ไสว แกล้วกล้า : ผู้กล้าสร้างสีสันทุ่งกุลาร้องไห้
ลูกอีสานรักงานศิลปะ เรียนศิลปะ สอนศิลปะ และสร้างสรรค์งานศิลปะ ตามแบบฉบับของหัวใจ ใช้ชีวิตอยู่อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ เสาะหาวิถีชีวิตจิตวิญญาณของทุ่งกุลาร้องไห้ แล้วสร้างสีสันให้ปรากฏบนผืนผ้าใบ เป็นไปได้อย่างไรที่ทุ่งกุลาร้องไห้จะมีสีสัน
ยุทธศักดิ์ ลุมไธสงค์ “ศิลปินลูกอีสานผู้เรียบง่าย และรักธรรมชาติ”
ความรัก ความอบอุ่น การดำเนินชีวิตความรับผิดชอบในหน้าที่ของเด็กอีสานที่แฝงไว้ด้วยคุณธรรม ระเบียบวินัยในการดำเนินชีวิตประจำวัน การเอาตัวรอดในแต่ละวันจากรุ่นสู่รุ่นจากพ่อสู่ลูก วิถีชีวิตที่ดีงาม เรียบง่าย อยู่กับธรรมชาติ ซึ่งในปัจจุบันนั้นหาได้ยากเต็มที
พ่อครูทรงศักดิ์ ประทุมสินธุ์ ศิลปินเกียรติยศ โหวดเสียงทองเทวดา
พ่อครูเล่าที่มาของโหวดว่าแต่เดิมเป็นของเล่นของเด็กเลี้ยงควาย ยังไม่ถูกเรียกเป็นเครื่องดนตรี ใช้เล่นในช่วงปลายฤดูฝนก่อนเกี่ยวข้าว เป่าเล่นเพื่อความสนุกขณะที่เลี้ยงควายตามทุ่งนา และใช้แกว่งหรือเหวี่ยงเพื่อฟังเสียง ด้วยการต่อหางโหวดให้ยาวแล้วใช้เชือกคล้องหัวกับหางโหวด แกว่งให้หวดรอบศีรษะด้วยความเร็วสูงจะเกิดเสียงดังว่า “แงว ๆ” ฟังแล้วเกิดเสียงไพเราะ เรียกการแกว่งโหวดชนิดนี้ว่า “การแงวโหวด” ลักษณะของโหวดสมัยโบราณยังไม่มีความสวยงาม
พระอุปคุตปราบมาร
พระอุปคุต เป็นนามพระเถระที่มีบทบาทสำคัญ ในคติความเชื่อของคนในลุ่มแม่น้ำโขงพบว่า ในพิธีกรรมสำคัญทางพระพุทธศาสนาของชาวอีสาน เช่น งานบุญผะเหวด งานบวช งานกฐิน นิยมสร้างหอพระอุปคุตและทำพิธีนิมนต์ท่านมาร่วมในงานพิธี ด้วยคติความเชื่อที่ว่าท่านมีฤทธิ์มาก สามารถปราบมารไม่ให้มาก่อกวนในงานพิธีได้
ประวัติและที่มาทำไมต้องหาฤกษ์ก่อนทำกิจและพิธีกรรม
ในหมู่บ้านแห่งนี้มีหญิงหม้ายคนหนึ่งชื่อว่า แม่ฤกษ์งามยามดี นางเป็นคนสวยรวยเสน่ห์ นางไม่ใช่แม่หม้ายธรรมดาแต่เป็นแม่หม้ายทรงเครื่องก่อนสามีของนางจะตายได้ให้บุตรชายถึงสี่คนเอาไว้ดูต่างหน้า...
บ่อ!
“หักซ้ายหน่อยพ่อ” บักอี๊ดบอก พ่อเฒ่าอ่างก็หักซ้ายตามลูกเขยคนกรุงเทพฯบอก พอขับไปได้ระยะหนึ่ง บักอี๊ดบอก พร้อมกับใช้มือตบข้างกระบะรถ “ระวัง! ช้า ๆ หน่อยนะพ่อ !”
“มันมีหยังฮึบ่?”
“บ่อ” บักอี๊ดว่า
ปิดเล่ม ทางอีศาน 91
ในช่วงสามเดือนนี้ ธรรมชาติเกี่ยวกับน้ำผูกพันกับชาวไทย วัฒนธรรมโบราณของชาวไทยจึงมีเรื่องเกี่ยวกับน้ำมาก
แต่ก็เนื่องจากวัฒนธรรมไทยเปลี่ยนไป เรื่อย ๆ ที่เห็นเด่นชัดก็เรื่องการนับวัน เวลา เดือน ปี เมื่อเปลี่ยนมาใช้การนับปฏิทินตามสุริยคติ สากล การนับเดือนก็เปลี่ยนไป...เป็นการนับตาม ฝรั่ง
สายธารวัฒนธรรมเพื่อชีวิต
คำว่า “วัฒนธรรม” หรือมีผู้เสนอใช้คำ “พฤติธรรม” ที่ถอดมาจากคำภาษาอังกฤษ “Culture” ในส่วนงานวัฒนธรรมสมควรทำหน้าที่บำรุงเลี้ยงและกำกับสั่งงานการเมืองและงานความมั่นคงเสมือนหัวใจและสมองที่หล่อเลี้ยงและสั่งงานแขนขา รวมทั้งอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
นิตยสารทางอีศาน ฉบับที่ 91
นิตยสาร “ทางอีศาน” ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๙๑ ประจำเดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๒“นิตยสารรายเดือนของชาวอีสานและคนไททุกภูมิภาค”..ภาพปก โดย ยุทธศักดิ์ ลุมไธสงค์..เรื่องเด่นในฉบับ ฟ้าแดดสงยาง กว้างเท่าแผ่นฟ้า โดย ธีร...Read More
นวนิยายเรื่อง “ดอกขะเจียวจากโคกขี้แลน” กำลังเข้มข้นในนิตยสาร “ทางอีศาน”
อุดร ทองน้อย : ร่องรอยความฝันและอุดมการณ์
อำเภอกุดชุม ดินแดนนักคิดนักเขียน ปัญญาชนผู้มีอุดมการณ์ต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมในสังคมมาทุกยุคสมัย ความแล้งเข็ญของแผ่นดินสะท้อนถึงวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ให้หยัดอยู่ยืนยง