มงคลนิมิต สู่จิตทรรศน์ “ศตวรรษิกชน”
ณ วารกาลเถลิงศกใหม่ พุทธศักราช ๒๕๕๗ นี้ ขออำนวยพรดลบันดาลผู้อ่านทุกท่านได้บริบูรณ์ด้วยสุขสนุก สุขสบาย สุขสว่าง สุขสงบ สุขสง่า สุข เท่าทัน และอายุมั่นขวัญเพริศพร้อยเป็นร้อยปี กันอย่างถ้วนหน้าสืบไป องค์การสหประชาชาติได้นิยามไว้ว่า ประเทศใดที่มีประชากรอายุ ๖๐ ปีขึ้นไปในสัดส่วนร้อยละ ๑๐ หรืออายุ ๖๕ ปีขึ้นไป เกินร้อยละ ๗ ของจำนวนประชากรทั้งหมด ถือว่าประเทศนั้นได้ก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ
ประวัติศาสตร์ อีสาน – ล้านช้าง
ดินแดนอีสานเป็นพื้นที่ ๆ มีการพบแหล่งโบราณคดีทั้งก่อนประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์จำนวนมาก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอีสานเป็นดินแดนที่มีผู้คนอยู่อาศัยมาตั้งแต่อดีต ชุมชนต่าง ๆ ได้มีพัฒนาการต่อเนื่องจนเกิดเป็นรัฐ โดยมีแหล่งชุมชนโบราณจำนวนมากกระจายอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำชีและลุ่มแม่น้ำมูล โดยแบ่งเป็นกลุ่มวัฒนธรรมทวารวดีซึ่งนิยมทำคูน้ำคันดินเป็นวงรีหรือวงกลมรอบเมือง นิยมตั้งเมืองใกล้แหล่งน้ำเพื่อสะดวกในการชักน้ำเข้ามาเก็บในคูเมือง
จับตา ศาลโลกสั่งคดีปราสาทพระวิหารรอบ ๒
ประเทศไทยมีพันธกรณี...ถอนกำลังทหารหรือตำรวจ ผู้เฝ้ารักษาหรือผู้ดูแลที่ประเทศไทยส่งไปประจำอยูที่ปราสาทหรือในบริเวณใกล้เคียงปราสาทในดินแดนกัมพูชา (ข้อบทปฏิบัติการที่ ๒) เป็นพันธกรณีที่มีลักษณะทั่วไปและต่อเนื่องในการเคารพซึ่งบูรณภาพแห่งดินแดนของกัมพูชา โดยเส้นบนแผนที่ภาคผนวก ๑ ที่ศาลใช้เป็นพื้นฐานของคำพิพากษา
ประวัติศาสตร์อีสานโบราณ : อาณาจักรศรีโคตรบูร
ในตำนานพระธาตุพนมเล่าว่า "ในราว พ.ศ.๘ ศรีโคตรบูรตั้งเมืองหลวงอยู่ใต้ปากเซบ้องไฟ อยู่เหนือสุวรรณเขตประเทศลาว ครั้นต่อมาได้ย้ายเมืองหลวงมาตั้งอยู่เหนือธาตุพนม ในดงไม้รวกจึงมีนามว่า" มรุกขนคร "มีกษัตริย์ครองเมือง ๕ องค์ องค์สุดท้ายชื่อ พระยานิรุฏฐราช บ้านเมืองเลยเกิดวิบัติล่มร้างเป็นบึงและป่า
ผู้ใหญ่ลี เพลงอารมณ์ขันกับการเมืองในรูปพ่อขุนอุปถัมภ์
สำหรับในแง่เพลงลูกทุ่งแล้ว เพลงที่ล้อเลียนจอมพลสฤษดิ์ ก็มีในตอนท้ายของเพลง โกนจุก สิงโต ต้นฉบับของ เพลิน พรหมแดน ที่ ครูสุรินทร์ ภาคศิริ เป็นผู้แต่ง ได้หยิบวาทกรรมของจอมพลท่านนี้มาใส่ในบทเพลงแต่เพลงที่ล้อเลียนการเมืองค่อนข้างชัดเจนในยุคนั้นหนีไม่พ้นเพลง ผู้ใหญ่ลี เวอร์ชั่น ศักดิ์ศรี ศรีอักษร นักร้องลูกทุ่งเมืองอุบลราชธานี ผลงานเพลงของคู่ชีวิตของเธอเองคือ ครูพิพัฒน์ บริบูรณ์
ทำไร่ ทำนา ทำปลาจ่อม ทำปลาแดก
"เกลือที่เหมาะทำปลาแดกก็คือเกลือสินเธาว์ เพราะเป็นเกลือต้มสุกแล้ว ส่วนเกลือทะเลหรือ "เกลือบักเม็ก" ใช้ทำปลาแดกไม่ได้ เพราะเป็นเกลือไม่สุกทำให้บูดเน่า ที่เรียกว่า "ปลาแดก" เพราะสมัยก่อนจะเอาปลาใส่ในครกตำข้าวแล้วใช้สากซึ่งหุ้มด้วยอะลูมิเนียมเจาะรู "แดก" ลงไปหรือตำลงไปเบา ๆ ให้เกล็ดปลาหลุดออกแล้วจึงล้างน้ำและนำไปทำปลาแดก..."
