ฮูปแต้ม วัดกลางมิ่งเมือง ร้อยเอ็ด
ชื่อวัดกลางมิ่งเมือง บ่งบอกถึงความสำคัญอยู่แล้ว คือเป็นวัดที่ตั้งอยู่บริเวณใจกลางเมือง ตามประวัติวัดนี้เดิมชื่อ “วัดกลาง” สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๓๑๘ สมัยที่พระยาขัตติยะวงศา (ท้าวทน) เป็นเจ้าเมืองร้อยเอ็ด มีสิมขนาดใหญ่เก่าแก่ เขียนฮูปแต้มทั้งผนังด้านในและด้านนอก
ชื่อท่าฟ้อนแม่บทอีสาน (จบ)
ดร.ปรีชา พิณทอง อธิบายไว้ว่า กลอนฟ้อนเป็นกลอนยาวชนิดหนึ่ง ใช้กลอนเจ็ด กลอนแปดหรือกลอนเก้า แล้วแต่ผู้แต่งถนัดแบบใด
ชื่อท่าฟ้อนแม่บทอีสาน (๑)
เมื่อกล่าวถึง “ท่ารำแม่บท” ของนาฏศิลป์ไทย ผู้คนทั่วไปมักจะนึกถึงท่ารำ “สอดสร้อยมาลา” “ผาลาเพียงไหล่” ฯลฯ คนส่วนใหญ่ไม่รู้จักชื่อท่ารำ (ฟ้อน) ของอีสาน
ปราสาทเมืองสิงห์
ตะวันออกสุดของป่าปราสาทบนผืนดินไทย เส้นทางโบราณสู่ชมพูทวีป
เมืองสิงห์และปราสาทเมืองสิงห์ ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลสิงห์ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี มีเนื้อที่ทั้งสิ้น ๖๔๑ ไร่ หรือประมาณ ๑ ตารางกิโลเมตร แวดล้อมไปด้วยภูเขาเป็นแนวยาวอยู่โดยรอบ มีลำน้ำแควน้อยไหลผ่านทางด้านทิศใต้
ด่านเจดีย์สามองค์
อีกหนึ่งด่านด้าวแดนดง กลางพงไพรเถื่อนเทือกเขา
ผู้คนตั้งมั่นภูมิลำเนา ขีดเส้นแหว่งเว้าเข้าครอง
ทางเทียวพม่ารามัญ กะเหรี่ยงสัมพันธ์ไทยผอง
ค้าขายคู่ศึกปรองดอง ยอกย้อนซ้อนทับนับกาล คือด่านเจดีย์สามองค์ ยังคงเรื่องเก่าเล่าขาน
สุดเขตประเทศตำนาน สื่อสารถูกผิดพลิกแพลง
หวังแสงศรัทธาปรากฏ สิ้นหมดกดแบ่งแก่งแย่ง
พลังปัญญาสำแดง ทุกหัวระแหงแหล่งธรรม.
คักแท้แท้ แพรอีโป้ (มหัศจรรย์ ผ้าขาวม้า)
หากจะอธิบายเรื่องผ้าขาวม้า โดยยึดชื่อนี้เป็นหลัก แล้วอธิบายตามทฤษฎีการแพร่กระจายทางวัฒนธรรม ที่ว่าทุกสรรพสิ่งต้องมีจุดเริ่มต้นแล้วแพร่หลายไปสู่ที่อื่น ๆ
ชื่อพันธุ์ข้าวโบราณของอีศาน
“ศรี ศรี มื้อนี้แม่นมื้อสันวันเฮา ข้อยจิงสู่ขวัญข้าวในนาตามภาษา ข้าวกล้าดำหล้านั้นข้าวงัน ฮวางซันนั้นข้าวหมากกอก ดำขอกนั้นข้าวหมากเขือ เม็ดเจือข้าวป้องแอ้วแลแข้วงู เป็นฮวางฮูข้าวปลาหลาด เม็ดอาดข้าวหมากโพ เม็ดโป้ข้าวขี้ช้าง...
