จดหมายจากผู้อ่าน

นิตยสาร “ทางอีศาน” ฉบับที่ ๒๔
ปีที่ ๒ ประจำเดือนเมษายน ๒๕๕๗
ฉบับ “ครบรอบ ๒ ปี”


สวัสดีครับ บก.ทางอีศาน ที่เคารพ

ผมได้มีโอกาสเดินทางไปจังหวัดนครพนมเพื่อสักการะพระธาตุพนม และพระธาตุบริวารอื่น ๆ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต เนื่องในวันมาฆบูชาที่เวียนมาถึง และมีการบูชาพระธาตุพนมในวันขึ้น ๑๕ คํ่า เดือน ๓ ของทุกปี ผมเลยแต่งกาพย์ฟ้อนบูชาพระธาตุพนม เพื่อให้เข้ากับบรรยากาศ โดยกาพย์นี้สามารถนำไปร้องรำได้จริงโดยใช้ทำนองผู้ไทในการขับลำนำบูชาพระธาตุ เพื่อทางกอง บก. พิจารณาว่ามีประโยชน์ต่อการเสริมสร้างภูมิปัญญาและรักษารากเหง้าเค้ากกของไทยอีสานเอาไว้ให้ได้ฮักแพงกันตลอดไปแล้ว หรือไม่ประการใด จักเป็นพระคุณและเป็นวาสนาของผมยิ่งแล้ว

กาพย์ฟ้อนบูชา พระธาตุพนม

๏ (โอ๊ย…) ซายเอยมาหมู่เฮามาโฮมกัน
โอ้ละหนอโอ้โอโอโอ้ละหนอ
โอโอโอ้ละหนอ
ตั้งบายศรีพานสู่ขวัญ
อภิวันท์พระธาตุเจ้า

๏ ซายเอยประเพณีแต่ก่อนเก่า
เฮ็ดกันมาแต่โดนเค้า
มาหมู่เฮามารำฟ้อน

๏ ซายเอยดวงหน้านางรำงามงอน
หอมมะลิมาลัยซ้อน
แขนโค้งอ่อนยามตั้งวง
(โอ้ละหนอโอ้โอโอโอ้ละหนอ
โอ้ละหนอโอ้โอโอโอ้ละนอ)

๏ ซายเอยอันพระธาตุพนมองค์นี้
พระอริยสงฆ์
คงสถาปนาไว้

๏ ซายเอยมาหมู่เฮามาฮ่วมใจ
ดำรงพุทธศาสน์ไท้
สานสืบไป ๕,๐๐๐ ปี
(โอ้ละหนอโอ้โอโอโอ้ละนอ)

๏ ซายเอยเฮามาร่ายระบำพลี
น้อมระลึกสดุดี
องค์พระศรีศาสดา

๏ ซายเอยขออัญเซิญปวงเทวา
ทุกสวรรค์ทุกซั้นฟ้า
เซิญลงมาเป็นพยาน

๏ ซายเอยทั้งนาคาใต้บาดาล
ผู้พิทักษ์พุทธสถาน
แต่บุราณนมนานเนา

๏ ซายเอยจงเอ็นดูหมู่พวกเฮา
ถึงสิเกิดจากต่างเค้า
แต่ละเผ่าละพงศ์พันธุ์

๏ ซายเอยแต่เฮามีใจเดียวกัน
เพราะพระพุทธศาสน์นั้น
ฮ้อยผูกพันมั่นตรึงตรา
(โอ้ละหนอโอ้โอ้ละหนอโอ้โอโอโอ้ละนอ)

๏ ซายเอยมาหมู่เฮามาบูซา
องค์พระธาตุศาสดา
ณ ต่อหน้าธาตุพนม

๏ ซายเอยขอให้เฮาได้ซื่นซม
ลาภมงคลไซยอุดม
เกิดใต้ฮ่มพระศรีอาริย์
(โอ้ละหนอโอ้โอโอโอ้ละหนอ
โอ้ละหนอโอ้โอโอโอ้ละนอ
ซายเอย… ซายเอย)

ด้วยความเคารพอย่างสูง
สุริยันต์ จันทราทิตย์
๒๗ มกราคม ๒๕๕๗

“ทางอีศาน” : พระธาตุพนม สถานที่ประดิษฐานพระอุรังคธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ ศูนย์กลางแห่งศรัทธาของชาวพุทธในแอ่งอารยธรรมลุม่ แม่น้ำโขง เราตั้งใจนำพาผู้อ่านร่วมจิตไหว้พระธาตุพนม พร้อมกับลงพิมพ์กาพย์ฟ้อนบูชาของคุณสุริยันต์ จันทราทิตย์ ตั้งแต่ฉบับที่แล้ว แต่เกิดผิดพลาดทางเทคนิค จึงนำเผยแพร่ฉบับนี้ขออภัยและขอบพระคุณครับ

………

๒ ซ.๖/๓ ถ.นครสวรรค์ ต.ตลาด อ.เมืองจ.มหาสารคาม
๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๖

เรียน ท่านบรรณาธิการ “ทางอีศาน” ที่นับถือ

หนังสือทางอีศาน ที่ส่งมาให้ผม ถึงมือผมแล้วครับ ขอบคุณมาก วันนี้ผมขอส่งคำกลอนอีสาน (ผญา) เรื่อง ฮีตสิบสอง มาเพื่อลงในทางอีศาน ของคุณด้วย และพร้อมกันนี้ผมได้ส่ง หนังสือคำกลอนที่ผมแต่ง เรื่อง การแพทย์แผนไทย การรักษาโรคแบบไทยมาอีก ๑ เล่ม หากท่านบรรณาธิการเห็นควรจะทยอยนำลงเป็นตอน ๆ ในทางอีศานด้วย ผมก็ยินดีแล้วแต่ท่านจะพิจารณา สุดท้ายนี้ขอให้ทางอีศานจงเจริญวัฒนา เพื่อประเทืองปัญญาของผู้อ่านทางอีศานสืบไป ตลอดไป

