คำผญา (๘)

“งัวบ่กินหญ้าแสนสิข่มก็เขาหัก หมูบ่กินฮำแสนสิตีก็ดังเว่อ” วัวไม่กินหญ้าแม้จะกดเขาลงเขาก็หัก หมูไม่กินรำถึงจะตีจมูกก็แตกบาน

ทองกวาว/จาน ในมิติทางการแพทย์

ในฤดูฝนและฤดูหนาว ทองกวาวมีใบเขียว ดูกลมกลืนไปกับไม้อื่น ๆ รอบข้าง แต่ในตอนปลายฤดูหนาวต่อต้นฤดูแล้งเมื่อใบไม้ร่วง เป็นช่วงเวลาที่ทองกวาวมีสีสันสวยงามที่สุด โดดเด่นกว่าไม้ต้นอื่น ๆ ข้างเคียง ด้วยดอกสีส้มแดงอย่างที่เรียกว่า สีส้มอินเดีย (Indian orange) เต็มล้นกิ่งที่ปราศจากใบ การเป็นไม้ท้องถิ่นที่มีคนรู้จักดีเช่นนี้ น่าจะหมายถึงการมีคนรู้จักนำเอาส่วนต่าง ๆ มาใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลายด้วย

คำฉันท์ (4) วรรณลีลามรดกชาติ

เดิมทีกวีไทยมิได้ดัดแปลงฉันท์ในคัมภีร์วุตโตทัยให้เป็นฉันท์ภาษาไทยครบทั้ง ๑๐๘ ชนิด ต่อมานายฉันท์ ขำวิไล เป็นผู้ดัดแปลงเพิ่มเติม เป็นฉันทวรรณพฤติ เพิ่มจากที่ มหาสมณะเจ้า พระปรมานุชิตชิโนรส ทำไว้ ๕๐ ชนิด

ถวายบังคม มหาคีตศิลปิน

ขอพระองค์ทรงพระเจริญ ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า สมาชิกผู้อ่าน เครือข่ายเพื่อนมิตร และคณะผู้จัดทำนิตยสาร “ทางอีศาน” นายทองแถม นาถจำนง ผู้ประพันธ์

คําผญา (๑๙) “สุขทุกข์นี้ของกลางเทียมโลก บ่มีไผหลีกล้มลงหั้นสู่คน”

ความสุขความทุกข์เป็นสิ่งคู่กัน และก็เป็นสมบัติของโลก ใครเกิดมาในโลกนี้ต่างก็ได้รับความสุขความทุกข์กันทั่วหน้า โดยไม่มีใครหลีกได้พ้น มันเป็นความจริงที่มาก่อนความตาย สุขแล้ว ทุกข์แล้วจึงตาย บางคนอาจตายขณะที่อิ่มเอิบด้วยความสุข บางคนอาจตายขณะที่มีความทุกข์ทรมาน ความสุขความทุกข์เป็นสมบัติของทุกคน นับแต่ขอทาน ยาจกคนมั่งมีมหาเศรษฐี ฯลฯ

A song about a friend

ได้รับคำเชิญจากคุณ Marlena Zim ผู้อำนวยการของ Polish Vladimir Vysotsky's Museum เมือง Koszalin (city in north-western Poland, near the Baltic sea) ให้แปลบทเพลงบทกวีของ Vladimir Vysotsky's เป็นภาษาไทย ไปจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ และลงตีพิมพ์ในหนังสือซึ่งจะจัดพิมพ์ที่สหรัฐอเมริกาในปีนี้

คำฉันท์ (2) จากอินโด-อารยัน สู่สยามพากย์

เคยมีค่านิยมที่ผิดข้อหนึ่งว่า คำฉันท์ เป็นกวีนิพนธ์ที่สูงค่ากว่าบทกวีฉันทลักษณ์ประเภทอื่นค่าของกวีนิพนธ์เขามิได้วัดจากรูปแบบฉันทลักษณ์ ไม่ว่ารูปแบบฉันทลักษณ์แบบใด กระทั่งร้อยแก้วกวีนิพนธ์ – Poetic Prose ถ้าเขียนได้ถึง จริง ก็คือกวีนิพนธ์ที่ทรงคุณค่า

คำผญา (๑๕) : “ไผมีความฮู้หาเงินก็ได้ง่าย ไผฉลาดฮู้เงินล้านก็แก่นถง”

“ไผมีความฮู้หาเงินก็ได้ง่าย ไผฉลาดฮู้เงินล้านก็แก่นถง” ใครมีความรู้ก็หาเงินได้ง่าย ใครฉลาดรู้เงินล้านก็แน่นกระเป๋า

๓๖๕ น้ำพริกกับสวนรอบบ้าน – ๘. น้ำพริก ผกค. สูตร ๓ น้ำพริกส้มห้วยกับต้มหวายใส่ปู

ครั้งหนึ่งพักกินข้าวเที่ยงข้างห้วย เพราะแลเห็นกอหวาย มีกิ่งอ่อน ๆ เยอะ จึงก่อไฟต้มแกงกันสักหน่อย คนนึงไปตัดหวายมาปอก คนนึงไปหลก (ถอน ดึง) ตะไตร้น้ำ กับ ส้มห้วย อีกหลายคนพากันพลิกก้อนหินในห้วยเพื่อหาปูภูเขา

