ซ่างแต้มฮูป อีสาน ล้านนา สู่อารยธรรมสุวรรณภูมิ
ฉบับนี้ศิลปะนำชีวิตจะขอนำท่านผู้อ่านมารู้จักกับช่างวาดชาวอีสานย้ายถิ่นฐานไปอยู่ล้านนาไปตามหาความงามแห่งสุนทรียรสเลาะเลียบประเทศเพื่อนบ้าน เป็นซ่างแต้มฮูปตามภาษาอีสาน หรือภาษาทางนครหลวงเวียงจัน นครหลวงพระบาง หรืออีกหลายแขวง ภาษาก็คือ ๆ คล้าย ๆ อีสานบ้านเฮานี่แหละครับ
ปราชญ์แห่งอินแปงบอกว่า “เมืองไทยเป็นเมืองมั่งคั่งที่สุดในโลก”
“คำพูด คำด่าของเขา มันเป็นการหากินของเขา ไปถ่ายภาพก็ไปถ่ายเอาตรงที่แห้ง ไปถ่ายตรงที่มีคนยากจน แต่จริง ๆ แล้วอีสานคือเมืองสวรรค์ของประเทศไทย ไม่หนาวเกินไป ไม่ร้อนเกินไป น้ำไม่ท่วมเกินไป ซึ่งพอดี พองาม ภาคใต้น้ำท่วมเหนือก็หนาวมาก อีสานเราพอดี มีปัญหาแต่น้อยมาก แต่กลับถูกคนมาบอก อีสานแล้ง เราก็เลยเชื่อเขา แต่จริง ๆ ไม่ได้แล้ง มันแล้งตรงไหน”
ปมด้อย
ระบบการเมือง การปกครองและโดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบการศึกษาที่นักเรียนทุกคนต้องฟัง พูด อ่าน และเขียนด้วยภาษาไทย ทำให้ภาษาที่ยิ่งใหญ่อย่างภาษาลาวกลายเป็นภาษาระดับชาวบ้านเท่านั้น ไม่ใช่ภาษาในระดับราชการ แม้แต่ละกลุ่มชาติพันธุ์จะมีภาษาของตนเอง ทุกกลุ่มชาติพันธุ์ต้องอ่อนข้อให้แก่ภาษาไทย จนถึงขั้นอับอายที่จะพูดภาษาของตนเองในท่ามกลางสาธารณชนและกลายเป็นปมด้อยไปในที่สุด
ความยั่งยืนและเป็นธรรม ของการจัดการน้ำขนาดเล็ก
นานเหลือเกินกว่าคนในสังคมแห่งนี้จะคิดขึ้นมาได้บ้างว่า ที่เราสร้างบ้านแปงเมืองกันมาจนเจริญรุ่งเรืองได้ขนาดนี้ การทำนาอย่างเช่นในภาคอีสานนี้ก็ด้วยการทำนาน้ำฝน ด้วยชลประทานขนาดเล็กของชุมชน ทำขึ้นมาด้วยสมองและมือของชาวนาตัวเล็ก ๆ ถึงปัจจุบันก็ยังคิดเป็นร้อยละ ๙๕ ของพื้นที่
เกษตรอินทรีย์ ฟื้นชีวิตเกษตร กอบกู้โลก
นอกจากข้าวอินทรีย์ราคาสูงกว่าข้าวทั่วไป ๑๐-๑๕ % เกษตรกรยังได้ผลดีหลายด้าน หลังพ้นระยะปรับเปลี่ยน ๓ ปีไปแล้วดินจะฟื้นฟูสภาพ ผลผลิตสูงกว่าเดิมต้นทุนผลิตลดลง สิ่งแวดล้อมในนา กบ เขียด ปู ปลา ก็กลับคืนมา ค่าใช้จ่ายครัวเรือนลดลงสุขภาพคนทำเกษตรอินทรีย์ดีขึ้น ความเป็นครอบครัวก็กลับคืนมาด้วย
การเดินทางสู่โลกของชาวนา ครัวเรือนชาวนา (๒)
ในงานวิจัยรางวัลโนเบลของนักเศษฐศาสตร์อย่าง เอลินเนอร์ ออสทอร์ม ที่มีบทที่พูดถึงการถือครองทรัพยากรของท้องถิ่นในแบบ “common property” อันเป็นแบบแผนเดียวกันของชาวนาในการตั้งถิ่นฐานและการถือครองกรรมสิทธิ ซึ่งปัญหาด้านการถือครองที่ดินนี้มักจะเป็นปัญหาขัดแย้งกับสังคมภายนอกที่มีระบบระเบียบกติกาที่แตกต่างไปจากโลกของพวกเขา ซึ่งเป็นที่มาของปฏิกิริยาทางสังคม-เศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในหลายกรณีเมื่อชาวนาต้องอยู่ร่วมกับโลกปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างต่อเนื่อง ความแตกต่างดังกล่าวได้สร้างความอึดอัดขัดแย้งและเกิดเป็นกรณีปัญหาขึ้นมากมายนำไปสู่การศึกษาวิจัยกันหลากมิติ
“สุรวิทยาคาร” คู่สุรินทร์
พลิกดูประวัติของชาวสุรินทร์ที่มีชื่อเสียง มีผลงานสร้างสรรค์ความดีงามไว้ให้สังคมไทยมากมาย ล้วนจบการศึกษาจากโรงเรียนสุรวิทยาคาร ร้อยกว่าปีที่ก่อตั้งโรงเรียนนี้ขึ้นมา ผู้บริหารและคณาจารย์ร่วมกันพัฒนาการศึกษา อบรมนักเรียน สร้างทรัพยากรชั้นนำจำนวนมากให้แก่ประเทศไทย ล่าสุด (ธันวาคม ๒๕๕๕) โรงเรียนสุรวิทยาคาร จัดเป็นโรงเรียนที่ดีเด่นอันดับที่ ๗๑ ของประเทศไทย หมุดหมายสำคัญของโรงเรียนสุรวิทยาคารมีย่อ ๆ ดังนี้