Category

อีสานบ้านเฮา

เรื่องผี

พูดเรื่องผีแล้วยังพิสูจน์กันไม่ได้ว่า ผีมีจริงหรือไม่? แต่ถึงกระนั้นผู้คนก็ยังกลัวผีกันอยู่ไม่น้อย อย่างไรก็ตามผู้คนทางอีสานก็ยังมีประเพณีถือผีกันอยู่ เช่น พิธีผีหมอเหยาของชาวบ้านไทกะเลิง พิธีเลี้ยงผีของไทโส้ ที่เรียกว่า “แซงสะนาม” การรักษาผู้ป่วยด้วยการประกอบพิธีรำผีฟ้า การเลี้ยงผีมเหสักข์หลักบ้านก่อนถึงฤดูทำนา และการเลี้ยงผีตาแฮก เป็นต้น

กินสาหร่าย กินพลังงาน

เคยกินสาหร่ายไหมครับ ทําไมจะไม่เคยใส่ในแกงจืดไง ยำสาหร่ายแบบญี่ปุ่นก็อร่อยดีนะ ส่วนข้าวห่อสาหร่ายนั้นก็ไม่ใช่ของแปลกสำหรับคนไทยใน พ.ศ.นี้แล้ว อ้อ เห็นเขาว่าน้ำซุปแบบญี่ปุ่นก็ปรุงจากปลาแห้งกับสาหร่ายที่ชื่อ “คอมบุ”

สูตรใหม่

“เสี่ยว” คำนี้ถ้าแปลความหมายตาม ภาษา “ทางอีศาน” ก็หมายถึงเพื่อนร่วมสาบาน เพื่อนแท้ ที่คอยดูแลช่วยเหลือเกื้อกูลกัน บาง แห่งก็ว่าหมายถึง เพื่อนตาย คือ เพื่อนที่ยอม ตายแทนกันได้

กระดาษ ในยุค ๔.๐

ที่อยู่ตรงหน้าผมคือ กระดาษกองหนึ่งส่วนใหญ่เป็นจดหมายเวียนข่าวสารให้รับรู้ ยังมีเอกสารงานวิจัยทางขวามืออีกกองหนึ่ง ต้องอ่านให้เสร็จในสองสามวัน และนั่นถัดไป เป็นข้อสอบที่ออกเสร็จแล้ว รอการตรวจทานความถูกต้องอีกครั้งก่อนส่งไปทำสำเนา กองกระดาษเหล่านี้เพิ่มพูนขึ้นทุกวัน จดหมายเวียนอิเล็กทรอนิกส์นะหรือ มีไว้เพื่ออวดชาวโลกว่า เราก็ทันสมัยแล้วเราก็ใช้จริง ๆ ด้วย แต่ใช้ควบคู่ไปกับจดหมายเวียนที่เป็นกระดาษ

เรื่องข้าวที่เขา (ทองแถม) ไม่ได้เล่าให้ฟัง

คนไทยกินข้าวเป็นอาหารหลักมานาน นานจนอดนึกไม่ได้ว่า ตอนยังไม่เป็นคนไทยก็คงกินข้าวเหมือนกัน กินจนติดเป็นนิสัย กินอาหารอื่นมากเท่าใดก็ไม่รู้สึกอิ่มเหมือนกินข้าว นอกจากรู้จักกินข้าวแล้ว ดูเหมือนว่าเรารู้เรื่องราวของข้าวที่กินทุกมื้อทุกวันน้อยเหลือเกิน รู้บ้างก็กระท่อนกระแท่น ไม่ปะติดปะต่อ รู้จริงบ้างนิดหน่อย แต่ส่วนใหญ่รู้ไม่จริง

จันทน์เทศ ไม้ที่มีค่าควรเมือง

ไม้รู้จักจันทน์เทศหรือครับ ไม่แปลกอะไร คนไทยส่วนใหญ่ก็ไม่รู้จักไม่เคยเห็น ไม่รู้ด้วยซํ้า ว่าเอาไปทําอะไร กลิ่นเป็นอย่างไรก็นึกไม่ออก ใครบางคนบอกก็อยู่ในเครื่องแกงมัสมั่นไง โธ่ ก็มีเครื่องเทศตั้งหลายอย่าง แยกกลิ่นไม่ได้หรอก

สาวผู้ไทในนอร์เวย์ ปึ้มใหม่ของสำนักพิมพ์ “ทางอีศาน”

เรื่องราวเข้มข้นปนขันขื่นของสาวผู้ไทอุดรธานีกับวิศวกรหนุ่มใหญ่นอร์วีเจี้ยน และ “อิเบะ” ยายผู้หาญกล้าเคลื่อนโลกตนเองจากท้ายไร่อ้อยอีสานเหนือไปบรรจบป่าแครนเบอร์รี่บนภูสูงนอร์เวย์ จนถึงชายทุ่งเยอรมนี เพื่อเยี่ยมยามถามข่าวลูก หลาน เหลน

ผักดอง…ทําไมจึงดอง

เคยสงสัยไหมครับว่าผักสดก็มีออกถมไป ทำไมต้องกินผักดองตอบแบบไม่ต้องใช้อวัยวะระหว่างหูคิดก็ได้ว่า ก็มันอร่อยนะสิฝรั่งมีแตงดอง (pickled cucumber) กะหลํ่าปลีดอง (sauerkraut) เกาหลีมีกิมจิญี่ปุ่น จีน มีขิงดอง ผักกาดดอง มะเขือดอง เต้าเจี้ยว ฯลฯ เครื่องจิ้มของอินเดียที่เรียก ชัทนีย์ ก็เป็นผักผลไม้ดองแบบหนึ่ง ส่วนกับข้าวไทย ต้มจืด ผักกาดดอง แกงคั่วหน่อไม้ดอง (กับปูม้า หรือหอยแมลงภู่) ผักก็มีผักเสี้ยนดองจิ้มน้ำพริกกะปิ และอีกสารพัด พูดแล้วนํ้าลายไหล

