กลอนบทละคร (๔)
เรื่องกลอนบทละครอยุธยา ยังมีเรื่องเล่าอีกยาวครับ ตอนก่อน ๆ ผมคิดว่าท่านผู้อ่านคงอ่านรสกลอนไม่เต็มที่ ฉบับนี้จะลงให้จุใจเลย เป็นกลอนชมเมืองจากบทละครเรื่องอิเหนา สมัยอยุธยา (คัดจากหนังสือ “ตำนานอิเหนา” โดย สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ) นอกจากอยากให้สนใจลีลากลอนสมัยอยุธยาแล้ว
วัฒนธรรมแถน (๔) : แถนในวัฒนธรรมมลายูดั้งเดิม
ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มีการละเล่นคล้ายมะโนราเรียกว่า มะโย่ง มีผู้ศึกษาพบว่าคำว่า มะโย่ง (Makyung) มาจากคำว่า Mak Hyang (มะ-แม่ เฮียง) ซึ่งเป็นพิธีบูชาผีบรรพบุรุษฝ่ายแม่ของพวกมลายูในสมัยก่อนอิสลาม หรือก่อนพราหมณ์-พุทธด้วยซ้ำ ซึ่งคลี่คลายมาเป็นการละเล่นเพื่อความบันเทิงในสมัยหลังเช่นเดียวกับหนัง ‘วายัง’ (wayang) หรือหนังตะลุง
รากเหง้าวัฒนธรรมอาเซียน?
แต่เดิมนั้น ผมสนใจศึกษาเรื่องไป่เยวี่ยแต่เพียงในด้านที่บรรพชนของชนเผ่าไทเป็นส่วนหนึ่งของไป่เยวี่ย มาถึงตอนนี้เรื่องไปเยวี่ย กลายเป็นเรื่องของแหล่งอารยธรรมดึกดำบรรพ์ของโลก เช่นเดียวกับวัฒนธรรมอียิปต์ วัฒนธรรมเมโสโปเตเมีย วัฒนธรรมจีนแม่น้ำหวงเหอ
อักษรบนกลองมโหระทึกดองซอน คล้ายกับอักษรไทดำ
พบมีผู้อธิบายเรื่องอักษรบนมโหระทึก ดองซอนว่า คล้ายคลึงกับตัวอักษรไทดำ ในดินแดน ลั่วเยวี่ย (จีนฮั่นเรียกดินแนดกวางสีภาคใต้และเวียดนามภาคเหนือว่าลั่วเยวี่ย ชาวลั่วเยวี่ยมีสัญลักษณ์ภาพที่อาจพัฒนาเป็นตัวอักษรได้ใช้อยู่ก่อนที่ตัวอักษรฮั่นจะแพร่เข้าไป รูปที่หนึ่งเป็นตัวอย่างตัวอักษร ที่นักวิชาการเวียดนามเรียกว่า อักษรไฟ
โตเปี๊ยะ (ตัวฟ้าผ่า) ของจ้วง เจ้าฟ้าแผดขวานคำ ของไทอาหม
หมาเก้าหาง ขึ้นไปขโมยเมล็ดพันธุ์ข้าวจาก ตัวเปี๋ยะ ตัวเปี๊ยะใช้สายฟ้าขว้างใส่หมาเก้าหาง ถูกหางหมาขาดไปแปดหาง หมาเก้าหางหนีรอดมาได้ เหลือหางเพียงหางเดียวแต่ก็ได้เมล็ดพันธุ์ข้าวมาให้มนุษย์ ชาวจ้วงดึกดำบรรพ์จึงบูชาหมา
ว่าด้วย เงือก (๒) “ตูเงียะ” เงือกของชาวจ้วงในกวางสี
ตามความเชื่อของนักวิชาการกวางสีโดยทั่วไปเชื่อว่า “ตูเงียะ” เป็นจ้าวแห่งนํ้าเช่นกัน แต่คือ จระเข้ เสียงคำว่า “เงียะ” นั้นคล้ายกับสำเนียงจีนกลางคำว่า “เง่อ” (หรือ เอ้อ) ที่แปลว่า “จระเข้” 鳄
แกะรอยคำว่า เงือก
การเปลี่ยนความหมายของ “คำ” เป็นเรื่องปกติ ความหมายดั้งเดิมของคำบางคำ เช่นคำว่า “เงือก” ในภาษาไท-ลาวโบราณ เปลี่ยนไปจนหมดเค้าเดิม
ถ้าถามเด็ก ๆ ว่า “เงือก” คือตัวอะไร คำตอบคือ “นางเงือก” (mermaid) ครึ่งคนครึ่งปลา
ถ้าถามผู้ใหญ่ในอีสาน ว่า “เงือก” คือตัวอะไร คำตอบที่ได้ฟังบ่อยคือ เป็นสัตว์นํ้าประเภทปลาไหลไฟฟ้า , เป็นผีนํ้า ทำให้คนตาย ฯลฯ
กลอนบทละคร (๑๕-๑๖)
