By

ทองแถม นาถจำนง

ตำนานน้ำเต้าปุง

บรรพชนคนพื้นเมืองในดินแดนตั้งแต่แม่น้ำแยงซี (ฉางเจียง) ลงมาจนถึงอุษาคเนย์ทั้งภาคพื้นดินและภาคสมุทร มีรากเหง้าอารยธรรมร่วมกันคือ วิถีชีวิตเพาะปลูกข้าว, การเคารพบูชาน้ำเต้า และผีฟ้า (แถน)

(๗) แถน ในวัฒนธรรมสายไทหลวง (ไทใหญ่, ไทมาว, ไทอาหม ฯลฯ)

ข้าพเจ้าขอเรียก ชาวไตในภาคตะวันตกของยูนนาน ในรัฐฉาน ประเทศเมียนมาร์ (ปัจจุบัน) ในรัฐอัสสัม ประเทศอินเดียปัจจุบันว่าชาวไตสาย “ไตหลวง” หรือ “ไตสายตะวันตก” เนื่องจากมีตำนานกำเนิดและรากเหง้าวัฒนธรรมคล้ายคลึงกันมาก

ทางอีศาน 66 : ทำดีถวายไท้

รัตนะ โกสินทร์ ถิ่นไทยรัก ซึ้งตระหนัก กษัตริย์ไทย ใจรักมั่น สามัคคี รวมแก่น แน่นรักกัน เทิดมิ่งขวัญ จักรี ศักดิ์ศรีไทย ‘พระภูมิพล’ เสด็จไหน ‘ใจไทย’อยู่ น้อมเชิดชู คำสอนสั่ง ตั้งใจใส่ จะกี่ภพ กี่ชาติ ตลอดไป จักทำดี ถวายไท้ เทอดนิรันดร์

พระพุทธเจ้าเสวยข้าวอะไร ?

ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ให้คำตอบไว้ดังนี้ ได้เคยตั้งปัญหามาแล้วในบทก่อนว่า พระพุทธเจ้าเสวยข้าวอย่างที่เรากินกันอยู่ในเมืองไทยหรือข้าวอะไร ที่ตั้งปัญหาเช่นนี้ก็แพราะได้พยายามค้นดูในพระไตรปิฎกและอรรถกถาฎีกาแล้วไม่พบคำที่แปลว่า ข้าวจ้าวหรือข้าวเหนียว อย่างที่ฝรั่งเรียกว่า Rice อันแน่นอนสักคำเดียว

คำฉันท์ วรรณลีลามรดกชาติ (46) สมุทโฆษคำฉันท์ (34)

นับเป็นเรื่องอัศจรรย์ ที่คำฉันท์เรื่องนี้ปรากฏต้นฉบับตัวเขียนเพียงฉบับเดียวเท่านั้นที่พบในปัจจุบันนี้ เป็นสมุดไทยดำ เขียนด้วยเส้นหรดาล ขนาดกว้าง ๑๑.๒ เซนติเมตร ยาว ๓๔.๕ เซนติเมตร เขียนอักษรสองด้าน รวม ๑๐๔ หน้า ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่ส่วนภาษาโบราณ หอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี

คำฉันท์ วรรณลีลามรดกชาติ (45) สมุทโฆษคำฉันท์ (33)

ตำนานเรื่องพราหมณ์ที่สำคัญเรื่องหนึ่งคือ ตำนานพราหมณ์นครศรีธรรมราช เล่าว่า ในสมัยพระเจ้าอู่ทอง กษัตริย์เมืองรามนครในอินเดียส่งเทวรูปพระผู้เป็นเจ้า และพราหมณ์ เข้ามาถวายพระเจ้าอู่ทอง หัวหน้าพราหมณ์ชุดนั้นชื่อผแดงธรรมนารายณ์ มีพราหมณ์อีกหลายคน

คำฉันท์ วรรณลีลามรดกชาติ (44) สมุทโฆษคำฉันท์ (32)

พวกพราหมณ์บูชาไฟ มีมาก่อนตั้งกรุงศรีอยุธยาที่หนองโสน(เวียงเหล็ก)แล้ว บริเวณที่พระเจ้าอู่ทองทรงสร้างราชธานีใหม่นั้น อยู่ใกล้สำนักนักพรต ชาวบ้านเรียกว่า ชีกุน คำนี้เพี้ยนมาจากคำว่า ชีกุณฑ์ แปลว่านักบวชผู้บูชาไฟ คือพราหมณ์นั่นเอง

คำฉันท์ วรรณลีลามรดกชาติ (43) สมุทโฆษคำฉันท์ (31)

หากพบช้างป่าตกมันก็ยิ่งอันตราย พระไอยการช้างจึงกำหนดว่า อนึ่งพระธินั่งเสดจ์เข้าต่อเถื่อน แลเถื่อนมีพาษี พระธินั่งต่ำตา อย่างควาน ควานอย่าให้ขอ อนึ่งจะทรงบาศ แลเถื่อนมีพาสีก็ดี ตรัสเรียกบาศ อย่ายื่น แลไอยการให้ควาน ๆ ทัง ๔ ประการดั่งนี้ ให้ขุนช้างชาวช้างว่าแก่ขุนตำรวจให้เอากราบมูลพระกรรุณาครั้งหนึ่ง...

