จากการศึกษาเอกสารมานานปี ถึงวันที่ดั้นด้นเดินทางมาถึง “วังช้าง”
ผศ.ดร.พิพิฒน์ กระแจะจันทร์ได้อธิบายสรุปไว้ว่า
"…รูปแบบนะครับ ถ้าในประเทศไทยเรียกกันว่าศิลปะทวารวดี โดยรูปแบบของศิลปะ
ก็อยู่ในช่วงประมาณพุทธศตวรรษที่ 16 - 17 หรือศตวรรษที่ 11 - 12 ย้อนกลับไปประมาณ
900 - 1,000 ปี เป็นทวารวดีที่ได้รับอิทธิพลเขมรดูว่าส่วนไหนเป็นทวารวดีนะครับ
หนึ่ง ตัวพระพักตร์ หรือใบหน้า คิ้วต่อกันเป็นปีกกา
สอง ดวงตาจะใหญ่หน่อยหนึ่ง แล้วก็จมูกจะป้าน ๆ หน่อย อันนี้ก็คือลักษณะ
ของพระพักตร์และก็วงพระพักตร์ หรือใบหน้า ค่อนข้างดูเป็นสี่เหลี่ยม
ส่วนรูปแบบการนั่ง คือนั่งสมาธิ แต่ว่าพระพุทธรูปแบบทวารวดี เวลานั่งจะแผ่เท้า
เข้ามาด้านหนึ่งอันนี้ก็จะเห็นได้ว่ามีเท้าแผ่แบนออกมา เป็นลักษณะของทวารวดีเหมือนกัน
แต่ว่ามันก็เป็นช่วงปลายเพราะว่าได้รับอิทธิพลของเขมรเข้ามาด้วย
ตัวเส้นผม หรือพระเกศา เขาทำปลายพระศกเส้นเล็ก ๆ ๆ อย่างนี้คืออิทธิพลของเขมร
จึงสามารถกําหนดอายุให้อยู่ในช่วงประมาณพุทธศตวรรษที่ 16 หรือบางคนเขาก็บอกว่า
เมื่อทวารวดีขึ้นมาสูงขนาดนี้ ขึ้นมาทางเหนือมากอย่างนี้ แสดงว่าอาจจะอยู่ในช่วง
พุทธศตวรรษที่ 17 คือหลังลงมาอีก"
"อันนี้ก็คือพระสงฆ์ที่มาสลักพระพุทธรูป ต้องเคยหัด หรืออย่างน้อยที่สุด
ต้องเคยอยู่ในอีสานมาก่อนแล้วอาจจะเคยไปบําเพ็ญเพียรจําวัดอยู่แถวภูพระบาท
เหตุผลเป็นเพราะว่าที่ภูพระบาทมีพระพุทธรูปที่สลักอยู่บนภูผาแบบนี้เหมือนกัน
เพราะฉะนั้นต้องมีความรู้ ไปศึกษาศาสนาที่นั่นแล้วเดินทางมาที่นี่
แล้วก็ส่วนพื้นที่ตรงนี้เดิมทีก็จะมีกลุ่มอาคาร ไม่ได้เปิดโล่งอย่างนี้ เพราะจะเห็น
ได้ว่ามีรอยของหินที่ถูกปรับเข้าไป น่าจะสอดทางเล็กๆๆ ขึ้นไป ก็เดิมทีมีหลังคาคลุมอยู่
และก็อาจจะมีเสา มีอะไรแถว ๆ นี้
โดยสรุปก็คือเป็นพระพุทธรูปที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะทวารวดี แล้วก็สัมพันธ์กับ
ที่ภูพระบาทจังหวัดอุดรธานี ซึ่งได้รับมรดกโลก แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างไทย - ลาว
ตั้งแต่ในสมัยโบราณ".