ดอกขะเจียวจากโคกขี้แลน ตอนที่ 8
“วันนี้ใช้อาวุธปืนล่าเมืองขึ้น ดาบนี้จะสู้ปืนได้หรือครู?” จารย์แก้วถาม
“สมัยปู่สังกะสา ย่าสังกะสี มือกำดาบออกต้านผู้รุกราน สมัยนี้มือถือปืนรุกรานเข้ามา เป็นผีซ้ำด้ำพลอย สุดจะหยั่งความคิดคน เมืองญวน เมืองเขมรมันก็เอาไปแล้ว ดินแดนข่ามันก็รุกเข้ามาทุกวัน แล้วเอ็งยังจะคิดว่าพอจะสู้พวกมันได้มั้ย?”
ข้างหลังภาพ…ฮูปแต้มม้าวัดไชยศรี
“นี่มันม้าพื้นบ้านชัด ๆ”
หลังพิศดูลักษณะจนคิดว่าใช่แน่แล้วหัวใจของฉันก็พองฟู แล้วรู้ได้อย่างไรว่าม้าในฮูปแต้มน่ะ ไม่ใช่ม้าเทศที่นำเข้ามาจากแดนไกล? ขอเรียกว่าข้อสันนิษฐานก็แล้วกัน อันดับแรกดูที่ส่วนสัดความสูง ม้าพื้นเมืองจะมีความสูงไม่มาก
ในวันที่ฉันหลับตาฟังภาษาของนก
ตลอดเวลาทั้งวันจิบฝันเถิด
คฤหาสน์ดูโปร่งเปิดหลังคาเขียว
หอมกลิ่นเกสรแก้วมาแล้วเชียว
ลมหายใจใบเลี้ยงเดี่ยวยังงดงาม
บทบาทของท้าวพมแห่งอัตตะปือ ในการช่วยเจ้าฟ้างุ่มรวบรวมดินแดนล้านช้าง
กองทัพของเจ้าฟ้างุ่มยกขึ้นไปจากอาณาจักรพระนครหลวง จะต้องผ่านดินแดนลาวใต้ก่อน ข้อมูลประวัติศาสตร์ช่วงนี้ ยังมีน้อยในเอกสารภาษาไทย ข้าพเจ้าจึงปริวรรตถ่ายคำข้อมูลเหล่านี้จากเอกสารภาษาลาว “ปะวัดติสาด และกานเคื่อนไหวปะติวัด อัตตปือ” เขียนโดย ท่านบุนทัน จันทะกาลี หน้า ๔๕ - ๔๘ ดังต่อไปนี้
พิณ แคน ซอ โปงลาง โหวด
พิณ แคน ซอ โปงลาง และโหวด เป็นดนตรีพื้นเมืองอีสานที่ใช้บรรเลงประกอบกับการละเล่นต่าง ๆ มีบทบาทเป็นที่นิยมของคนทั่วไปโดยเฉพาะ “แคน” ถูกยกให้เป็น “ราชาแห่งดนตรีพื้นเมืองอีสาน” “พิณ” เป็น “ราชินีแห่งดนตรีพื้นเมืองอีสาน”
กลอนบทละคร (๒)
เจ้าสตรีที่แต่งเรื่องอิเหนาและดาหลังในสมัยอยุธยาคือ เจ้าฟ้ากุณฑลและเจ้าฟ้ามงกุฎ พระราชธิดาของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ดูจากคำกลอนข้างต้น ก็น่าจะคิดว่า เรื่องอิเหนาและดาหลังที่ทรงแต่งไว้นั้นเป็นบทละคร และต้องแพร่หลายเป็นที่นิยมมาก