ก้อยไข่โพ๊ะ : แหย่ไข่มดแดงในป่า หาปลากั้งน้อย ไปทำก้อยไข่โพ๊ะ
เดือนสามลมวี่เดื่อนสี่ลมวอย พัดดอกฮังน้อยหอมไกล ลมแล้งพัดมาคราใดให้นึกถึงเยาว์วัย ที่พ่อแม่พาไปกินข้าวป่า แหย่ไข่มดแดงที่ต้นหว้าพร้อมหาปลาค่อกั้งใหญ่น้อย ไปทำก้อยไข่โพ๊ะ
‘หมูป่าเอาะเผือก’ สูตรเนื้อตุ๋นแบบอีสานของคุณปู่สู่คำนาง
ส่วนคำว่า “เอาะเผือก” หมายถึง การเอาะที่ชูรสด้วยเผือก แต่ถ้าชูรสด้วยหอม ก็เรียก “เอาะหอม” เน้นและย้ำว่า ให้เรียกชื่อวัตถุดิบหลัก ตามด้วยกรรมวิธีการทำให้สุก และปิดท้ายด้วยวัตถุดิบรอง
หมาน้อย มหัศจรรย์อาหารเป็นยา
“ปู่คะ ทำไมเราต้องกินหมาน้อยทุกครั้งหลังจากกินแกงเห็ดป่าด้วยคะ”
คำนางถามปู่ขณะที่กำลังนั่งดูปู่ขยี้ใบหมาน้อยกับน้ำเปล่า “เพราะหมาน้อย เป็นยาวิเศษไงล่ะ” ปู่บอก พลางกรองเอาเศษใบหมาน้อยที่ขยี้จนใสแล้วออกจากน้ำสีเขียวข้นนั่น
“เห็ดเผาะ” ฤดูน้ำ ฤดูฝน ฤดูคนรักเห็ด
“อ้าวเห็ดแท้ ๆ” พ่อจะพูดแบบนี้เสมอหลังฝนตกได้สองสามวัน แล้วอากาศอบอ้าวจนเหนียวตัวมากกว่าปกติ นี่แหละสภาวะที่พอเหมาะต่อการเจริญเติบโตของเห็ดป่า...เริ่มกันที่...เห็ดเผาะ
ปลาส้ม ส้มปลา
‘ไปพุ้นกินปลา มาพี้กินข้าว’ คำบอกเล่าที่บ่งบอกถึงการเอื้อเฟื้อเกื้อกูล มีความผูกพันอันลึกซึ้งของชาวอีสานที่มีต่อข้าวและปลา
‘ก้อยหอยขัว’ เมนูแซบนัวในฤดูร้อนแล้ง
“หอยขัวคืออะไรคะ”
“หอยขัวคือหอยที่ได้จากการขัว ขัวหอยคือการใช้เสียมค่อย ๆ ขุดถากหน้าดิน เพื่อหา ‘หอยเข้าไง’ หอยเข้าไงคือหอยจำศีลในฤดูน้ำแห้งขอด”
‘ลาบปู’ กินสะเดาบานคู่กับลาบปูยามค่ำ
วิธีการปรุงลาบปูคือง่ายมาก โดยเริ่มจากใส่เกลือลงในอ๋อปูสักหนึ่งช้อนชา แล้วบีบมะกอกสุกตามลงไปสักลูก มะกอกสุกให้รสเปรี้ยวนวลเข้ากันได้ดีกับเมนูปูนาหน้าหนาว เครื่องชูรสมีแค่นี้ หากยังขาดเปรี้ยวและเค็มก็ให้เติมเกลือและมะกอกเพิ่ม หลังจากนั้นให้ใส่พริกป่นตามไป และใส่ข้าวคั่วพร้อมต้นหอมผักชีเป็นอันดับสุดท้าย
แกงส้มปลาเหนียว
อาหารสร้างภูมิต้านทานในยุคสมัยโควิด-19 ระบาด แกงส้มปลาเหนียว คือ แกงส้มแบบอีสานทานคู่กับลาบแค่น และลาบแหลว
ข้าวปุ้นแกงปู : ความฮักของปู่ส่งสู่หัวใจย่า
แกงปูทำจากปูนาและปรุงรสด้วยปลาร้าตามแบบฉบับของอาหารพื้นถิ่น ต่างจาก “น้ำยาปู” ของทางภาคใต้ที่ใช้เนื้อปูทะเลแกงกับกะทิ แล้วปรุงรสด้วยเคยดี หรือกะปิ ข้าวปุ้นแกงปูเป็นอาหารที่ทำได้ง่ายไม่ยุ่งยากเหมาะมากในหน้าหนาว แม้จะดูเป็นอาหารธรรมดาทำได้ง่ายแต่อร่อยล้ำได้ยาก เพราะทุกอย่างขึ้นอยู่กับการคัดสรรวัตถุดิบ ส่วนวิธีทำนั้นก็มีความละเมียดละไมมากพอสมควร จึงจะได้แกงปูดี ๆ สักชาม
ขี้เหล็ก : ฮ่วมพาแลงกินแกงต่างหม้อ
ผิดที่ต่าง หรือ ต่างจึงผิด
แบบไหนเรียกว่าถูก แบบไหนเรียกว่าผิด
พ่อนางพาทำแบบนี้ หรือ แม่อ้ายพาทำแบบนั้น
ถูกเพราะเป็นวัฒนธรรมบ้านฉัน หรือ ผิดจากประวัติศาสตร์ลิ้นเธอ