By

เสรี พพ

ผีปอบ

เรื่อง “ผีปอบ” เป็นข่าวอีก เพราะมีกรณีพรากลูกพรากพ่อแม่ ด้วยการขับไล่ออกจากหมู่บ้านด้วยข้อหาว่าเป็นผีปอบ ความจริงเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นมาหลายแห่ง แต่ไม่เป็นข่าว มีทีวีบางช่องไปเจาะข่าวแทนที่จะให้คำอธิบาย กลับทำให้สับสนมากขึ้นไป อีก เพราะไม่ได้ทำการบ้านเพียงพอ

ปรีชา พิณทอง ช่วยมองโลกมองชีวิต

ปรีชา พิณทอง ควรได้รับการยกย่องให้เป็น “บรมครู” หรือ“ปรมาจารย์” ด้วยประวัติและผลงาน ที่ได้สืบสานมรดกทางวัฒนธรรมด้วยการ “สืบทอด ถอดรหัส พัฒนา” ภูมิปัญญาอีสาน พ่อปรีชา พิณทอง เกิดที่อำเภอเขื่องในจังหวัดอุบลราชธานี เมื่อปี ๒๔๕๗ บวชเรียนตั้งแต่ยังเด็ก สอบได้นักธรรมตรี โท เอก ตั้งแต่เป็นสามเณร และสอบได้เปรียญธรรม ๙ ประโยครับผิดชอบเกี่ยวกับการศึกษาของสงฆ์ในจังหวัดได้รับสมณศักดิ์เป็น “พระศรีธรรมโสภณ” ก่อนจะลาสิกขาเมื่อปี ๒๕๐๕

รอด พอเพียง มั่นคงยั่งยืน

ประเด็นร่วมของชุมชนชาวนาไม่ว่าที่เวียดนาม พม่าหรือไทยในสังคมเกษตรกรรม คือความอยู่รอดได้ด้วยการพึ่งพาอาศัยกันของชุมชน หรือที่เรียกสั้น ๆ ก็ได้ว่า “ทุนทางสังคม” ที่แสดงออกทางจารีตประเพณีวิถีชุมชน กฎระเบียบของการอยู่ร่วมกัน ซึ่งสะท้อนโลกทัศน์ชีวทัศน์ ความเชื่อ ความสัมพันธ์กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ความสัมพันธ์กับธรรมชาติ การอยู่แบบเกื้อกูลไม่เอาเปรียบกัน ไม่เอาเปรียบธรรมชาติ

ฮีตคอง แผนที่ชีวิต เข็มทิศชุมชน

แผนอาชีพ คือ การทบทวนว่าอาชีพที่ทำอยู่ทำได้ดีแค่ไหน ใช้ความรู้ ใช้ข้อมูลอะไรบ้าง หรือทำตามคนอื่น หรือตามความเคยชินที่ทำ ๆ กันมาได้เรียนรู้เพื่อพัฒนาอาชีพให้ดีกว่านี้บ้างหรือไม่ ทำนาก็ได้แค่ ๓๐๐ กิโลต่อไร่ ไม่เคยคิดจะทำให้ได้สักตันต่อไร่เหมือนคนอื่นอีกหลายคนบ้างหรือ

ปรากฏการณ์ภาษาอีสาน

ภาษาอีสานกำลัง “ฮิต” ทั้งในละครทีวี ในเพลงลูกทุ่ง สื่อวิทยุและสื่อสังคม นับเป็นปรากฏการณ์ที่น่าสนใจ ดาราน้อยใหญ่ที่ไม่ใช่ลูกอีสานต้องหัดออกเสียงสำเนียงอีสานให้ได้ นักร้องลูกทุ่งก็ต้องหาพี่เลี้ยงฝึกฝนจนร้องได้เนียน ๆ เหมือนคนอีสาน

มหาวิทยาลัยชีวิต สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน

สาเหตุสำคัญประการหนึ่งคงเป็นเพราะการศึกษาเราสอนคนให้เรียนแต่หนังสือ ท่องจำเพื่อเอาไปสอบให้ได้คะแนนดี เป็นการศึกษาที่แปลกแยกจากชีวิตจริง เอาตำราเป็นตัวตั้ง ไม่ได้เอาชีวิตเป็นตัวตั้ง ไม่ได้เอาชีวิตจริงมาเรียน มาแก้ปัญหามาพัฒนาให้ดีขึ้น

ผีบุญ ศึกษาอดีตเพื่อเข้าใจปัจจุบัน

ผู้นำผีบุญส่วนใหญ่สร้างความเชื่อถือในหมู่ชาวบ้านด้วยเรื่องราวเกี่ยวกับความสามารถพิเศษต่าง ๆ อันเป็นคุณสมบัติของผู้วิเศษที่มากอบกู้ผู้คนให้พ้นทุกข์ ตั้งแต่การรักษาโรคด้วยเวทย์มนต์คาถายาวิเศษ รวมถึงการแก้ปัญหาทางสังคมอื่น ๆ ในหมู่ชาวบ้าน กลายเป็นข่าวเล่าขานต่อ ๆ กันไป

