ชุมพร ทุมไมย วิชัย เกศศรีพงษ์ศา
สังคมไทย การขัดแย้งทางความคิดมีความผิดถึงตายมีมานานแล้ว และนับวันจะมากหลากหลายวิธียิ่งขึ้น เพราะการสำนึกถึงสิทธิ์ความเป็นมนุษย์ของตนและเคารพคนอื่นยังไม่หนักแน่น ระดับทางวัฒนธรรมและการตื่นรู้ทางการเมืองยังไม่พัฒนาก้าวหน้า ส่งผลให้ผู้มีอภิสิทธิ์อิทธิพลเต็มบ้านเมือง คนเล็กคนน้อยยังสยบยอมและยังคงยากไร้
ปิดเล่ม ทางอีศาน ๑๑๓
ในยุคก่อนและเข้าสู่ต้นยุคประวัติศาสตร์ ข้อสันนิษฐานหนึ่งของการล่มสลายไปของบางเมือง ของบางอาณาจักร เกิดจากโรคระบาดใหญ่... ถ้าใครเคยไปทัศนศึกษาแอ่งที่ราบสูงสกลนคร และได้ไปชม “ปราสาทภูเพ็ก” จะเห็นว่าตัวปราสาทส่วนบนยังสร้างไม่เสร็จ เมื่อเดินเลาะเลียบลงไปด้านหลังก็จะพบแหล่งหินตัด บริเวณนั้นจะพบหินที่ตัดแล้ววางกระจายอยู่เป็นระยะ และจะเห็นแผ่นหินที่ถูกเซาะสกัดค้างคาไว้จำนวนมาก
ระวัง! ห่าตำหัวใจ
ผู้เฒ่าผู้แก่บอกเล่าต่อ ๆ กันมาว่า “ห่า” เป็นผีประเภทหนึ่ง ผีตนนี้ทำให้เกิดโรคระบาดร้ายแรง และพรากชีวิตผู้คนจำนวนมาก จึงเรียกชื่อโรคนี้โดยรวมว่า “โรคห่า”
ปิดเล่ม ทางอีศาน ๑๑๒
โรคระบาดโควิด–19 ในประเทศไทยดูเหมือนสถานการณ์รุนแรงขึ้นอีกระดับ เพื่อนนักเขียนหลายคนก็ติดเชื้อป่วยอำลาจากกันไปก่อน สถานการณ์ตามชุมชนแหล่งสลัมก็เกิดเรื่องน่าสังเวชขึ้นทุกวัน
คุณชูศักดิ์ วิษณุคำรณ จิตรกร และหนึ่งในคณะที่ปรึกษานิตยสาร “ทางอีศาน” เสียชีวิตด้วยติดเชื้อโควิดเมื่อวานนี้ ชาวคณะ “ทางอีศาน” ขอคารวาลัย
คุณชูศักดิ์ วิษณุคำรณ
จิตรกร และหนึ่งในคณะที่ปรึกษานิตยสาร"ทางอีศาน"
เสียชีวิตด้วยติดเชื้อโควิดเมื่อวานนี้
ชาวคณะ"ทางอีศาน" ขอคารวาลัย
“ฟ้าทะลายโจร”
ภาพคนนอนตายข้างถนน รายงานการฆ่าตัวตาย ข่าวคนในหลายครอบครัวตายขณะคนที่เหลือติดเชื้อโควิด-19 ทั้งบ้าน เหตุการณ์ย่านตลาดการค้า แค้มป์คนงาน ชุมชนเก่าในเมืองใหญ่ กลายเป็น กลุ่มก้อนผู้ติดแพร่เชื้อ ผู้คนจำนวนมากเหล่านี้กำลังคอยรอรถพยาบาล
วาระแห่งหมู่บ้าน
ประเทศไทยมีวาระแห่งชาติ วาระที่คนจำนวนเพียงหยิบมือจากศูนย์กลางอำนาจวางกำหนดกฎเกณฑ์ โดยใช้มุมมองของผู้ได้เปรียบ
เต็มด้วยผลประโยชน์ อคติ และไร้ข้อเท็จจริงเป็นฐานและกรอบคิด
“๒๔ มิถุนา ๒๔๗๕” ต้นธารประชาธิปไตย
