By

ทองแถม นาถจำนง

มรรควิธีวิทยา : วิภาษวิธี : Dialectical Methodology (7)

ต้องไม่อัตวิสัยด้านเดียว ต้องดำเนินการสังเกตอย่างเป็นระบบรอบด้าน จะทำได้เช่นนั้นต้องสร้างจิตใจรักรับผิดชอบต่อการงาน ยืนหยัดซื่อตรงต่อความเป็นจริง ละทิ้งความเห็นแก่ตัว ความงมงาย ไสยศาสตร์ และลัทธิตามก้น เป็นต้น เมื่อข้อเท็จจริงขัดแย้งกับทัศนคติเดิมของตน ก็ต้องกล้าตรวจสอบและสลัดทัศนคติที่ผิดทิ้งไป

มรรควิธีวิทยา : วิภาษวิธี : Dialectical Methodology (6)

การสังเกตเป็นวิธีการที่มนุษย์เราดำเนินการค้นคว้าปรากฏการณ์ธรรมชาติภายใต้เงื่อนไขที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ กล่าวคือปล่อยให้มันดำเนินไปตามปกติของมัน เราไม่แทรกแซงปรากฏการณ์ธรรมชาตินั้น ปรากฏการณ์หรือสิ่งในธรรมชาติมีมากมาย ดังนั้นวิธีสังเกตก็มีมากมายต่าง ๆ กัน

มรรควิธีวิทยา : วิภาษวิธี : Dialectical Methodology (4)

ความสัมพันธ์ระหว่างมรรควิธีทางวิทยาศาสตร์กับมรรควิธีทางปรัชญา เป็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเฉพาะรายกับสิ่งทั่วไป มรรควิธีทางวิทยาศาสตร์เป็นวิธีการพิเศษเฉพาะราย มันรวมอยู่ในวิธีการทั่วไป วิธีการวิทยาศาสตร์วิธีหนึ่ง ๆ ก็คือการแสดงออกเป็นรูปธรรมของมรรควิธีทางปรัชญา วิธีการวิทยาศาสตร์วิธีใดใดก็ตาม ล้วนรวมเอามรรควิธีทางปรัชญาเข้าไว้ด้วย

มรรควิธีวิทยา Methodology (3)

วิธีการทางตรรกกำเนิดขึ้นในกระบวนการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ พัฒนาการทางวิทยาศาสตร์แยกไม่ออกจากทฤษฎีการขบคิดที่ถูกต้อง การค้นคว้ากฏเกณฑ์แห่งการขบคิดทวีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ นับตั้งแต่นักคิดรุ่นก่อน เช่น อริสโตเติล, ฟรานซิส เบคอน ฯลฯ ได้สร้างผลงานอันยิ่งใหญ่ไว้

มรรควิธีวิทยา Methodology (2)

นักวิทยาศาสตร์ที่ได้รับผลสำเร็จที่ยิ่งใหญ่นั้น นอกจากขึ้นกับเงื่อนไขหลายอย่าง เช่น ระดับวิทยาการและสภาพสังคมในขณะนั้นแล้ว การใช้มรรควิธีที่ถูกต้องก็มีความหมายมาก เช่น กาลิเลโอ, เคปเลอร์ อยู่ในยุคกลางซึ่งวิทยาการยังไม่เจริญ แต่ท่านมีมรรควิธีอันถูกต้อง จึงมีผลสำเร็จอันยิ่งใหญ่ เป็นต้น

กลอนบทละคร (๑)

กลอนบทละครมีมาแล้วตั้งแต่ยุคกรุงศรีอยุธยา แต่จะมีบทละครจบเรื่องครบถ้วนอย่างที่มาแต่งกันในยุครัตนโกสินทร์หรือไม่ ก็ตัดสินยาก เพราะต้นฉบับสูญหายไปครั้งกรุงแตก แต่หลักฐานมียืนยันได้ว่า มีการแต่งเป็น “บทร้อง” และก็น่าจะร้องเล่น (แสดงละคร) กันทั้งคืนเป็นเวลาหลายคืน

ถวายบังคม มหาคีตศิลปิน

ขอพระองค์ทรงพระเจริญ ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า สมาชิกผู้อ่าน เครือข่ายเพื่อนมิตร และคณะผู้จัดทำนิตยสาร “ทางอีศาน” นายทองแถม นาถจำนง ผู้ประพันธ์

A song about a friend

ได้รับคำเชิญจากคุณ Marlena Zim ผู้อำนวยการของ Polish Vladimir Vysotsky's Museum เมือง Koszalin (city in north-western Poland, near the Baltic sea) ให้แปลบทเพลงบทกวีของ Vladimir Vysotsky's เป็นภาษาไทย ไปจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ และลงตีพิมพ์ในหนังสือซึ่งจะจัดพิมพ์ที่สหรัฐอเมริกาในปีนี้

จีนาภิวัตน์กับอาเซียน (๑) ความร่วมมือด้านต่าง ๆ

ประชาคมอาเซียนมี ๓ เสาหลัก คือ เศรษฐกิจ, ความมั่นคง, สังคมและวัฒนธรรม ๓ เสาหลักหรือสามด้านนี้ หน่วยราชการ,องค์กรเอกชน และสื่อมวลชนทั่วไป มักให้ความสำคัญสนใจแต่ด้านเศรษฐกิจ กระทั่งเรียก “ประชาคมอาเซียน” ว่า AEC ซึ่งผิด AEC คือ “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” ซึ่งเป็นเสาเดียวหรือด้านเดียวเท่านั้น

ชาวลาวในจดหมายเหตุประวัติศาสตร์จีน

อักษรตัวนี้ คนทั่วไปมักอ่านว่า “เหลียว” 僚 แต่จริง ๆ แล้วโบราณเขาอ่าน “เหล่า”ทั้งคำว่า 骆 และ 僚 เป็นการถอดเสียงจากภาษาชนพื้นเมืองจนกระทั่งในยุคราชวงศ์ถัง (คริสต์ศตวรรษที่ ๗-๑๐) ชื่อ “เหล่า” เป็นที่นิยมใช้กันมากที่สุดชื่อ “เหล่า-ลาว” เริ่มเรียกกันมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ ๓ ดังนั้นชื่อ “ลาว” จึงเก่ากว่าชื่อ “ไท” มาก
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com