มะเขือในครัวไทย
โบราณว่าไว้ “ของดี ไม่กินก็เน่า เรื่องเก่า ไม่เล่าก็ลืม” เรื่องราวของมะเขือ พืชผักที่แสนธรรมดาในสายตาหลายคน มะเขือนานาชนิด เคยโดดเด่นอยู่ในถ้วยอาหารไทยทุกภาคถิ่น กลางและใต้ มีแกงเผ็ดใส่มะเขือ ยำเนื้อใส่มะเขือ ทางเหนือมีตำมะเขือส้ามะเขือ อีสานมีซุบมะเขือ มาถึงวันนี้ อาหารไทยสมัยใหม่มีมะเขือน้อยลง ทั้งชนิดและปริมาณ ด้วยเกรงว่าเรื่องของมะเขือในครัวไทยจะถูกลืม เอาละวันนี้เราจะมาคุยกัน…เรื่องมะเขือ
คนสร้างพิณ พิณสร้างคน โดยอาจารย์ทรงศักดิ์ ประทุมสินธุ์
คนสร้างพิณ พิณสร้างคน เยี่ยมชมการผลิตดนตรีพื้นบ้านอีสานของอาจารย์ทรงศักดิ์ ประทุมสินธ์
วิธีระงับโกรธ
เรื่องลูกเขยกับพ่อเฒ่านี่ เขียนมาหลายเรื่องพ่อเฒ่าก็โดนลูกเขยเล่นงานอยู่เสมอ ไม่รู้มันเป็นบาปกรรมของพ่อเฒ่ารึเปล่าก็ไม่อาจทราบได้ มีพ่อเฒ่ารายหนึ่งอ่านเรื่องพ่อเฒ่ากับลูกเขยในนิตยสาร “ทางอีศาน” มาหลายเรื่องจึงหาทางแก้เผ็ดลูกเขยบ้าง จะไม่ยอมให้ลูกเขยตัวเองมาสร้างวีรกรรม เหนือกว่าพ่อเฒ่าได้อีกต่อไป!
กิจกรรมงานสายธารวัฒนธรรมเพื่อชีวิตฯ ทัวร์วัฒนธรรมอีศาน ณ บ้านหัวงัว อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์
คำว่า “วัฒนธรรม” หรือมีผู้เสนอใช้คำ “พฤติธรรม” ที่ถอดมาจากคำภาษาอังกฤษ “Culture” ในส่วนงานวัฒนธรรมสมควรทำหน้าที่บำรุงเลี้ยงและกำกับสั่งงานการเมืองและงานความมั่นคง เสมือนหัวใจและสมองที่หล่อเลี้ยงและสั่งงานแขนขา รวมทั้งอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
คำว่า “เพื่อชีวิต” ไม่เพียงผูกโยงกับงานการเมือง แต่ครอบคลุมทุกองคาพยพทุกมิติของการขับเคลื่อนทางสังคม
ข ว ย จี ห ล่ อ
“แม่นไผ บักใด๋เข้ามาขุดจีหล่อในวัดน่ะ
บาปตกนรกหมกไหม้เด้อ บ่ได้ผุดบ่ได้เกิดเด้อ
สิบอกให้ หยุดเด้อ! บาป ๆ” พูดแล้วหลวงพ่อก็
รีบเดินเข้าหาคนขุดจีหล่อ!
พอหลวงพ่อเดินเข้าไปใกล้คนขุดจิ้งหรีด
จึงเห็นว่าเป็นบักแก้วผู้เป็นลูกเขย
“ที่ข่อยมาขุดจีหล่อนี่ก็จะเอาไปทอดมา
ถวายหลวงพ่อนี่ละ!”
คำเต็มของ ตม.
