Category

ศิลปวัฒนธรรม – ประวัติศาสตร์

ไม้สองนาง ผีสองนาง

คนโบราณเมื่อพบเห็นปรากฏการณ์อะไรที่ “ไม่ปกติ” แปลกแตกต่างจากปรากฏการณ์ทั่ว ๆ ไป ย่อมมองว่ามันเป็น “กรณีพิเศษ” และกรณีพิเศษก็ย่อมมีผลให้เกิดอะไร ๆ ที่ไม่ปกติได้ทั้งในทางร้ายและ/หรือทางดี

กระบือ

สัตว์เท้ากีบชนิดนี้เสมือนธรรมชาติกำนัลให้แก่ฅน และเป็นภูมินามนิยมจัดตั้ง เช่น ตำบลสามกระบือเผือก (อ.เมืองนครปฐม) แขวงบางกระบือ (กรุงเทพฯ) ตำบลบางกระบือ (อ.สามโคก จ.ปทุมธานี) ตำบลบางกระบือ (อ.เมือง จ.สิงห์บุรี) ฯลฯ ศัพท์สัตวศาสตร์เรียก Bosbubalis สัตว์ป่ากลายมาเป็นสัตว์เลี้ยงของฅนเมื่อประมาณ ๕๐๐ ปีก่อนพุทธกาล พบทั้งในอินเดีย พม่า ไทย ตะวันออกกลาง ยุโรป และอเมริกากลาง จำแนกอย่างกว้าง ๒ ประเภท คือ ควายปลัก (Swamp buffalo) กับ ควายแม่น้ำ (river buffalo)

ฮีตเดือนหก

สมัยก่อนการทำบุญบั้งไฟจุดบูชาพญาแถนเพื่อให้ฟ้าฝนตกดี เพราะเชื่อว่า บนฟ้าแต่ละขั้นจะเป็นเมือง มีเจ้าปกครองในแต่ละเมืองฟ้า ที่เรียกว่าพระยาแถน หรือเทพวัสสกาลเทพบุตร หรือเรียกว่า พระอินทร์ พระพรหม พญาแถนจะเป็นผู้แต่งฝน แต่งลม แต่งแดด แต่งนํ้า แต่งไฟ การจุดบั้งไฟขึ้นไปบนอากาศก็เพื่อบูชาพญาแถน ให้ท่านดีใจจะได้จัดแต่งฝนมาให้ เพื่อจะได้มีนํ้าทำไร่ไถนา หากบั้งไฟขึ้นตรงสูงไม่เอียงปีนั้นฝนจะดี ข้าวปลาอาหารอุดมสมบูรณ์ ผู้คนอยู่เย็นเป็นสุข แต่ถ้าบั้งไฟแตกหรือไม่ขึ้นปีนั้นฝนจะแล้ง ข้าวปลาอาหารจะไม่อุดมสมบูรณ์๑ กาลต่อมาเมื่อมีคติความเชื่อพระพุทธศาสนาเข้ามา การจุดบั้งไฟก็เพื่อเป็นพุทธบูชา คือบูชาพระพุทธเจ้า ดังมีคำกลอนที่เรียกว่า เซิ้งบั้งไฟหรือรำบอกไฟ

เงินตราโบราณ ในอีสานบ้านเฮา

เคยสงสัยกันบ่ครับว่าในอดีตปู่ย่าตาทวดของเฮาชาวอีสาน ใช้เงินตราอีหยังกันในการจับจ่ายใช้สอย ซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน เหมือนหรือต่างกับเงินตราที่เราใช้กันซุมื้อนี่หรือไม่ นั่นอาจสิเป็นคำถามที่เกิดขึ้นในใจของไผหลาย ๆ คน บางคนอาจจะเคยเห็นเงินตราเหล่านั้นมากบ้างน้อยบ้างตามแต่ที่ท่านสนใจ หรือผู้เฒ่าผู้แก่เพิ่นได้เก็บไว้ให้ลูกหลานได้เบิ่งได้แยงกัน แต่มื้อนี้กระผมสิได้นำซุผู้ซุคนได้ย้อนกลับไปในอดีต ไปค้นหาร่องรอยทางประวัติศาสตร์ของการใช้เงินตราในอดีตของบรรพบุรุษของเฮา

