภาพทางกายภาพ ที่ไม่สามารถเชื่อมโยงไปสู่การจัดระเบียบสังคมแบบองค์รวมเช่นชุดความรู้เดิม จนทําให้สังคมอ่อนแอต้องใช้ระบบกฎหมายเข้ามาเป็นเครื่องมือควบคุมจัด ระเบียบสังคมแทน ซึ่งดูเหมือนกฎหมายจะเป็นเครื่องมือที่ด้อยประสิทธิภาพกว่า เนื่องจากไม่สามารถเข้าไปจัดการถึงระดับของจิตวิญญาณของชุมชน ต่างจากเรื่องเมืองฟ้าที่บรรพชน ตกผลึกมากว่าพันปี

ประเด็นการเปิดรับวัฒนธรรมในโลกยุคโลกาภิวัตน์ที่แตกต่างจากอีกซีกโลกหนึ่ง จึง เป็นประเด็นที่เราควรจะได้ถอดรหัสทําความเข้าใจรากเหง้าวัฒนธรรมของตน เพื่อเตรียมการและเชื่อมช่องว่างระหว่างอดีตกับปัจจุบัน ให้ลงตัวและเหมาะสม ไม่หลงของเก่า ไม่เมาของใหม่ แต่เป็นการประสานรอยต่อระหว่างเมืองผี เมืองคน เมืองฟ้า ให้สามารถรับใช้และคงอยู่คู่วัฒนธรรมชุมชนอีสานได้อย่างเหมาะสมต่อไป


เขาพระสุเมรุ เขาสัตตบริภัณฑ์ และสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ (จากสมุดภาพไตรภูมิ)

Related Posts

ฮูปแต้มวัดมหาธาตุ อำเภอเชียงคาน
มหัศจรรย์บัวหลวง
ภาพพระเตมีย์ บนใบเสมาทวารวดีอีสาน
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com