เส้นทางขันหมาก : ลำปลายมาศ และ บ้านกงรถ [๙]
จากตอนที่แล้ว กล่าวถึง เส้นทางของการเดินทางตามเนื้อเรื่องนิทานประจำถิ่นปาจิตอรพิม ที่ผู้เขียนได้จัดหมวดหมู่ไว้ ๕ เส้นทางด้วยกัน คือ เส้นทางตามหานางอรพิม เส้นทางขันหมาก เส้นทางหนี เส้นทางตามหาปาจิต และเส้นทางกลับบ้าน ซึ่งในแต่ละเส้นทางนั้นมีสถานที่ต่าง ๆ ที่น่าสนใจ
วันนี้ของครูเพลง สัญญา จุฬาพร
แต่การจะกลับไปสู่ความเลวร้ายก็ใช่ว่าจะง่ายดาย ทั้งคู่ต้องเอาแรงเข้าแลก เพื่อหาเงินเป็นค่าเดินทางและค่าอยู่ค่ากินระหว่างทาง ต้องรับจ้างขุดดิน ตัดไม้ และงานใช้แรงงานสารพัดตลอดรายทางตั้งแต่อีสาน-สงขลา โดยใช้เวลาเดินทางไปและกลับร่วม ๓ เดือน และประสบการณ์ช่วงนี้เองที่เขาได้เอามาเป็นวัตถุดิบในการเขียนเพลง
สังคมระบบบุญนิยม
ในยุคสมัยของโลกาภิวัตน์ คำที่ติดหูติดปากคงเป็นเรื่องของระบบ "ทุนนิยม" แต่ในวันนี้ข้าวต้มมัดถุงนี้ได้กลายเป็นสิ่งที่ยืนยันถึงการดำรงอยู่ของสังคมระบบ "บุญนิยม"
ชุมชนลาวในภาคกลางของสยาม (๗)
สงครามที่เกิดขึ้นนี้มีบันทึกหลักฐานไว้ค่อนข้างชัดเจนในหนังสือราชการทัพของทั้งสองฝ่าย และเป็นสงครามยืดเยื้อยาวนานกว่า ๒๐ ปีตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๓๗๖-๒๓๙๐ แต่กลับถูกพูดถึงน้อยมากในหน้าประวัติศาสตร์ไทย จนบางคนบางท่านไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเวียดนามและไทยเคยรบกันมาขนาดนี้ มูลเหตุหรือฉนวนสงครามครั้งนี้ มีหลายสาเหตุด้วยกัน ผมขอแยกเป็นประเด็นดังต่อไปนี้
ปัญญา จารีต ศีลธรรม
ฮีต ๑๒ – ประเพณี ๑๒ เดือนของคนอีสาน ประกอบด้วย / คอง ๑๔ - หลักการครองตน ครองบ้าน ครองเรือน ให้อยู่ในครรลองคลองธรรม ๑๔ ประการ
มาเยอ ปู่เยอ ย่าเยอ
“เยอ (วิเศษณ์) เป็นคำกริยาช่วย เชิญชวนให้มากินด้วยกัน อย่างว่า มาเยอหล้ามากินต้มไก่หัวสิงไคใส่พร้อมหมากนาวน้อยใส่นำ จํ้าแล้วจํ้าจํ้านํ่าบ่มีถอย อย่าหวังอย่าคอยว่าอี่นางชิมีชู (คำกลอน)”
[๘] เส้นทางตามหาอรพิม ตอนที่ ๑
เริ่มตามเนื้อเรื่องที่ปาจิตเดินทางจากบ้านเกิด เมืองพรหมพันธุ์นครหรือนครธม ออกตามหานางอรพิม ไล่มาตามตำนานเมืองพิมายและนางรอง ตั้งแต่บ้านจารย์ตำรา ตามตำนานว่าปาจิตเดินทางมาถึงบริเวณนี้จึงกางแผนที่ หรือตำราดูว่าบ้านนางอรพิมอยูที่ใด เดินต่อไปจึงถึงบ้านสนุ่น มีต้นสนุ่นอยู่ใกล้ตรงนี้ และบ้านท่าหลวงจากนั้นจึงเดินต่อไปพบนางบัวแม่นางอรพิมที่บ้านสำเร็จ หรือบ้านสำริด ช่วยนางบัวทำนาจน
กระทั่งจะคลอดนางอรพิม จึงไปตามหมอตำแยมาจากบ้านตำแย เมื่อนางอรพิมหัดคลานบริเวณนั้นจึงเรียกว่า ถนนนางคลาน เมื่อหัดเดินบริเวณที่หัดเดินได้ชื่อว่าบ้านนางเดิน ซึ่งเพี้ยนเสียงมาเป็นนางเหริญ
พระธาตุพนม
พระธาตุพนม พระธาตุที่มีผู้คนเคารพกราบไหว้เป็นที่พึ่งทางใจมายาวนานทั้งสองฝั่งโขง มีประวัติยาวนานคู่มากับอีสาน ผู้คนส่วนใหญ่จะรู้จักและเดินทางมาเพื่อกราบไหว้บูชาพระธาตุด้วยความศรัทธาปสาทะในความศักดิ์สิทธิ์และน้อมนำให้ระลึกถึงความเป็นชาวพุทธ