Category

ศิลปวัฒนธรรม – ประวัติศาสตร์

ฮีต-คอง : อิ่มแล้ว…พาน้องไปเล่นวัด

อิ่มแล้ว...พาน้องไปเล่นวัด ประโยคนี้ให้สิ่งที่เป็นคุณค่าแก่คนอีสานมากกว่าอรรถหรือพยัญชนะ อิ่มแล้ว โดยอรรถหมายถึง อิ่มจากการรับประทานมื้อเย็น ซึ่งเป็นมื้อที่เย็นจริง ๆ คือ ข้าวไม่ร้อน เพราะยังไม่ถึงเวลาอุ่นข้าวเนื่องจากยังไม่เย็นมาก ... ยังไม่ถึงยามแลง-ยามงาย เป็นช่วงที่พ่อ-แม่ยังวุ่นอยู่กับงาน ยังไม่ถึงเวลาที่จะต้องหุงหาอาหาร เป็นการกินเพื่อรองท้อง มากกว่าจะกินเอาอิ่มเอาออกและสะท้อนให้เห็นว่า ภารกิจนำน้องไปวัดนั้นต้องใช้เวลา และใช้พลังงานมาก จึงต้องรองท้องให้มีแรงก่อน

“ด้ำ แถน กำเนิดรัฐไท” เป็นการสาวรกรากต้นตอคนไท|ไต|ลาว|สยาม|ไทย ผ่าน “สัญญปริศนา”

“ด้ำ แถน กำเนิดรัฐไท” เป็นการสาวรกรากต้นตอคนไท|ไต|ลาว|สยาม|ไทย ผ่าน “สัญญปริศนา” ในภาพชุดประติมากรรมบนฝากลองมโหรทึกและหม้อใส่เบี้ยของอาณาจักรเตียนในยูนนาน โดยอาศัยแนวคิดทฤษฎี “อรรถปริวรรตกรรม”

การปรากฏตัวของนักการเมืองคนกล้า กับฉากอำลาตำแหน่งนายกฯ ของพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา (๕)

ก่อนจะพูดถึงบทบาทของ ส.ส. อีสานรุ่นที่ ๒ จากการเลือกตั้งของประชาชนโดยตรง และเป็นกลุ่มนักการเมืองที่มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์การเมืองอีสาน และของประเทศไทย ควรจะทำความเข้าใจบทบาทชีวิตทางการเมืองของพันเอกพระยาพหลฯ นายทหารนักประชาธิปไตย เพื่อจดจำรำลึกถึงคุณูปการของท่านเพิ่มเติมจากที่เขียนไว้ในบทที่สี่

‘น้าสนับ’ เพื่อนทุกข์ยามยาก ตอนที่ ๔

แม่หวานก็เหมือนเตี่ยเถ๊า ที่แม้จะอยู่ในสภาพแวดล้อมแหล่งอบาย แต่ท่ามกลางกลิ่นคาวกามกลับแฝงและอบอวลด้วยปรัชญา แม่หวานมักพร่ำสอน ‘พี่’ เสมอว่า “พวกมึง คนเขามองว่าต่ำ ต้องทำตัวให้มันดีมึงไม่ได้ขอใครแดก มึงมาเพื่อหาเงินส่งพ่อแม่ เพื่อเลี้ยงครอบครัว ถ้ามึงไม่ทำตัวชั่ว มันไม่ใช่เรื่องชั่วหรอก”

ปรีชา พิณทอง ช่วยมองโลกมองชีวิต

ปรีชา พิณทอง ควรได้รับการยกย่องให้เป็น “บรมครู” หรือ“ปรมาจารย์” ด้วยประวัติและผลงาน ที่ได้สืบสานมรดกทางวัฒนธรรมด้วยการ “สืบทอด ถอดรหัส พัฒนา” ภูมิปัญญาอีสาน พ่อปรีชา พิณทอง เกิดที่อำเภอเขื่องในจังหวัดอุบลราชธานี เมื่อปี ๒๔๕๗ บวชเรียนตั้งแต่ยังเด็ก สอบได้นักธรรมตรี โท เอก ตั้งแต่เป็นสามเณร และสอบได้เปรียญธรรม ๙ ประโยครับผิดชอบเกี่ยวกับการศึกษาของสงฆ์ในจังหวัดได้รับสมณศักดิ์เป็น “พระศรีธรรมโสภณ” ก่อนจะลาสิกขาเมื่อปี ๒๕๐๕

บ้านปากอูน : จากหมู่บ้านปลาชุม (แต่ขาดข้าว) มาเป็นตลาดสดห้าดาว

บ้านปากอูนเป็นหมู่บ้านอันเป็นที่ตั้งของอำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ตั้งอยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำสงคราม ซึ่งเป็นแม่น้ำที่สำคัญที่สุดในแอ่งสกลนคร และเป็นแม่น้ำที่เคยอุดมสมบูรณ์ที่สุดของภาคอีสาน หมู่บ้านนี้จึงเคยเป็นหมู่บ้านที่จำหน่ายปลาสด ปลาแห้ง ปลาร้า ไปทั่วทั้งอีสานเหนือ และหลายจังหวัดในแอ่งโคราช

