Category

ศิลปวัฒนธรรม – ประวัติศาสตร์

ชวนตะลึง! ลึงคบูชา ราชันย์ภิเษก (๒)

ห้องศิลป์อีศาน ฉบับที่แล้ว ผมเล่าเรื่องลัทธิบูชาเทวลึงค์ในฐานะที่เป็นบุคลิกภาพอันศักดิ์สิทธิ์ของกษัตริย์กัมพูชา ในยุครุ่งเรืองสมัย เมืองพระนคร (Angkor Period) ด้วยความเชื่อว่าความรุ่งเรืองของอาณาจักรขึ้นอยู่กับราชลึงค์อันสำคัญนี้ วิหารที่เก็บศิวลึงค์ต้องอยู่บนยอดเขา เป็นทำนอง “ภูเขาวิหาร” อาจเป็นภูเขาธรรมชาติ หรือจำลองขึ้นก็ได้ โดยตั้งอยู่กลางนครหลวง ที่ตรงนี้จะได้รับการเชื่อถือว่าเป็นแกนแห่งจักรวาล

หมอลำกับลำตัด คนละยุคคนละอย่าง

หมอลำ เป็นคำประสมระหว่าง หมอ กับ ลำ (หมอ แปลว่า ผู้ชำนาญ, ลำ แปลว่า การเปล่งเสียงและถ้อยคำเป็นทำนองอย่างเสรี มีความยาวไม่กำหนดตายตัว โดยเน้นถ้อยคำเป็นหลักมากกว่าทำนอง มักเล่นเล่าเรื่องเป็นนิทานตำนาน และเล่นโต้ตอบระหว่างหญิงกับชาย)

ชวนตะลึง! ลึงคบูชา ราชันย์ภิเษก

วันหนึ่ง ผมได้ชมภาพการแสดงแสงสีเสียง ชุด “บูชาเทวัญ ราชันย์ภิเษก เอกบูรพาปราสาทสด๊กก๊อกธม” จัดแสดงที่ปราสาทสด๊กก๊กธม อำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว เมื่อต้นปี ๒๕๖๑ ที่ผ่านมา เป็นผลงานภาพของคุณรวินท์นิภา อุทรัง ช่างภาพชาวสระแก้ว ที่ผมเห็นแล้วตื่นตาตื่นใจยิ่งนัก

ภาพจำลองอุตตรกุรุทวีปในพิธีศพชาวอีสาน

ประเพณีงานศพที่น่าสนใจในวัฒนธรรมชาวพุทธที่สะท้อนให้เห็นว่า เป็นการจำลองถึงพิธีศพอันเกิดในอุตตรกุรุทวีป อันเป็นดินแดนอุดมคติของมนุษย์ตามคติไตรภูมิ ที่จะนำมาเปิดผ้าม่านกั้งเรื่องราวการตายที่สัมพันธ์กับประเพณีของคนอีสานในครั้งนี้

อนุสรณ์รัฐธรรมนูญสุรินทร์

เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๙ พลเมืองชาวสุรินทร์และจังหวัดใกล้เคียงจากหลากหลายอาชีพ ได้ร่วมแรงร่วมใจกันสร้างอนุสาวรีย์รัฐธรรมนูญบริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดสุรินทร์ อันเป็นตัวอย่างหนึ่งของความตื่นตัวทางการเมืองและความกระตือรือร้นของพลเมืองอีสานที่จะเชื่อมโยงท้องถิ่นของตนเข้าสู่ระบอบใหม่

มุ่งสู่เมืองปาเล็มบัง เกาะสุมาตรา

ช่องแคบซุนดาในค่ำคืนเดือนมืด ๒ ทุ่มกว่า ไม่เห็นแม้กระทั่งริ้วคลื่น หากทว่าแสงระยิบระยับจากเรือบางลำที่ยังคงสัญจรผ่านน่านน้ำแห่งนี้ ขับเน้นให้ภาพอดีตของเมืองยุคเรืองโรจน์ปรากฏฉายโชน ก่อนอาณาจักรศรีวิชัยจะกุมอำนาจและเคลื่อนเส้นทางข้ามสมุทรเชื่อมโลกเข้าด้วยกัน จาก “ช่องแคบซุนดา” สู่ “ช่องแคบมะละกา”

การบูชา “ฟ้าหลวง พูราหลวง” ของไทอาหม

พิธีกรรมสวดพูราหลวงนี้เป็นพิธีสาธารณะที่มีการชุมนุมกัน สวดขับร่วมกัน เพื่อเป็นการแสดงความเคารพต่อฟ้าหลวงและเทพเจ้าทั้งปวงของชาวอาหม บางครั้งจัดขึ้นเพื่อเป็นการสวดต้อนรับบรรดาแขกคนสำคัญที่มาเยือนชุมชน และทำพิธีสวดเรียกขวัญ ให้พร กระทำพิธีขึ้นที่อาคารทรงแปดเหลี่ยมที่เรียกว่า “หอผี”