บทพากย์ นางลอย ยุคอยุธยา เทียบกับพระราชนิพนธ์ ร.2 ขนบการประพันธ์ของไทยโบราณ ผู้ประพันธ์จะถ่อมตน บางเรื่องไม่แถลงนามผู้ประพันธ์ หลายเรื่องที่ลงท้ายเชิญให้ผู้ที่มีความสามารถสูงกว่าช่วยแก้ไขปรับปรุงให้ด้วย
กลอนบทละคร (๕ – ๖)
กลอนบรรยายพระราชวังกรุงกุเรปัน ในบทละครอิเหนาครั้งกรุงเก่าข้างต้นนี้ ภาพที่บรรยายแท้จริงแล้วก็คือพระราชวังสมัยกรุงศรีอยุธยานั่นเอง เนื้อความตอนนี้จึงมีความหมายสำคัญทางประวัติศาสตร์ด้วยครับ การอ่านวรรณคดีนั้น เราจะได้ทั้งความไพเราะชื่นใจของภาษา และความรู้ทางประวัติศาสตร์ สังคมวิทยาด้วย
ผู ชื่อเดิมของ เยวี่ย-เหล่า-ลาว-ไท (แปลว่าคน)
มีบันทึกจดหมายเหตุ(ที่เชื่อถือได้)ว่า เมื่อโจวอู่หวางทำสงครามล้มล้างเจ๊ดอ่อง (ในเรื่อง “ฮ่องสิน) ประมาณสามพันปีที่แล้ว พันธมิตรที่สำคัญเอ่ยชื่อไว้คือ คือ ชนเผ่าผู 獛 เผ่า สู่ (จ๊ก) 蜀 (ภาคกลางเสฉวน) เผ่า เชียง (หรือเกี๋ยง ภาคเหนือเสฉวน) นั่นแสดงว่า พวกผูต้องอยู่ไม่ไกลจากแม่น้ำเหลืองนัก
จ้วงเป็นบรรพบุรุษไทยหรือไม่?
จ้วงกับไท แยกกันอยู่ ตั้งแต่ยุคราชวงศ์โจว (ก่อนขงจื๊อ) แล้ว จีนเรียกดินแดนที่จ้วงอยู่ว่า ซีโอว กับ ลั่วเยวี่ย สองชื่อ เรียกดินแดนที่อยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ลงมาของลั่วเยวี่ยว่า เยวี่ยชาง
ปริศนาตัวมอม (๕) จบ
ในล้านนามอม ถูกเปลี่ยนให้เป็นสัตว์พาหนะของปัชชุนนะเทวบุตร ผู้ให้ฝน พระพิรุณ ผู้ให้ฝน ทรงพาหนะ มกร (มะ กะ ระ ซึ่งเทวรูปที่เก่าแก่ที่สุดในอินเดียทำเป็นรูปจระเข้) ในสายพุทธมีการอ้างอิง มัจฉาชาดก เป็นต้น
ปริศนาตัวมอม (๔) จาก “หมา” เปลี่ยนเป็นสัตว์ผสม
การเปลี่ยนแปลงรูปเคารพจากหมา เป็นสัตว์ที่มีลักษณะผสมผสาน คงจะค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงมาในระยะสองพันปี จนกระทั่งกลุ่มชนเผ่าไทที่ได้รับวัฒนธรรมจากอินเดีย เปลี่ยนมอม เป็น สิงมอม – สัตว์ศักดิ์สิทธิ์ที่มีลักษณะผสมระหว่าง หมา-เสือ-สิงห์-แมว-ค่าง มีฤทธิ์เดชมาก
ปริศนามอม (๓) การบูชาหมาในยุคดึกดำบรรพ์
ในหมู่บ้านบางแห่งของชาวจ้วงในกวางสี ยังนิยมตั้งหมาหิน ไว้หน้าหมู่บ้าน หรือหน้าเรือน และมีมากเป็นพิเศษในคาบสมุทรเหลยโจว (ตอนใต้ของมณฑลกวางตุ้ง เป็นถิ่นฐานของชนตระกูลภาษาไท กะได มาก่อน) ที่สำคัญคือกลุ่มชาว Tay ไต่ ในจังหวัดลางเซิน เวียดนามภาคเหนือ จะมีหมาหิน ตั้งไว้หน้าบ้านทุกบ้าน
ปริศนาตัวมอม (๒) บูชาหมา
เรื่องดังกล่าวนี้คงเป็นที่เชื่อถือกันในชาวจ้วงหลายกลุ่ม เพราะในพิธีกินข้าวใหม่ทุกปีของชาวลีซอ หลังจากไหว้ผีแล้ว จะเอาข้าวใหม่ และเนื้อที่ปรุงในพิธี ส่งให้หมากินก่อน เช่นเดียวกับชาวไทใต้คง ในยูนนานก็ให้หมากินข้าวใหม่ ในวันสุนัข เดือนอ้าย ส่วนชาวปู้ไต่ ในจังหวัดเหวินซาน มณฑลยูนนาน พอถึงเดือน 8 ขึ้น 15 ค่ำ จะมีประเพณีหุงข้าวให้หมากินเพราะเชื่อกันว่าหมาเป็นผู้นำพันธุ์ข้าวมาให้มนุษย์