๓๖๕ น้ำพริก – ๑๗. น้ำพริกเต้าหู้พริกไทยอ่อน

พริกไทยเป็นอาหารที่เหมาะอย่างมากสำหรับคนธาตุเจ้าเรือนเป็นธาตุลม (พฤษภาคม-กรกฎาคม) ซึ่งจะช่วยป้องกันการเจ็บป่วยต่าง ๆได้ พริกไทยอ่อนช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ได้ดี นอกจากนั้นยังนิยมนำมาทำน้ำพริกพริกไทยอ่อน นิยมใช้พริกไทยอ่อนเป็นส่วนประกอบใน ผัดเผ็ด ผัดฉ่า แกงป่า น้ำพริกพริกไทอ่อน

คำฉันท์ (7) วรรณลีลามรดกชาติ เสียงตก

อำ ทำไมจึงเป็นลหุได้ เป็นครุก็ได้ แต่ อัม เป็นครุเสมอไป ความจริงก็คือ อำ เหมือนกัน จะว่าคำนิคหิตในภาษาสันสกฤตเป็นลหุก็ไม่ถูกต้อง เพราะความจริงเป็นครุในภาษาบาลีเหมือนกัน ถ้าถือรูปอักษรเป็นเกณฑ์ก็อาจจะว่าได้ว่าต่างกัน แต่เมื่อนิคหิตในภาษาบาลี-สันสกฤตก็เป็นครุด้วยกันแล้ว จะอ้างคารมรูปอักษรก็ไม่ได้

ผักหวานบ้าน-ผักหวานป่า

ผักหวานของคนในกรุง กับผักหวานของคนชนบท เป็นไม้คนละชนิดกัน เพื่อมิให้สับสนชาวกรุงจึงเรียกผักหวานแบบดั้งเดิมที่พวกเขารู้จักว่า ผักหวานบ้าน และเรียกผักหวานของชาวชนบทว่า ผักหวานป่า ส่วนชาวชนบทยังคงเรียกผักหวานของเขาเช่นเดิม ไม่รับรู้ทั้งผักหวานบ้าน และผักหวานป่า

ยาพิษแสลงใจ

มนุษย์รู้จักยาพิษ และใช้มันเพื่อปลิดชีพตนเองหรือผู้อื่นมานานนับพันปี ในฐานะที่เป็นเครื่องมือในการฆาตกรรม ยาพิษมีข้อได้เปรียบคือ ไม่เปิดเผย ไม่ร้องเตือน และอาจไม่ทิ้งร่องรอย การประกอบยาพิษและการวางยาพิษ เป็นศิลปะที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญ และรอคอยเวลาที่เหมาะสม แต่กว่าเหยื่อจะรู้ตัว ฆาตกรก็เผ่นหนีไปไหนต่อไหนแล้ว หรือไม่ก็แสร้งร้องไห้คร่ำครวญอยู่ข้างศพผู้ตายนั่นเอง

กลอนลำฮีต-คอง ประเพณีเดือนสิบเอ็ด

ความโอ่ : โอ่จักหน่อยเถาะยกนี้ให้น้องนี้พี่ฟังเสร็จ ประเพณีเดือนสิบเอ็ดแม่นบุญออกพรรษาสิ้นปวารณาครบไตรมาสสามเดือน จุดประทีปธูปเทียนในมื้อขึ้นสิบห้าคํ่าฟังธรรมพร้อมโอ่ละนอ...นวล ๆ เอย

แกงขี้เหล็กสูตรกวย (เขมร)

ระหว่างต้มใบขี้เหล็กต้องแช่ข้าวสารจ้าวสักครึ่งถ้วยจนข้าวแตกพอง นุ่มน้ำ เรียกว่า “ข้าวเบือ” แล้วเอาข้าวเบือมาตำรวมกับใบย่านาง ตำให้แหลก ตำให้ละเอียด เข้ากันอย่างดี ถ้ามีเครื่องปั่นก็ใส่น้ำปั่นเอาเลย ตำแหลกละเอียดแล้วก็นำมาละลายในน้ำ กวนๆคนๆแล้วกรองเอาแต่น้ำไปใส่หม้อขี้เหล็กที่ตำแล้ว

คำฉันท์ วรรณลีลามรดกชาติ (44) สมุทโฆษคำฉันท์ (32)

พวกพราหมณ์บูชาไฟ มีมาก่อนตั้งกรุงศรีอยุธยาที่หนองโสน(เวียงเหล็ก)แล้ว บริเวณที่พระเจ้าอู่ทองทรงสร้างราชธานีใหม่นั้น อยู่ใกล้สำนักนักพรต ชาวบ้านเรียกว่า ชีกุน คำนี้เพี้ยนมาจากคำว่า ชีกุณฑ์ แปลว่านักบวชผู้บูชาไฟ คือพราหมณ์นั่นเอง
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com