“คนคลั่งครั่ง”
“มีไหมบ่มีครั่งย้อม มันบ่ห่อนแดงเอง คันบ่หาฟืมฟัด ต่ำทอบ่มีแล้ว มีไหมบ่มีเข็มห้อย สิเอาหยังหยิบแส่ว มีเข็มบ่มีไหมห้อยก้น สิหยิบได้ฮ่อมได๋” ผญาคำสอนตั้งแต่โบราณบอกกล่าวเล่าความสำคัญของ “ไหม” ...Read More
“หมอลำโคตรซิ่ง” ยุคอีสานสร้างสรรค์มันต้องรอด
ภูมิภาคอีสานบ้านเฮามหรสพที่บันเทิงเริงใจ และปลุกเร้าพลังให้ลุกขึ้นเต้นฟ้อนอยู่ได้ตลอดทุกยุคสมัยนั่นก็คือหมอลำ หมอลำคือศิลปะการแสดงที่อยู่คู่กับคนอีสานมาช้านาน จนมีคำพูดบอกว่า “ถ้าใครได้ยินเสียงแคนแล้วไม่ลุกขึ้นฟ้อนรำนั่นไม่ใช่คนอีสาน”
วันนี้ของครูเพลง สัญญา จุฬาพร
แต่การจะกลับไปสู่ความเลวร้ายก็ใช่ว่าจะง่ายดาย ทั้งคู่ต้องเอาแรงเข้าแลก เพื่อหาเงินเป็นค่าเดินทางและค่าอยู่ค่ากินระหว่างทาง ต้องรับจ้างขุดดิน ตัดไม้ และงานใช้แรงงานสารพัดตลอดรายทางตั้งแต่อีสาน-สงขลา โดยใช้เวลาเดินทางไปและกลับร่วม ๓ เดือน และประสบการณ์ช่วงนี้เองที่เขาได้เอามาเป็นวัตถุดิบในการเขียนเพลง
ปราชญ์แห่งอินแปงบอกว่า “เมืองไทยเป็นเมืองมั่งคั่งที่สุดในโลก”
“คำพูด คำด่าของเขา มันเป็นการหากินของเขา ไปถ่ายภาพก็ไปถ่ายเอาตรงที่แห้ง ไปถ่ายตรงที่มีคนยากจน แต่จริง ๆ แล้วอีสานคือเมืองสวรรค์ของประเทศไทย ไม่หนาวเกินไป ไม่ร้อนเกินไป น้ำไม่ท่วมเกินไป ซึ่งพอดี พองาม ภาคใต้น้ำท่วมเหนือก็หนาวมาก อีสานเราพอดี มีปัญหาแต่น้อยมาก แต่กลับถูกคนมาบอก อีสานแล้ง เราก็เลยเชื่อเขา แต่จริง ๆ ไม่ได้แล้ง มันแล้งตรงไหน”
เขาบอกว่า “เสี้ยวจันทร์” เป็น “นักปั้นซีไรต์”
เสี้ยวจันทร์ : ความจริงใจ ความเชย ถ้างานเขียนเหมือนหนัง ปัญญา เรณู ที่ บิณฑ์ บันลือฤทธิ์ กำกับ หนังดีมาก ตลาด ๆ แต่อาร์ตนะ มันออกมาจากข้างใน ชอบตุ๊กกี๊ อยากให้ตุ๊กกี้เขียนบทกวี จะส่งประกวด/ ถาม : งานเขียนของคนอีสานนักเขียนอีสานมีอะไรที่น่าสนใจบ้างไหม/ เสี้ยวจันทร์ : ฟ้าบ่กั้น ลาว คำหอม ภูเขาใหญ่ ดอกอะไรก็ไม่รู้ สุรชัย จันธิมาธร/ ถาม : จุดอ่อนของงานเขียนของนักเขียนอีสานของเราคืออะไร/ เสี้ยวจันทร์ : ขาดความเป็นสากล ซึ่งความเป็นสากลนั้นต้องประกอบไปด้วยองค์ประกอบศิลป์มากมาย เหมือนตัดต้นไม้ทั้งป่า แต่ทำเก้าอี้ได้ตัวเดียว
จากกรรมกรสู่คอลัมนิสต์ นักเขียน ป.๔ “เสรี ทัศนศิลป์”
เขาบอกอย่างไม่เคยอายใครว่า เขาจบการศึกษาเพียงแค่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ จากบ้านเกิดอำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด จับพลัดจับผลูเข้ามาเป็นกรรมกรลูกจ้างในโรงงานรองเท้า และขยับฐานะเป็นเจ้าของธุรกิจ ปัจจุบันเขามีโรงงานทำรองเท้าเล็ก ๆ แบบอุตสาหกรรมในครอบครัวเป็นของตัวเอง มีลูกน้องบริวารร่วมงานกว่า ๒๐ ชีวิต และลูก ๆ อีก ๒ คน ที่ต้องดูแลร่วมกันกับภรรยา