อีสานเมืองอารยะ

เมืองอีสาน งามหลาย ใฝกะฮู้
ตั้งแต่ปู๋ ตั้งแต่ปู้ คู่แดนสยาม
สืบผญา อารยธรรม ความดีงาม
อีสานงาม งามแท้แท้ อิแม่เอ้ย

เพิ่นจดจาร ตำนานเมือง เคยเฮืองฮุ่ง
เป็นซุ่งซุ่ง ห้าพันปี ชี้ให้เห็น
เคยหลอมเหล็ก หล่อเงินคำ ทำแก้วเป็น
เพิ่นขุดเห็น ค้นพบผ้อ ขอให้จำ

เมืองศรีโคตรบูรณ์ เมืองจำปาศรี มีพระธาตุ
เมืองคัณธาราช เมืองโกสัมพี ดีงามขำ
เป็นศูนย์กลาง พุทธศาสนา อารยธรรม
มีผาสาทหิน ประจำ หกสิบเมือง

เมืองอีสาน จั่งจบงาม ตามคองฮีต
แต่อดีต ฮอดมื่อนี้ ที่เหลื่อมเหลือง
เป็นเมืองศรี อารยธรรม นำฮุ่งเฮือง
สมเป็นเมือง คนดี ศรีประเทศไทย
ฮั่นแหล่ว พี่น้องเอ้ย๚

ด้วยความนับถือ
นายประสาสน์ รัตนะปัญญา
ประธานที่ปรึกษาภูมิปัญญาอีสานจังหวัดมหาสารคาม

“ทางอีศาน” : กราบขอโทษคุณพ่อประสาสน์อย่างสูง จดหมายและบทกวีไปตกค้างอยู่อดีตสำนักงานขอนแก่น เพิ่งไปซอกค้นเห็น สำหรับบทกวีได้นำลงฉบับนี้ ส่วนผญาเรื่อง “ฮีตสิบสอง” สินำลงในโอกาสเหมาะสมต่อไป

ขอแจ้งให้สมาชิก และพี่น้องปล้องปลายทราบทั่วกันในที่นี้เลยว่า มีข่าวสารข้อเขียนเรื่องราวใด ๆ ให้ติดต่อสำนักที่อยู่กรุงเทพฯ แห่งเดียวเท่านั้นขอบพระคุณคุณพ่อประสาสน์ รวมทั้งคุณพ่อบุญเลิศ สดสุชาติ ในความเมตตาส่งข้อเขียนและคำพรมาให้ชาวคณะทางอีศานเป็นประจำครับ

………

ขออนุญาตฝากงานให้ท่านบรรณาธิการฯพิจารณาลงใน “ทางอีศาน” หากลงเผยแพร่ได้กระผมคงจักมีแรงขับเคลื่อนตนเพิ่มขึ้นอีกมากขอบพระคุณมากครับ

“Sang Puriso”

“ทางอีศาน” : สรุปความคิดตัวของตัวออกมาได้ดีแล้วครับ แต่การนำเสนอต้องมีลีลาท่วงท่าตามศาสตร์ศิลป์ที่ใช้ให้มากขึ้น โดยเฉพาะการเขียน – เขียนในรูปแบบฉันทลักษณ์ต้องไม่มีคำสัมผัสซํ้า ขอเป็นกำลังใจและพร้อมเป็นเวทีงานวรรณศิลป์สำหรับนักอ่านนักเขียนทุกท่านครับ

ข้อบกพร่องที่พบบ่อยในการเขียนกลอนคือเสียงคำสุดท้ายของวรรคสอง (ในที่นี้คือ ‘ร้อน’) ตาม

“มหา’ลัย”
“มหา’ลัย” คือแดนดงความรู้
จึง “มหา’ลัย” ควรอยู่สภาพไหน ?
ชี้นำสังคมบ้างเป็นไรไป
หรือ “มหา’ลัย” มีไว้เพื่อหากิน

“มหา’ลัย” ราษฎร์มองว่าประเสริฐ
ล้วนก่อเกิดจากภาษีกันทั้งสิ้น
จากหยาดเหงื่อชาวนารดแผ่นดิน
จากเหงื่อไคลที่ไหลรินของกรรมกร

“มหา’ลัย” ควรเป็นขุมปัญญา
ชี้ทางแก้ปัญหาความเดือดร้อน
ใช่จะมาทำเป็นเล่นละคร
สังคมร้อน “มหา’ลัย” แก้ จึงแน่จริง !.

กฏที่เข้มงวดในการประกวดกลอนของกระทรวงศึกษาธิการ คำนี้ห้ามใช้เสียงตรีนะครับ แต่กลอนที่พิมพ์ตามนิตยสารต่าง ๆ มักจะอนุโลมกัน

ถ้าลองอ่านเป็นทำนองเสนาะ จะเห็นชัดเลยครับว่าคำนี้ถ้าใช้เสียงตรีความไพเราะจะด้อยลง

Related Posts

ด อ ก จ า น (Palasha) “เล็บแดงแห่งกามเทพ”…มิ่งไม้มหามงคล
เงินตราโบราณ ในอีสานบ้านเฮา (ตอนที่ ๗)
ทองกวาว/จาน ในมิติทางการแพทย์

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com