พันตำรวจโทคำแพง เป็นนายด่านตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) นครพนม ท่านมีลูกสาวสวย สิบตำรวจโทคำตา ประจำอยู่ที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองที่ทำงานดีมาก จึงมีโอกาสได้เป็นลูกเขยของพ่อเฒ่าพันโทคำแพงแบบไม่ยากนัก
ปีวอก
ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ “ทางอีศาน” จำนวนมาก มีความเชื่อในการดูดวงชะตาราศี รวมถึงพ่อเฒ่าขำด้วยพ่อเฒ่าขำแกเป็นคนเชื่อเรื่องโชคลาง มักจะไปดูดวงชะตากับหมอดู ที่เขาลือว่าดูแม่นเสมอ ๆ แม้ระยะทางจะห่างไกลไปหน่อย พ่อเฒ่าขำก็จะไปดูดวงให้ได้ โดยอาศัยขอแรงให้บักสีผู้ลูกเขยขับรถพาไปดูดวงอยู่บ่อย ๆ บักสีมันก็ต้องทนปฏิบัติตามใจผู้เป็นพ่อเฒ่าของมัน
ที่ บ้ า น ก็ มี
บักน้อยจอมกะล่อน มันว่างงานอยู่บ้านกับพ่อเฒ่านมสองต่อสอง
“พ่อเฒ่า...ช่วงนี้รถข้อยว่าง บ่ค่อยมีงานไปหากินเหล้า เว้าหยอกสาวน้อยกับข้อยบ่?” บักน้อยเอ่ย
“ไปกินอยู่ไสล่ะ” เข้าทางพ่อเฒ่านมอีกแล้ว
“ร้านหลบเมีย! ร้านนี้ลับตาคนดีมาก ผมเคยไปมาแล้ว มีสาวน้อยจากประเทศเพื่อนบ้านบางคนอ๊อฟได้เด้อ สิบอกให้...เฮามาพากันหลอยไป ดีไหม?”
เ ส า ห ลั ก ฮั้ ว
พ่อเฒ่าช้าง เป็นคนชอบดื่มเหล้าขาวและยาดอง แต่ละวันถ้ามีเพื่อนพ้องน้องพี่มาชวนก็เป็นต้องตอบสนองทันที หรือยามไม่มีใครชวนก็เป็นฝ่ายออกปากหาพวกเสียเอง เมื่อได้เพิ่มดีกรีเข้าไปหน่อย คำพูดความคุยก็เริ่มพรั่งพรูออกมา แต่ละคนในวงเหล้า จะมีเรื่องสัพเพเหระเล่าสู่กันฟัง บางเรื่องมีเนื้อหาสาระความรู้ บางคนก็เล่าเรื่องตลกขบขัน แกล้งกันในวงเหล้าก็เคยมี แต่ก็ถือเป็นเรื่องสนุกสนาน ไม่ถือสากัน แม้เป็นเรื่องโป้หรือคำหยาบบ้างก็ถือเป็นเรื่องปกติ
ข้ า ว จุ ก ค อ
สองพ่อลูกรักผูกพันกันมาก เนื่องจากลูกชายเป็นเด็กช่างพูด ถึงจะช่างพูดแต่ก็น่ารักสองพ่อลูกไปไหนมาไหนด้วยกันเสมอ ต่อมาวันหนึ่งพ่อชวนลูกชายไปเยี่ยมเพื่อนที่ต่างหมู่บ้านเพื่อนของพ่อดีใจมากถึงกับจับไก่มาเชือดทำลาบเป็นอาหาร แถมยังจับปลาในบ่อมานึ่งอีกต่างหากเมื่อได้เวลากินข้าว เพื่อนของพ่อพร้อมด้วยครอบครัว เชิญสองพ่อลูกให้กินข้าวด้วยกัน ผู้เป็นพ่อมีข้อบกพร่องประจำตัวที่แก้ไม่หาย นั้นคือเมื่อกินข้าวคราวใดมักจะเกิดอาการข้าวจุกคอ ทางเดียวที่ช่วยได้คือต้องกินนํ้ามาก ๆ
กินข้าวป่า (๒)