พื้นเวียง วรรณกรรมต้องห้าม

วรรณกรรมเรื่อง พื้นเวียง เป็นที่แพร่หลายทั้งลาวและลาวอีสาน ในลักษณะการลำพื้น แล้วไม่นานก็เลือนหายไป ทั้งนี้เพราะเมื่อครั้งอำนาจทางกรุงเทพฯ ขยายออกมา ได้ส่งเจ้านายออกมาดูแลควบคุมหัวเมืองอีสาน หลังสงครามเจ้าอนุวงศ์ วรรณกรรมเรื่องนี้ได้เขียนเล่าเหตุการณ์ไว้ในใบลานด้วยตัวอักษรภาษาพื้นเมืองอีสาน

บางวิถีผู้ไท ในชาติพันธุ์อีศาน

มักจะกล่าวกันว่า แผ่นดินภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นแผ่นดินของชาติพันธุ์ลาว แท้จริงแล้วยังมีชาติพันธุ์ใหญ่น้อยอื่น ๆ ที่อาศัยอยู่บนผืนแผ่นดินนี้ นับแต่ชาติพันธุ์ญัฮกฺร บรูฮฺ ข่า แสก โส้ กะเลิง กุลา ญ้อ โย้ย เยอ กูย กวย เขมร และโดยเฉพาะชาติพันธุ์ผู้ไท ซึ่งมีประชากรรองลงมาจากชาติพันธุ์ลาว แสดงให้เห็นว่าแผ่นดินภาคตะวันออกเฉียง เหนือของประเทศไทยมีชาติพันธุ์ต่าง ๆ อาศัยอยู่อย่างหลากหลาย จึงเป็นเหตุให้ข้าพเจ้าเรียกรวม ๆ ว่า “ชาติพันธุ์อีศาน” และอาจจะเรียกว่า “ประชาชาติอีศาน” ในโอกาสต่อไป

นอ เครื่องคํ้าของคูณแห่งลุ่มแม่นํ้าโขง

“คํ้าคูณ” หมายถึง เป็นมงคล หรือบังเกิดความสุขความเจริญ สิ่งใดที่มีแล้วเชื่อกันว่าจะนำมาซึ่งความเป็นมงคล ทำให้บังเกิดความสุขความเจริญแก่เจ้าของคนสองฝั่งแม่นํ้าโขงเรียก สิ่งนั้นว่า “เครื่องคํ้าของคูณ” ซึ่ง คุณพ่อ ปรีชา พิณทอง ปราชญ์แห่งเมืองอุบลราชธานีได้สาธยายเรื่องเครื่องคํ้าของคูณไว้ใน “สารานุกรมภาษา อีสาน-ไทย-อังกฤษ” ว่าเป็นสิ่งที่คนโบราณถือว่าใครมีไว้ในบ้านเรือนจะสมบูรณ์พูนสุขด้วยลาภยศ

บุญคูนลานเดือนยี่ : ทำนาปลูกข้าว บุญก็ได้หัวใจก็ม่วนซื่น

ครูคำมูนว่าคาถาตีข้าว อาคัจฉาหิ อภิชาตสหมมะ ว่า ๗ ครั้ง ตีข้าว ๗ หน จากนั้นเริ่มต้นคนแรก ใช้เครื่องมือจับมัดฟ่อนข้าวแล้วยกให้สูงเหนือหัว แล้วฟาดลงไปที่ลานข้าว ข้าวร่วงออกจากรวง ตีข้าวอยู่สองสามหนจนข้าวร่วงหมดจากมัดฟ่อนข้าวแล้ว คราวนี้ก็เป็นการโยนมัดฟ่อนข้าวไปเก็บกองไว้อีกที่ แล้วการละเล่นสนุกสนานก็เกิดขึ้น

“บักหุ่ง” – “ตำบักหุ่ง”

“บักหุ่ง ” พืชพื้นถิ่นแถบอเมริกากลางโน้นอพยพแพร่พันธุ์ไปทั่วโลก เพิ่งมาถึงเมืองไทยเมื่อยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์นี่เอง ครั้นเมื่อเดินทางถึงภาคอีสาน “บักหุ่ง” ผูกเสี่ยวกับปลาแดกแล้ว ไม่เคยแยกจากกันอีกเลย เป็นคู่ฮักแพงทุกมื้ออาหาร แถมเป็นของว่างได้ทั้งยามเช้ายันคํ่าคืนดึกดื่น

