เชิญร่วมงานใหญ่ประจำปีของมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร งานมหกรรมภูมิปัญญาพื้นบ้าน มูนมังอีสาน ครั้งที่ ๑๑
“ข้าว - ปลา - ป่า - เกลือ”
ระหว่างวันที่ ๓๐ มกราคม - ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ ชมนิทรรศการ ฟังเสวนา ทัศนาการแสดงหลากหลาย ซื้อผลิตภัณฑ์และอาหารจากชุมชน ฯลฯ เฉพาะวันศุกร์ ที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๖๓
เชิญร่วมงานมอบรางวัล “ศิลปินภูพาน" และชมการแสดงของอ”หมาเก้าหาง"
[๑๐] ถํ้าเป็ดทอง และจารึกปฏิวัติ
ถํ้าเป็ดทอง อยู่ในเส้นทางขันหมาก หากเราศึกษาในระดับตำนาน ก็จะได้เพียงเรื่องเล่าที่ดูเหมือนไม่มีมูลความเป็นจริง ที่ว่าเป็นสถานที่ที่พระปาจิตนำส่วนหนึ่งของขันหมากคือ เป็ดทองมาไกลถึงที่แห่งนี้ เพราะอยู่ในเขตลำนํ้ามาศเหมือนกันกับ ลำปลายมาศ และบ้านกงรถ แต่เมื่อได้เดินทางไปสำรวจ ศึกษาเอกสาร และสถานที่ในบริเวณนี้กลับกลายเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญด้านโบราณคดีในระดับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะเป็นที่ตั้งของร่องรอยประวัติศาสตร์และโบราณคดีของการตั้งถิ่นฐานก่อนสมัยนครวัด
คำผญา (๑๘)
“ความตายนี่แขวนคอทุกบาดย่าง
ไผก็แขวนอ้อนต้อนเสมอด้ามดั่งเดียว” ความตายนี้แขวนคอทุกย่างก้าว
ใครก็แขวนไว้เสมอว่าเป็นสิ่งเดียวกัน
จาก “หมา” สู่ “สิงมอม” ?
คติความเชื่อของชนในตระกูลภาษาไท กะได เกี่ยวกับ “ข้าว” เชื่อกันว่า “หมา” (สุนัข) เป็นผู้นำเมล็ดพันธุ์ข้าวมาให้มนุษย์ ชาวจ้วง (ในกวางสี) มีนิทานเรื่อง “หมาเก้าหาง” เล่าว่า หมาเก้าหางไปขโมยเมล็ดพันธุ์ข้าวจาก “ตัวฟ้า” (โตเปี๊ยะ ในภาษาจ้วง) “ตัวฟ้า” ใช้อาวุธ (สายฟ้าผ่า) ขว้างใส่หมาเก้าหาง สายฟ้าผ่าตัดหางหมาไปแปดหาง แต่หมาเก้าหางรอดชีวิต นำพันธุ์ข้าวที่ติดมากับหาง (ที่ยังเหลืออยู่หนึ่งหาง) มาให้มนุษย์ มนุษย์จึงปลูกข้าวกินได้