กินข้าวป่าครั้งนี้ นอกจากต้มปลา ปิ้งกบแล้ว ผมสนใจเรื่องปูนา เพราะเพื่อนคนที่ชวนพวกเรามากินข้าวป่า เขาถนัดเรื่องทำอาหารจากปูนามาก เริ่มจากพวกเราลงลุยนํ้า จับปูใส่ถังนํ้ามีปูอ่อน ปูแก่ ตัวเล็กตัวโตเอาหมด ได้ปูเยอะพอสมควร เราก็มาแยกปูออกล้างนํ้าให้สะอาด ปูอ่อนยังตัวนิ่ม ๆ สีขาว ๆ ส่วนปูไข่ตัวโตกระดองใหญ่ไข่เต็มท้อง ปูตัวขนาดกลางกระดองยังแข็งมากนักก็นำมาทำ “ตำปู”
ภูมิใจ
พ่อเฒ่าสีโห ผัวแม่เฒ่าสีกา ไทบ้านท่ามะโก มีลูกเขยชื่อว่า ทิดโท “บักทิดโท” มันเป็นคนดี มีสัมมาคารวะ อยู่ในกรอบของฮีตเก่าคองหลังบ่คือพ่อเฒ่าสีโห ซึ่งมีนิสัยมักม่วน หยอกผู้สาวสํ่าน้อย เว้าเล่นแกมอีหลี จนผู้คนชาวบ้านคึดว่าเรื่องมาจากปากพ่อเฒ่าสีโหนั้นเป็นความจริงไปทั้งหมด! ทั้ง ๆ ที่บางเรื่องไม่เป็นความจริงเหมือนที่แกว่าเลย
กินข้าวป่า (๑)
“กินข้าวป่า” เป็นธรรมเนียม ประเพณีของชาวอีสานมาแต่โบราณ “กินข้าวป่า” คือการนัดแนะเปลี่ยนบรรยากาศไปกินข้าวนอกบ้านโดยจะนัดแนะกันในหมู่เพื่อนฝูงหนุ่มสาว หรือกลุ่มญาติ ๆ ไปจนถึงชุมชน ซึ่งเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านมาแต่ดึกดำบรรพ์ ทำให้สังคมชุมชนได้มีโอกาสพบปะสังสรรค์ ร่วมกิจกรรมให้เกิดความสามัคคีผูกพันในหมู่คณะ ถ้าเปรียบสมัยนี้ก็เหมือนกับนัดกันไปกินข้าวนอกบ้าน หรือไปปิกนิกแบบชาวตะวันตก
การเดินทางสู่โลกของชาวนา ครัวเรือนชาวนา (๒)
ในงานวิจัยรางวัลโนเบลของนักเศษฐศาสตร์อย่าง เอลินเนอร์ ออสทอร์ม ที่มีบทที่พูดถึงการถือครองทรัพยากรของท้องถิ่นในแบบ “common property” อันเป็นแบบแผนเดียวกันของชาวนาในการตั้งถิ่นฐานและการถือครองกรรมสิทธิ ซึ่งปัญหาด้านการถือครองที่ดินนี้มักจะเป็นปัญหาขัดแย้งกับสังคมภายนอกที่มีระบบระเบียบกติกาที่แตกต่างไปจากโลกของพวกเขา ซึ่งเป็นที่มาของปฏิกิริยาทางสังคม-เศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในหลายกรณีเมื่อชาวนาต้องอยู่ร่วมกับโลกปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างต่อเนื่อง ความแตกต่างดังกล่าวได้สร้างความอึดอัดขัดแย้งและเกิดเป็นกรณีปัญหาขึ้นมากมายนำไปสู่การศึกษาวิจัยกันหลากมิติ
การเดินทางสู่โลกของชาวนา ก้าวแรกที่บ้านกระพี้
แม้สังคมทั่วไปในช่วงนั้นจะมองภาพของสังคมชาวนา/ชนบทในมิติเดียวด้วยทัศนะที่คับแคบ โดยสร้างวาทกรรมขึ้นพูดกันติดปากทั่วไปโดยเฉพาะจากคนของภาครัฐฯว่า “โง่ จน เจ็บ” ทั้ง ๆ ที่ลึก ๆ แล้วบรรดาข้าราชการอำมาตย์ทั้งหลายก็มีสภาพโง่/จน/เจ็บไม่แพ้ชาวนาเลย แถมหลาย ๆ คนมีการศึกษาขั้นโงหัวลืมตาอ้าปากชุบตัวผ่านระบบการศึกษาเล่าเรียนมาได้ ก็ด้วยหยาดเหงื่อแรงงานของพ่อ-แม่ที่เป็นชาวนา/เป็นเกษตรกรมาทั้งนั้น!