พุทธศาสนาเข้าสู่อีสาน…ในตำนานอุรังคธาตุ

ในดินแดนอีสานปัจจุบัน มีการนับถือศาสนาที่หลากหลาย เนื่องจากมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมจากต่างถิ่น เพราะศาสนาเหล่านั้นล้วนมีต้นกำเนิดจากแดนไกล ที่ไหลบ่าเข้ามาแทนที่และซ้อนทับศาสนาผีดั้งเดิมที่มีอยู่ในแผ่นดินอีสาน ศาสนาที่ปักหลักมั่นและแพร่ขยายอย่างกว้างขวางคือ “พุทธศาสนา” จึงเป็นที่น่าสนใจว่า ตั้งแต่ยุคต้นพุทธกาลจนถึงหลังจากพุทธปรินิพพานเมื่อกว่า ๒,๕๐๐ ปีก่อน ดินแดนอีสานและลุ่มแม่นํ้าโขงได้มีการซึมซับรับเอาพุทธศาสนาเข้ามาอย่างไร?

ผีตาโขน ผีตาขน ผีตามคน ผีตามใคร?

ถึงแม้ขบวนแห่ผีตาโขนจะเป็นแม่เหล็กดึงดูดคนจากทั่วสารทิศ ให้ไปเยือนอำเภอเล็ก ๆ ในหุบเขาอย่างด่านซ้าย จังหวัดเลย แต่สาระสำคัญที่แท้จริงของ “งานประเพณีบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขน”

ภูมิรัฐศาสตร์ภาคอีสาน และการลุกขึ้นสู้ของชาวอีสาน (๒)

การศึกษาทางภูมิรัฐศาสตร์ภาคอีสาน จะต้องมีความรู้ความเข้าใจภูมิศาสตร์พื้นฐาน ภูมิมิติหรือมิติทางพื้นที่ โดยจะต้องรู้ถึงที่ตั้ง ขนาดรูปร่าง เขตแดนตลอดจนลักษณะของพื้นที่ทรัพยากรธรรมชาติ ภูมิมิติต่าง ๆ ที่กล่าวถึงนี้ เป็นองค์ประกอบสำคัญที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง ผลทางเศรษฐกิจและวิถีชีวิตของผู้คนในพื้นที่

ภูมิรัฐศาสตร์ภาคอีสาน และการลุกขึ้นสู้ของชาวอีสาน

วิชาภูมิศาสตร์นั้นมีความสำคัญในเรื่องของความรู้เกี่ยวกับพื้นที่และบริเวณต่าง ๆ บนพื้นโลก พื้นที่หรือภูมิเป็นตำแหน่งของวัตถุในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งบนพื้นโลก ซึ่งมีเรื่องของเวลามาเกี่ยวข้อง และเวลาหรือกาลนี้เองที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ เรียกว่า มีความเป็นอนิจจังของพื้นที่นั้นเอง

[๖] ปาจิต อรพิม ในงานศิลปะ (๑)

จากเรื่องเล่าของชาวบ้าน สู่วรรณกรรมทางพุทธศาสนา และได้รับการบันทึกในรูปคำกลอน ทั้งโคลงทวาทศมาส ปาจิตตกุมารกลอนอ่าน และในรูปใบลานนิทานธรรม มีอิทธิพลผ่านการเล่าด้วยการบันทึกในรูปแบบตัวเขียน และการเทศนา ย้อนกลับไปสู่ชาวบ้านให้ได้รับรู้เรื่องราวนิทานพื้นบ้านของตนอีกครั้ง นอกจากการบันทึกในเชิงวรรณกรรมแล้ว ยังมีอีกรูปแบบของการบันทึกความประทับใจในตำนานปาจิตอรพิม ในรูปแบบงานศิลปะแขนงอื่น ๆ ทั้งภาพวาดฝาผนัง หรือที่ทางอีสานเรียกว่า “ฮูปแต้ม” ภาพวาดที่บานหน้าต่าง

หลวงพ่อพระมหาถาวร

ไม่ไกลจากสยามพารากอน ศูนย์การค้ากลางกรุง ท่ามกลางตึกและศูนย์การค้าทันสมัยของอาคารในยุคปัจจุบัน ยังมีสถานที่แห่งหนึ่งเป็นพื้นที่สีเขียวและเป็นสถานปฏิบัติธรรมกลางกรุงซึ่งเป็นพระอารามที่เคยเป็นสถานที่จำพรรษาของพระมหาเถรในฝ่ายกรรมฐานหลายรูป อย่างวัดบรมนิวาส วัดปทุมวนาราม
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com