คำฉันท์ (7) วรรณลีลามรดกชาติ เสียงตก

อำ ทำไมจึงเป็นลหุได้ เป็นครุก็ได้ แต่ อัม เป็นครุเสมอไป ความจริงก็คือ อำ เหมือนกัน จะว่าคำนิคหิตในภาษาสันสกฤตเป็นลหุก็ไม่ถูกต้อง เพราะความจริงเป็นครุในภาษาบาลีเหมือนกัน ถ้าถือรูปอักษรเป็นเกณฑ์ก็อาจจะว่าได้ว่าต่างกัน แต่เมื่อนิคหิตในภาษาบาลี-สันสกฤตก็เป็นครุด้วยกันแล้ว จะอ้างคารมรูปอักษรก็ไม่ได้

คำฉันท์ (6) วรรณลีลา มรดกชาติ ครุ ลหุ

คำครุ เป็นคำที่มีเสียงหนัก ได้แก่ คำทุกคำที่ประสมกับสระเสียงยาวในแม่ ก กา เช่น งา ชี้ สู้ แล้ ห่อ และคำที่ประสมกับสระเสียงสั้นก็ได้เสียงยาวก็ได้ และมีตัวสะกดด้วย เช่น ขม คิด นึก ปาน โชค เล็บ นอกจากนั้นคำที่ประสมกับสระ อ า ไอ ใอ เอา ซึ่งถือว่าเป็น เสียงมีตัวสะกดก็จัดเป็นคำครุเช่นเดียวกัน

วัฒนธรรมไท : ข้าว ผี ขวัญ แถน เงือก

ข้าพเจ้าพบว่า วัฒนธรรมไท(ทั้งหมด) ก่อนรู้จักพุทธพราหมณ์ สรุปรวบยอดได้ 5 คำ ข้าว ผี ขวัน(ขวัญ) แถน เงือก, ข้าว : การผลิตข้าวกำหนดให้เกิดพิธีกรรมต่าง ๆ ในรอบ 12 เดือน เป็นประเพณีสืบมา, ผี : คือระเบียบโลกที่คนต้องเคารพ

คำฉันท์ (4) วรรณลีลามรดกชาติ

เดิมทีกวีไทยมิได้ดัดแปลงฉันท์ในคัมภีร์วุตโตทัยให้เป็นฉันท์ภาษาไทยครบทั้ง ๑๐๘ ชนิด ต่อมานายฉันท์ ขำวิไล เป็นผู้ดัดแปลงเพิ่มเติม เป็นฉันทวรรณพฤติ เพิ่มจากที่ มหาสมณะเจ้า พระปรมานุชิตชิโนรส ทำไว้ ๕๐ ชนิด

คำฉันท์ (3) วรรณลีลามรดกชาติ

ต้นกำเนิดของฉันท์นั้น เกิดขึ้นในสมัยพระเวทเมื่อราวสี่พันปีที่แล้ว ซึ่งถ้อยคำในคัมภีร์ฤคเวทเป็นคำประพันธ์ประเภทฉันท์ ซึ่งแบ่งออกเป็น ๒ ประเภทใหญ่ ๆ คือฉันท์ที่มีจำนวนคำไม่เกิน ๕๐ พยางค์ และฉันท์ที่มีพยางค์ ๕๐ – ๑๐๖ พยางค์

คำฉันท์ (2) จากอินโด-อารยัน สู่สยามพากย์

เคยมีค่านิยมที่ผิดข้อหนึ่งว่า คำฉันท์ เป็นกวีนิพนธ์ที่สูงค่ากว่าบทกวีฉันทลักษณ์ประเภทอื่นค่าของกวีนิพนธ์เขามิได้วัดจากรูปแบบฉันทลักษณ์ ไม่ว่ารูปแบบฉันทลักษณ์แบบใด กระทั่งร้อยแก้วกวีนิพนธ์ – Poetic Prose ถ้าเขียนได้ถึง จริง ก็คือกวีนิพนธ์ที่ทรงคุณค่า

มรรควิธีวิทยา : วิภาษวิธี : Dialectical Methodology (8)

ผลงานทางวิทยาศาสตร์ ก่อนจะถึงขั้นนำไปใช้ได้ ยังต้องผ่านการทดลองขั้นกลางเสียก่อน ผ่านการทดลองตรวจสอบแล้วตรวจสอบอีก จึงจะนำไปใช้ได้ในการผลิต เพื่อที่จะทำให้มีความน่าเชื่อถือและประหยัดที่สุด การเผยแพร่เทคนิค วิทยาการใด ๆ ก็ตาม ควรทดลองปฏิบัติในเฉพาะที่เสียก่อน เมื่อได้ผลดีแล้วจึงค่อยเผยแพร่ให้กว้าง
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com