ปัญจอันตรธาน : สาระสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามในงานบุญผะเหวด

#ปัญจอันตรธาน
: สาระสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามในงานบุญผะเหวด

…บุญผะเหวด ไม่ใช่งานบุญที่เน้นเนื้อหาเรื่องการสร้างทานบารมีเท่านั้น เพราะทุกชาติพระโพธิสัตว์ต่างทรงบำเพ็ญบารมี ๑๐ อย่าง เรียกว่า “ทศบารมี”

…การจำแนกเรื่องราวในทศชาติแบบแยกส่วน ว่ามีการบำเพ็ญบารมีแต่ละอย่างในแต่ละชาติ เช่นว่า บำเพ็ญปัญญาบารมีในชาติที่เป็นพระมโหสถ บำเพ็ญวิริยะบารมีในชาติที่เป็นพระมหาชนก เหล่านี้เป็นภาพจำที่ถูกตอกย้ำในการรับรู้ของคนในปัจจุบัน

…”ทศชาติ” เป็นเรื่องราวในอดีตชาติที่พระพุทธเจ้าแสดงไว้ยาวที่สุด ๑๐ ชาติ ในบรรดาชาดกทั้ง ๕๔๗ ชาติ

…ทั้ง ๑๐ ชาตินี้จึงถูกเรียกว่า “มหาชาติ” ซึ่งไม่ได้เรียกเฉพาะเรื่องเวสสันดรชาดก

…บ้านท่าม่วง มีหนังสือก้อม ระบุถึงการทำบุญ ๑๐ ชาติ แสดงว่าการจัดเทศน์ชาดกทั้ง ๑๐ ชาติ เคยมีมาแล้วในชุมชนอีสาน

…ชาดกถูกเล่าขานในชุมชนพุทธเพื่อเป็นนิทานสอนธรรมโดยอาศัยพฤติกรรมของพระพุทธเจ้าเป็นแบบแผนการดำเนินชีวิต

…แต่ชาดกมีความพิเศษในชุมชนที่นับถือพุทธศาสนาเถรวาทจากลังกา ในฐานะที่เป็นเครื่องยืนยังความเป็น “ชุมชนพุทธที่สมบูรณ์” โดยเชื่อมโยงกับคติเรื่อง “ปัญจอันตรธาน” ที่ว่า ในช่วง พ.ศ.๒๐๐๐ ถึง พ.ศ.๓๐๐๐ การทรงจำชาดกจะเสื่อมไปจนไม่มีคนทรงจำได้

…หมายความว่า ถ้าชุมชนใดไม่มีการทรงจำชาดกได้แล้ว พุทธศาสนากำลังเสื่อมทรามจากชุมชนนั้น

…ดังนั้น การเลือกเอา “เวสสันดรชาดก” ซึ่งเป็นชาดกที่มีเนื้อหายาวที่สุด มาเล่าซ้ำทุกปี จนเกิดประเพณีเทศน์มหาชาติ หรือ บุญผะเหวด จึงเป็นการยืนยันว่า ตั้งแต่ พ ศ. ๒๐๐๐ เป็นต้นมา ชุมชนนี้ยังมีพุทธศาสนามั่นคง ก่อนเสื่อมลงอีกใน พ.ศ.๓๐๐๐

…แต่ด้วยความไม่เข้าใจถึงวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของบุญผะเหวด จึงมีการการตัดทอนเนื้อหา ตัดทอนคาถาพัน เสริมแต่งส่วนที่เป็นมายา เน้นเพื่อความบันเทิง หรือ เน้นว่าเป็นการทำบุญสุนทรทาน ปรากฏการณ์เหล่านี้กลับกลายเป็นเครื่องยืนยันว่า “พุทธศาสนา” ได้เสื่อมทรามจากชุมชนนั้นไปแล้ว เพราะการทรงจำชาดกที่ผิดเพี้ยน ตามคติปัญจอันตรธาน

…………
เคยเขียนเผยแพร่ไว้ ติดตามได้จาก
คอลัมน์: เปิดผ้าม่านกั้ง
Column: Open the curtains before the show

นิตยสาร “ทางอีศาน” ฉบับที่ ๔๗
ปีที่ ๔ ประจำเดือนมีนาคม ๒๕๕๙

Related Posts

จากใบชาถึงใบเมี่ยง
ฮูปแต้มวัดขอนแก่นเหนือ
เส้นทางวัฒนธรรมคืออะไร [๒]
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com