กาลเวลาของชาวอีสานในอดีต
ชาวอีสาน เป็นกลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมอันเก่าแก่และสวยงามที่เรียกว่า กลุ่มชนวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำโขง หรือกลุ่มชนวัฒนธรรมไทลาว ซึ่งในอดีตเคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านช้าง เป็นกลุ่มชนที่มีมรดกทางศิลปวัฒนธรรมอันโดดเด่น เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ในการเรียกชื่อเวลาหรือนับกาลเวลา
นิทานตาแฮก
ตำนานตาแฮก เป็นนิทานพื้นบ้านอีสานประเภทนิทานอธิบายเหตุเพื่อจะตอบคำถามว่า ทำไมต้องไหว้ผีตาแฮกก่อนทำนา (ตาแฮก-ผีประจำไร่นา)
ຂບ ລຳ ລາວ ມາແຕໃສ ? “ขับ-ลำ”ลาว มาจากไหน ?
ເຕນຮຳ (ເຕນລຳ) เต้น รำ คำนี้คนไทยนิยมใช้ส่วนคนลาวไม่ใช้กันมาก มีแต่คนในเมืองที่ชอบไปม่วนชื่นในสถานบันเทิงใช้กัน มันเป็น คำประสมระหว่าง “เต้น ” ที่เป็น ภาษาลาว และ “รำ” ที่เป็น ภาษาแขมร์ เต้นรำก็คือการไปฟ้อน/เต้น ด้วยลีลาท่าทางตามเสียงเพลง (ไม่ใช่การเต้นแล้วลำ โอ่ยละนอ...ไปพร้อมกัน) คนลาวไม่รัวลิ้นเมื่อพูดตัว ร. ก็เลยพูดออกเสียงเป็นตัว ล.ลิง ว่า “ลำ” แทน
รำลึก อ่ำ บุญไทย “กฤดาการบนที่ราบสูง”
ดังเช่น “... (ง) สมัยอำนาจกษัตริย์ ผู้ชกเก่งต่อยเก่ง คิดเก่ง รบเก่งได้ตั้งตัวเป็นหัวหน้า ใช้หลักของผีหรือพระเจ้าและของศาสนาหรือศาสดาคุมกันเข้ากับแนวความคิดและประเพณีนิยมเป็นหลักกฎหมาย มีกษัตริย์เป็นผู้ปกครองอย่างพ่อใหญ่ดูแลทุกข์สุข มีข้าราชการแบ่งแยกงานไปช่วยทำแทนหูแทนตา...(จ) สมัยอำนาจประชาชน ต่อมาฝูงชนฉลาดขึ้น จึงเข้าช่วยคิดอ่านจัดการบ้านเมืองร่วมมือกับกษัตริย์ตามความต้องการของประชาชนเลือกตั้งผู้แทนเข้าออกเสียงแทนตน
รำลึก วันเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕
แนวคิดเศรษฐศาสตร์ในขณะนั้น ได้พัฒนาก้าวข้ามแนวคิดเศรษฐศาสตร์แบบเสรีนิยม ที่มองแรงงานว่าเป็นปัจจัยหนึ่งในกระบวนการผลิตแบบทุน หากแต่ได้นำเสนอมโนทัศน์ของแรงงานและราษฎร ในอีกลำดับขั้นของการพัฒนาที่เหนือกว่าและเป็นผลต่อเนื่องจากพัฒนาการในระบบทุนนิยมเอง เข้าสู่การเป็นเจ้าของและเป็นนายเหนือทุนและที่ดินเลย
วันที่ลงจากเตียงผิดด้าน