หอมข้าวละมุนที่นาบุญข้าวหอม

นาบุญข้าวหอมไม่ใช่ร้านกาแฟกลางทุ่งนา หรือทุ่งนามีกาแฟขาย แต่คือนาข้าวที่เราปลูกข้าวกันจริง ๆ เป็นข้าวอินทรีย์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

หญ้าคาหญ้าทิพย์จากสวรรค์

ยามเจ็บไข้ได้ป่วยชาวบ้านก็ค้นพบว่าส่วนของใบหญ้าคาสามารถนำมาใช้เป็นยาต้มอาบ แก้ผดผื่นคัน แก้ลมพิษ และแก้ปวดเมื่อยตามร่างกายได้เป็นอย่างดี

ความฮู้จากผู้เฒ่า เรื่อง ภาคอีสาน (๒)

ชาวอีสานทุกคนหรือเกือบทั้งหมดเกิดที่เรือนในบ้าน (หมู่บ้าน) ของตนโดยการทำคลอดของหมอตำแยหรือคนที่ใกล้ชิดกับแม่ เช่น พ่อ พี่ ป้า น้า อา เพื่อนฝูง ญาติพี่น้อง ฯลฯ

เบื้องหลังสิทุกข์ทน และขมขื่นจนเขียวคาว

กระบวนการทำนาหรือกระบวนการผลิต จะขึ้นอยู่กับฟ้าฝนและธรรมชาติแวดล้อมเป็นสำคัญ ความทุกข์ทนและขมขื่นในอดีตที่ผ่านมาของชาวนา มีปัจจัยพื้นฐานด้านธรรมชาติและโลกแวดล้อมรอบตัวชาวนาเป็นตัวกำหนดหลัก ไม่ใช่กลไกของ “ทุน” หรือ “การเมือง”

ฮีตคอง แผนที่ชีวิต เข็มทิศชุมชน

แผนอาชีพ คือ การทบทวนว่าอาชีพที่ทำอยู่ทำได้ดีแค่ไหน ใช้ความรู้ ใช้ข้อมูลอะไรบ้าง หรือทำตามคนอื่น หรือตามความเคยชินที่ทำ ๆ กันมาได้เรียนรู้เพื่อพัฒนาอาชีพให้ดีกว่านี้บ้างหรือไม่ ทำนาก็ได้แค่ ๓๐๐ กิโลต่อไร่ ไม่เคยคิดจะทำให้ได้สักตันต่อไร่เหมือนคนอื่นอีกหลายคนบ้างหรือ

ผู ชื่อเดิมของ เยวี่ย-เหล่า-ลาว-ไท (แปลว่าคน)

มีบันทึกจดหมายเหตุ(ที่เชื่อถือได้)ว่า เมื่อโจวอู่หวางทำสงครามล้มล้างเจ๊ดอ่อง (ในเรื่อง “ฮ่องสิน) ประมาณสามพันปีที่แล้ว พันธมิตรที่สำคัญเอ่ยชื่อไว้คือ คือ ชนเผ่าผู 獛 เผ่า สู่ (จ๊ก) 蜀 (ภาคกลางเสฉวน) เผ่า เชียง (หรือเกี๋ยง ภาคเหนือเสฉวน) นั่นแสดงว่า พวกผูต้องอยู่ไม่ไกลจากแม่น้ำเหลืองนัก

จ้วงเป็นบรรพบุรุษไทยหรือไม่?

จ้วงกับไท แยกกันอยู่ ตั้งแต่ยุคราชวงศ์โจว (ก่อนขงจื๊อ) แล้ว จีนเรียกดินแดนที่จ้วงอยู่ว่า ซีโอว กับ ลั่วเยวี่ย สองชื่อ เรียกดินแดนที่อยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ลงมาของลั่วเยวี่ยว่า เยวี่ยชาง

ตำนาน ความเป็นมา เมืองมุกดาหาร

ประวัติความเป็นมามีเรื่องเล่าขานกันมานานว่า ราวปี พ.ศ.1896 เจ้าฟ้างุ้ม แห่งเมืองล้านช้าง เป็นบุตรเขยกษัตริย์เมือง อินทะปัดได้พาลูกหลาน อพยพ ตามลำน้ำโขง ผ่านเมืองหนองคาย เมืองนครพนม จนถึงเขตเมืองมุกดาหาร แล้วเกิดเรือล่มที่บริเวณปากห้วยมุก ธิดาสาวทั้งสองคนซึ่งมีพระนามว่า พระนางพิมพา กับ พระนางลมพามา สิ้นชีพพิตักษัยจนกระทั่ง

ปริศนาตัวมอม (๕) จบ

ในล้านนามอม ถูกเปลี่ยนให้เป็นสัตว์พาหนะของปัชชุนนะเทวบุตร ผู้ให้ฝน พระพิรุณ ผู้ให้ฝน ทรงพาหนะ มกร (มะ กะ ระ ซึ่งเทวรูปที่เก่าแก่ที่สุดในอินเดียทำเป็นรูปจระเข้) ในสายพุทธมีการอ้างอิง มัจฉาชาดก เป็นต้น
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com