ความหอมหวนของแนวคิดรักชาติ รักประชาธิปไตย ปรารถนาให้บ้านเมืองเจริญทัดเทียมอารยประเทศ แวดล้อมจิตใจคนหนุ่มสาวยุคนั้นให้กระชับมั่นเป็นกลุ่มพวกเดียวกัน ไม่มีสถาบัน ไม่มีรุ่น ไม่มียศชั้น ไม่มีไพร่ผู้ดี มีแต่อนาคตอันสดใสอันเกิดแต่แสงสว่างแห่งรัฐธรรมนูญที่ฉายให้เห็นเสรีภาพ ความเสมอภาค และภราดรภาพ
สาส์นจาก “ทางอีศาน” – ติดอาวุธทางปัญญา
ตั้งแต่โควิดสิบเก้าเริ่มระบาด องค์กรสายส่งปิดกิจการ ร้านค้าก็ทยอยหยุดธุรกรรม นิตยสารรายเดือน “ทางอีศาน” จึงต้องระงับการขายตามร้านค้าปลีก จัดพิมพ์เฉพาะสมาชิกและคำสั่งซื้อตรงจากแฟน ๆ ทั่วประเทศตั้งแต่ ฉบับ ๙๖ เดือนเมษายน ๒๕๖๒ และได้ลดจำนวนหน้าลงจาก ๑๖๐ หน้า เหลือ ๑๒๘ หน้า หน้าสี่สีที่มี ๔๘ หน้าก็ปรับเป็นขาวดำทั้งหมด
ทฤษฎี “ผีบ้า”
ชีวิตในหมู่บ้านหนึ่งก็เหมือนนิยายเรื่องหนึ่ง มีการเกิด แก่ เจ็บ ตาย มีดีใจโศกเศร้า มีเคียดแค้นให้อภัย มีสันติสงคราม มีบาดหมางสามัคคี ตัวละครประกอบด้วย พระเอกผู้ร้าย นางเอกนางรอง ผู้ทรงศีลมหาโจร คนเข้าวัดเข้าบ่อน คนหมั่นเพียรเกียจคร้าน ฯลฯ และก็มีผีบ้า
ก้าวสู่ปีที่ ๑๐ ดั่งบั้งไฟดั้นฟ้ากล้าหาญ
[๑]
ไหว้ครู
นิตยสารรายเดือน “อักษรสาส์น” โดย สุภา ศิริมานนท์ บรรณาธิการ และจินดา ศิริมานนท์ ผู้จัดการทั่วไป คือคบไฟที่โชนแสงในความมืด
เชื่อมั่น และศรัทธา
เมื่อสนใจ ตระหนักตื่นรู้เรื่องราวความเป็นมาและควรจะเป็นไปของสังคม ของประเทศชาติบ้านเมือง ย่อมบังเกิดความกระตือรือร้น รู้ตัวของตัวว่าเกิดมาทำไม จะมีลมหายใจอยู่อย่างไร และพร้อมตายเพื่ออะไร ให้สมเกียรติและศักดิ์ศรีที่เกิดมาเป็นคน
ปิดเล่ม
สังคมมนุษย์อายุหมื่นกว่าปี เริ่มต้นมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงช้าเหลือเกิน มนุษย์พัฒนาทางสมอง สร้างระบบคิด ความเชื่อ ทีละน้อย ๆ ใช้เวลาเนิ่นนาน กว่าจะมีศาสนาและระบบปรัชญา และทุกวันนี้มนุษย์ก็ยังอยู่ในภายใต้อิทธิพลเครือข่ายของศาสนาไม่กี่ศาสนา
งานสงกรานต์ของคนอีสาน
“เทียวทางให้สุดเส้น อย่างถอยหลังให้คนย่ำ ตายกะตายหน้าพู้น คนจั๋งย่องว่าหาญ...” คำบันดาลใจของคนอุษาคเนย์แต่โบร่ำโบราณปลุกเร้าให้เลือดในกายของพงษ์เผ่าไทสูบฉีด จิตใจแน่วแน่ เชิดหน้าทะยานไกล
หัวใจงานบุญ
ทุกงานบุญประเพณีล้วนเกิดจากวิถีปฏิบัติของผู้คนในชุมชนสังคมนั้น ๆ เพื่อความสุขสนุกสนาน ความสามัคคี เสริมความคิดความเชื่อสร้างศรัทธา อันจักก่อเกิดพลังให้ยืนหยัดต่อสู้
ดำเนินชีวิตสืบไป