เจ้าสุนัขพิตบูล หัวใหญ่ หน้าทะเล้น ที่มักโถมเข้ามาชวนเล่นราวตอร์ปิโดทุกคราวที่พบกัน บัดนี้ตาเหลือกลาน ขาทั้งสี่ข้างเหยียดเกร็ง น้ำลายฟูมปาก นี่มันอดทนต่อฤทธิ์ของยาพิษนั่นตั้งแต่เช้าเชียวหรือ ภาพนั้นทำให้หัวใจฉันกระตุกวูบ ที่หัวตาไม่มีการกะพริบตอบสนองเมื่อยามเคาะ
คำของ ‘ท่านกูฏ’ อัตชีวประวัติ พงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา ตอนที่ ๓
ที่นี่ผมได้พบกับคนมีชื่อเสียงของจังหวัดอุบลราชธานี ถึง ๒ คน คนแรกคือ อาจารย์ไพบูลย์ สุวรรณกูฏ หรือที่คนในวงการศิลปะเรียก “ท่านกูฏ” ศิษย์รุ่นแรกของ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี และอีกท่านคือ ศิลปชัย ชาญเฉลิม หรือ “นายหนหวย” นักเขียน-นักหนังสือพิมพ์ และยังเป็นนักจัดรายการที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเนื่องจากท่านทั้งสองมาบวชที่วัดสุปัฏวนาราม และเป็นโอกาสดีที่ผมได้เป็นผู้รับใช้ใกล้ชิดท่านทั้งสอง
ผักกะแญง แรกแย้ม: อัตชีวประวัติ พงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา ตอนที่ ๑
ตอนเรียนอยู่ ม.๕ ไปหาซื้อของเร่ขาย ขายแป้งบาหยัน ขายสบู่ ร้องเพลงเลาะขาย สมเกียรติมาบอกแม่ว่า อ้ายพงษ์ไปเลาะขายของบ่ไปโรงเรียน แม่ใจหายวับเป็นห่วงลูก ย่านลูกเรียนบ่จบ ไอ้พงษ์มันแปลกบ่คือผู้ได๋ เกือบลูกบ่จบ ม.๖ อาจารย์เฉลิม สุขเสริมมาบอกแม่ว่า ลูกเจ้าบ่เข้าเรียนสิบ่ได้สอบ แม่ได้ขอครูให้ลูกสอบ ถึงบ่เข้าเรียนลูกกะบ่แม่นคนชั่วบ่มีนิสัยเกเร มันไปเรียนรู้ตามอารมณ์ของมัน ครูเลยให้สอบ ผลการเรียนออกมา ไอ้พงษ์สอบได้ที่ ๑
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านหนองบัวโคก อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์
ทางอีศาน 13: “พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านหนองบัวโคก เป็นพิพิธภัณฑ์ขนาดเล็ก เกิดขึ้นจากการสะสมเครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้านส่วนตัว มาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๒ ด้วยการขอบริจาค ขอซื้อ รวมทั้งขอแลกเปลี่ยนจากชาวบ้าน ในเขตอำเภอลำปลายมาศแล้วขยายไปตามพื้นที่ต่าง ๆ ตามโอกาสที่มี โดยใช้วิธีค่อยเป็นค่อยไป ไม่เร่งรีบสะสมแต่อย่างใด เมื่อเห็นว่ามีเครื่องมือเครื่องใช้พอสมควร สามารถจัดแยกหมวดหมู่ จึงได้เปิดให้ผู้อื่นมาชื่นชมได้”