ศาสตร์และศิลป์กับคนอีสาน

ภาคอีสานเป็นสังคมปิดมานาน ไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์กับต่างชาติ ต่างวัฒนธรรมมากเหมือนคนใต้ ที่ทะเลเปิดทั้งซ้ายขวา ไม่ว่าแขกจีน อาหรับ ฝรั่งก็มาเทียบท่า ย้ายถิ่นเข้ามาอาศัยปะปนมาหลายร้อยปี ทำให้คนใต้คุ้นเคยกับคนแปลกหน้า และกลายเป็นความไม่ไว้ใจไปด้วยภาพโดย สุชีลา เพชรแก้ว เพราะมีประสบการณ์ที่ไม่ดีกับคนแปลกหน้าจำนวนไม่น้อยที่ไม่ได้มาดี คนใต้รู้จักเงินตราและค้าขายกับคนต่างถิ่นก่อนคนไทยภาคอื่น ๆ

คืนสู่รากเหง้า เวลา ที่ ผี ขวัญ

การคืนสู่รากเหง้า คือกระบวนการเรียนรู้ กลับไปสู่อีกมิติหนึ่งของเวลา ของวัฒนธรรม ก้าวข้ามทุกอย่างเพื่อเข้าถึงคุณค่าและเนื้อหาที่ดีงามของชีวิต เป็นการ “เชื่อมอดีตกับปัจจุบันเพื่อสานอนาคต”

จากอีสานถึงเอมีเลีย

ทางเลือกเพื่อการเกษตรมีหลายทาง อีสานมีปราชญ์ชาวบ้านมากมายที่ทำการเกษตรเพื่อการพึ่งตนเองไว้เป็นแบบอย่าง ตั้งแต่พ่อมหาอยู่สุนทรธัย พ่อเชียง ไทยดี ที่สุรินทร์ คุณสุทธินันท์ปรัชญพฤทธิ์ คุณคำเดื่อง ภาษี และอีกหลายคนที่บุรีรัมย์ และในทุกจังหวัดในภาคอีสาน

การเรียนรู้และการสืบทอดภูมิปัญญา (๑)

เมื่อประมาณปี ๒๕๒๗ ที่อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น มีการพบปะทุกเดือนของหมอยาพื้นบ้าน ๑๒๓ คน โดยการประสานงานของเรด บาร์นา องค์กรพัฒนาเอกชนต่างชาติดำเนินงานโดยคนไทย โดยมีคุณอภิชาต ทองอยู่ และคุณยงยุทธ ตรีนุชกร เป็นหัวเรือใหญ่

วิญญาณการเมืองอีสาน

“ชุมชนอยู่ในสภาพกึ่งหลับกึ่งตื่นเนื่องจากถูกทำลายความจำ ความรู้เรื่องไทยที่ผ่านมาเป็นแง่มุมของรัฐประวัติศาสตร์ของชุมชนไม่ปรากฏชุมชนถูกลืมไป”

ประชาคมใหม่ในสังคมนิรนาม

สังคมนิรนาม คือ สังคมที่ผู้คนไม่รู้จักกัน ดูจราจรบนท้องถนนที่เต็มไปด้วยรถรา ผู้คนตามถนนหนทาง ตามห้าง ตามตลาดนัด ตึกรามบ้านช่องป่าคอนกรีตในเมือง หมู่บ้านจัดสรรที่อยู่กันเป็นพันเป็นหมื่น บ้านอยู่ติดกันเป็นสิบ ๆ ปียังไม่รู้จักกัน ไม่เคยพูดจากัน

ส่ อ ง ซ อ ด

ถ้าการเรียนรู้คือหัวใจ ชุมชนจะพบว่า สิ่งที่สำคัญและยิ่งใหญ่กว่าเงิน คือ ความรู้ อย่างที่ปู่ย่าตายายเคยสอนไว้ว่า “มีวิชาเหมือนมีทรัพย์อยู่นับแสน”

ปลาแดก แซบและดี

เมื่อก่อนนี้ ปลาร้าเป็นอาหารคนจนของคนอีสาน ไม่มีอะไรกินก็ “กินเข่าจ้ำปาแดก” (กินข้าวจิ้มปลาร้า) วันนี้ไม่ใช่ อาหารที่มีปลาร้า อย่างส้มตำ แจ่วบอง แกงพื้นบ้านอีสาน อาหารไทยใส่ปลาร้า ขึ้นเหลาเข้าโรงแรมหลายดาวได้สบายแล้ว
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com