เบอร์เดียวกัน

พ่อเฒ่ามินกับลูกเขยชื่อบักวินับว่าเป็นพ่อเฒ่ากับลูกเขยที่สวรรค์จัดมาให้ ถูกคู่กันจริง ๆ มีหลายเรื่องที่พ่อเฒ่ากับลูกเขยคู่นี้ ได้สร้างวีรกรรม หรือใช้วาทกรรมต่อกันให้ชาวบ้านได้ฟัง และครึกครื้นกันมาอยู่บ่อยครั้ง พ่อเฒ่ามินเป็นทนายความ วาทะหรือคารมคมคายก็ไม่ใช่ธรรมดา ปั้นนํ้าให้เป็นตัวก็ยังได้ส่วนบักวิผู้ลูกเขยมันเคยเป็นครูมาก่อน คารมครูวิก็ไม่ธรรมดาเหมือนกัน ครูสาวหลงคารมมันมานักต่อนักแล้ว

เลือกได้ตามใจเธอ

พ่อเฒ่านง มีลูกเขยชื่อว่าบักมี บักมีมันเป็นผู้หมั่นเฮ็ดเวียกเฮ็ดงาน ขยันพอสมควร ซึ่งกะเป็นที่พอใจของพ่อเฒ่านงหลาย ถือว่าลูกสาวเลือกผัวได้ถืกต้อง บ่ขี้คร้านคือลูกเขยผู้อื่นแต่ว่าบีกมีมันอยากเป็น คนหล่วง (ล่วงเกิน) แหน่จั๊กหน่อย มักสอดรู้ สอดเห็น พูดจาเสียดแทงกระทบคนนั้นกระทบคนนี้อยู่บ่อย ๆ แต่พ่อเฒ่านงก็ไม่ถือสา

หน่อไม้-ต้นไผ่ เรื่องไหนรู้จริง

แทบไม่มีคนไทยคนไหนไม่รู้จักต้นไผ่ เราล้วนเคยเห็นป่าไผ่ กระท่อมไม้ไผ่ ตะกร้าสาน ขลุ่ยไม้ไผ่ ตะเกียบไม้ไผ่ ซุปหน่อไม้ ฯลฯ จนคุ้นเคยแบบหลับตาก็นึกภาพได้ แต่เอาเข้าจริง สิ่งที่เราคิดว่ารู้เกี่ยวกับต้นไม้พื้นบ้านชนิดนี้นั้น จริงเท็จแค่ไหน หวังว่าเรื่องราวต่อไปนี้ คงช่วยตอบคำถามที่หลายคนไม่เคยคิดจะถามได้บ้าง

เขากินอะไรเป็นข้าวกัน

ในแต่ละมื้ออาหารปกติของคนทั่วโลก ต้องมีของกินที่เป็นหลักอยู่อย่างหนึ่ง สำหรับคนไทยแล้วของกินที่ว่านั้นคือ ข้าว แล้วคนชาติอื่นกินอะไร บางคนบอกฝรั่งกินขนมปัง แต่เอ คนแอฟริกากินอะไรเล่า ในยุคสมัยที่ร้านอาหารไม่ถูกจำกัดด้วยความเชื่อ

สถิติ

พ่อเฒ่าเสือเป็นคนเจ้าชู้เห็นสาว ๆ หรือแม่ฮ้างนางหม้ายมาอยู่ใกล้ ๆ มักจะมีเรื่องหยอก เรื่องแซว หรือหยิกแกมหยอกเขาอยู่เสมอ จนชาวบ้านให้ฉายาไปต่าง ๆ นานา บ้างก็ว่า “เฒ่าหัวงู” บ้างก็ว่า “เฒ่าบ่อยู่สมเฒ่า” หรือว่า “เฒ่าไก่แจ้” ก็เคยมี

สมุนไพรระงับปวด

“ปวด” คำ ๆ เดียวนี้ ทุกคนได้ยินเหมือนกัน แต่รับรู้ไม่เหมือนกัน คนส่วนใหญ่ไม่ชอบความเจ็บปวด แม้ว่าต้องพบเจอตั้งแต่เกิดจนตาย ความรู้สึกเจ็บปวดเป็นคุณสมบัติอันจำเป็น ที่ทำให้สัตว์ตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่อาจเป็นอันตรายต่อตนเอง ถ้าไม่มีความรู้สึกเจ็บปวดทารกที่เกิดมาคงอยู่รอดได้ไม่เกินหนึ่งวัน

จักรกฤษณ์ การะเกต

จักรกฤษณ์เป็นคน อ.นารอง จ.บุรีรัมย์ เขาเป็นศิลปินแนว Modern Impressionist และอดีตหมาด ๆ จากหน้าที่อาจารย์ประจำภาควิชาทัศนศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเป็นผู้ที่มีความผูกพันกับผืนป่ามรดกโลก อันประกอบไปด้วย เขาใหญ่ ปางสีดา ทับลาน ตาพระยา เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ ฯลฯ ดังนั้นผลงานทั้งหมดที่ผ่านมาจึงล้วนแต่ได้แรงบันดาลใจมาจากธรรมชาติ สัตว์ป่า ต้นไม้ ดอกหญ้า ภูเขา สายน้ำ หมู่เมฆ
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com