การส่งส่วยในภาคอีสาน

การส่งส่วย คือ การส่งภาษีของไพร่หลวงที่อยู่ห่างไกลเมืองหลวงให้รัฐบาลนั่นเอง ภาคอีสานมีความสำคัญต่อรัฐบาลมากที่สุดในการส่งส่วย เพราะมีเมืองที่ส่งส่วยมากที่สุดในประเทศ กล่าวคือมีถึง ๗๒ เมือง ในขณะที่ภาคกลางมี ๓๗ เมือง ภาคตะวันออก ๑๕ เมือง ภาคใต้ ๑๒ เมือง ภาคตะวันตก ๘ เมือง ภาคเหนือ ๖ เมือง (สุวิทย์ ธีรศาศวัต ๒๕๔๘:๑๒๖)

อมตะอีสาน ไม่รู้จบ

ผมเป็นคนอีสานที่เข้ากรุงเทพฯ ในยุคนี้ ยังสงสัยและคิดหาเหตุผลว่าทำไม บัตรประจำตัวประชาชนของเราก็บ่งบอกว่า เชื้อชาติสัญชาติไทย แต่ทำไมคนภาคอื่นจึงผลักไสให้เราเป็นลาว...

ศิวนาฏราช ณ พนมรุ้ง ขอท้าว่าไม่ควรพลาดชม

“ศิวนาฏราช” หรือ พระศิวะร่ายรำเป็นภาพที่ชาวฮินดูลัทธิไศวนิกายนิยมประดับไว้ ที่ศาสนสถานเพื่อยกย่องพระศิวะในฐานะเทพ ผู้ทรงอานุภาพทั้งสาม คือ ผู้ให้กำเนิดโลก ผู้ปกป้องคุ้มครองโลก และผู้ทำลายเมื่อโลกถึง ยุคเข็ญ การร่ายรำของพระศิวะทำให้โลก หมุนเวียนเปลี่ยนกาลเวลา เช่น เมื่อโลกก้าวสู่ สหัสวรรษใหม่ ชาวฮินดูอธิบายว่าเกิดจาก “ศิวนาฏราช” ซึ่งหากพระองค์ทรงร่ายรำใน จังหวะที่พอดีโลกจะสงบสุข แต่หากพระองค์ทรง ร่ายรำด้วยจังหวะร้อนเร่า รุนแรง โลกก็จะเกิดกลียุค…

พระพุทธรูปยืนทวารวดีในภาคกลาง (๑)

นักปราชญ์ท่านสรุปลักษณะสำคัญของพระพุทธรูปสมัยทวารวดี แบ่งออกเป็น ๓ ยุค คือ ๑. มีลักษณะของอินเดียแบบคุปตะและ หลังคุปตะ บางครั้งก็มีอิทธิพลของอมราวดีอยู่ ด้วย ลักษณะวงพักตร์แบบอินเดีย ไม่มีรัศมี จีวร เรียบเหมือนจีวรเปียก พระพุทธรูปนั่งจะขัด สมาธิหลวม ๆ แบบอมราวดี มีอายุในราวพุทธ ศตวรรษที่ ๑๒

ทางอีศาน ฉบับที่ ๓ – สัมภาษณ์ รศ.สีดา สอนศรี

"แล้วของเราเลิกโชวห่วย แต่ฟิลิปปินส์ไม่เลิกนะตั้งแต่สมัยดิฉันไปเรียนเขาก็มีห้างใหญ่ ๆ แล้วขณะที่ห้างใหญ่ ๆ ประเทศเราตอนนั้นยังไม่มีเลยพอเราไปเห็นก็ตกใจว่ามีอย่างนี้ด้วย อีกอย่างซื้อของก็ต้องไปรอต่อคิวทั้ง ๆ ที่ประเทศเรายังไม่มียังไม่รู้เรื่องเลย ประเทศเขาทำทุกอย่างตามคิวหมด เพราะเป็นระบบอเมริกัน ในขณะเดียวกันโชวห่วยก็ยังมีค่ะ มีตามหมู่บ้าน"

ขี้ข้าเขา : ชาติชั่วอย่างดี

ท่านบอกพวกเราว่าการศึกษาเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ถ้าเราอยู่ภายในห้องสี่เหลี่ยม แล้วมองผ่านช่องหน้าต่างหรือประตู เราก็จะเห็นภาพภายในกรอบประตูหรือหน้าต่าง แต่เมื่อใดที่เราออกจากห้องสี่เหลี่ยมนั้น แล้วมองไปโดยรอบ เราจะเห็นโลกทั้งโลก

เบิ่งนครพนม

เพลง เบิ่งนครพนม เสียงร้องของ ฉวีวรรณดำเนิน ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง(หมอลำ) ฝีมือการประพันธ์ของ สุรินทร์ ภาคศิริ ซึ่งถือว่าเป็นการร้องเพลงลูกทุ่งเพียงเพลงเดียวของราชินีหมอลำท่านนี้ และเพลงดังกล่าวครูสุรินทร์ได้รับอิทธิพลจากเพลง บ้านพนม ของเฉลิมชัย ศรีฤๅชา
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com