By

วีระ สุดสังข์

คำผญา คืออะไร?

คำผญา ไม่ใช่ถ้อยคำที่ถูกกล่าวหรือถูกเขียนขึ้นอย่างลอย ๆ แต่คำผญาเกิดจากการสั่งสมอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิดท่ามกลางความสุขารมณ์ ความแร้นแค้น เป็นเรื่องเป็นราว เป็นบทเรียนของคนที่เจนจัดมาจากการดำเนินชีวิตที่ยาวนาน จนสามารถสรุปบทเรียนและแง่มุมต่าง ๆ ของชีวิตได้อย่างทะลุปรุโปร่ง

หญ้าคาหญ้าทิพย์จากสวรรค์

ยามเจ็บไข้ได้ป่วยชาวบ้านก็ค้นพบว่าส่วนของใบหญ้าคาสามารถนำมาใช้เป็นยาต้มอาบ แก้ผดผื่นคัน แก้ลมพิษ และแก้ปวดเมื่อยตามร่างกายได้เป็นอย่างดี

เกลือ แร่ธาตุปฏิวัติสังคมชาติพันธุ์อีศาน

ภูมิปัญญาระดับชาวบ้าน นอกจากจะใช้เกลือในการบริโภคแล้ว ยังใช้เกลือในการรักษาอาการเจ็บป่วยอีกด้วย เช่น หากมีอาการมึนศีรษะ สมองไม่ปลอดโปร่งก็ใช้น้ำอุ่นประมาณ ๑ ถัง ผสมเกลือ ๒-๓ ช้อนแล้วอาบ เกลือจะช่วยกระตุ้นให้เลือดไหลเวียนได้ดี มีเลือดไปหล่อเลี้ยงสมอง, หากบังเอิญกินอาหารปนสารพิษเข้าไปหรือเกิดอาการอึดอัดอาหารไม่ย่อย และอยากให้อาเจียนออกมาก็ให้ดื่มน้ำเกลือเข้มข้นแก้วใหญ่ ๆ เพียงชั่วอึดใจก็จะอาเจียนพวกสารพิษออกมา, หากมีอาการคันตามผิวหนังให้ทาบริเวณที่คันด้วยน้ำเกลือ เชื้อราบริเวณนั้นจะสิ้นฤทธิ์, ถ้ายุงกัดจนเป็นตุ่มบวมคันก็ไม่ต้องเกาให้รีบใช้น้ำเกลือทาที่รอยแผล ไม่นานอาการคันก็จะหายไปและรอยบวมก็จะยุบหายไปด้วย

เรื่องของอาหาร (๕)

การปรุงอาหารเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง รสชาติอาหารจึงเป็นรสชาติของศิลปะ รสชาติอาหารไม่ต่างจากรสชาติของบทกวี เรื่องสั้น นิยาย สารคดี ภาพถ่าย ภาพวาด การแสดง ฯลฯ การประกวดรสชาติอาหารหรือการประกวดงานศิลปะใดๆ นอกจากเป็นการไม่เข้าใจศิลปะแล้วยังเป็นการทำลายศิลปะอีกด้วย

เรื่องของอาหาร (๔)

อาหารมีหลายชนิดมีหลายประเภท ลิ้นจำรสชาติอาหารแต่ละชนิดแต่ละประเภทได้ ความสวยงามของอาหารมาจากความหลากหลายของรสชาติ สี และกลิ่น ความสวยงามของมนุษย์ก็คือความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ชีวทัศน์ และโลกทัศน์

เรื่องของอาหาร (๓)

มนุษย์หยามเหยียดกันด้วยอาหาร., สมัยก่อน(อีกแหละ) ผู้ดีรังเกียจอาหารไพร่ แค่เห็นสี แค่ได้กลิ่นทั้งที่ยังไม่ได้ลิ้มสัมผัสรสชาติก็รับไม่ได้ ทำท่าขยะแขยง คลื่นไส้ จะอ้วก., คนกรุงไม่กินปลาร้าเหยียดคนบ้านนอกกินปลาร้า กลิ่นเหม็นอย่างนั้นกินลงไปได้อย่างไร? นี่ก็จะอ้วกอีกเหมือนกัน., คนไม่กินเนื้อดิบๆ รังเกียจคนกินเนื้อดิบๆ หาว่าหยาบหนา ป่าเถื่อน ไม่มีวัฒนธรรมในการกิน !, ไพร่บางคนที่มีโอกาสได้ชิมอาหารของผู้ดีก็รับอาหารผู้ดีไม่ได้. อาหารอะไรใส่น้ำตาล ใส่กะทิ พวกน้ำตาลและกะทิมันต้องอยู่ในขนม ในของหวาน ว่าไปโน่นเลย !, คนบ้านนอกกินอาหารคนกรุงไม่เป็น น้ำพริกกะปิรสชาติออกหวานนิดหน่อย แบบนี้กินไม่เป็น มันไม่สะใจเหมือนแจ่วปลาร้า ฯลฯ

ขะลำ วัฒนธรรมในชาติพันธุ์อีศาน

ชาติพันธุ์อีศาน มีระเบียบแบบแผนการ ปกครองบานเมืองและการควบคุมสังคมสืบเนื่องกันมายาวนาน นอกจากฮีต ๑๒ คอง ๑๔ เป็นแนวปฏิบัติแล้วยังมีข้อห้ามอีกคือขะลํา หรือคะลํา ซึ่งมีการอบรมบอกสอนลูกหลานรับช่วงกันมาเป็น ช่วง ๆ นับว่าเป็นมรดกตกทอดมาจากโบราณ เป็นความเชื่อดั้งเดิม ไม่ปรากฏในประมวลกฎหมายใด ๆ เป็นแต่เพียงสิ่งที่ปฏิบัติสืบทอดต่อ ๆ กันมา

เครือญาติ

สิ่งที่น่าสนใจในหมู่เครือญาตินั้นคือ ความเชื่อและค่านิยมที่ได้รับการปลูกฝังและสืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน จนกลายเป็นรากแก้วหยั่งลึกแตกเป็นรากแขนง แตกเป็นรากฝอย ยากต่อการโค่นล้ม ทำลายล้าง อาจจะทำลายรากฝอยได้ทำลายรากแขนงได้ นั่นก็เป็นเพียงการทำลายเปลือกเท่านั้น

โฮบ-รับประทาน, ซี-กิน, จฺร็อม-แดก

“โฮบบาย” เป็นคำสุภาพที่สุดของผู้ดีมีการศึกษา มีวัฒนธรรมสูง แปลว่า “รับประทานอาหาร” คำว่า “ซีบาย” คนชั้นกลางธรรมดาสามัญจะพูดคำนี้ แปลว่า“กินข้าว” คำว่า “จฺร็อม” แปลว่า “แดก”ซึ่งเป็นคำไม่สุภาพนัก ใช้ในการด่าหรือในยามที่ตัวเองคับแค้นใจ

วัฒนธรรมบ่อน้ำ น้ำส้าง น้ำส้างแส่ง

นึกย้อนไปถึงฤดูร้อน พ.ศ. ๒๕๐๗ ณ หมู่บ้านชาวกวยแถบเชิงเขาพนมดองแร็ก เมื่อคราวเป็นเด็กน้อยอายุ ๖-๗ ขวบ เคยตามแม่ไปตักน้ำตั้งแต่ฟ้ายังไม่สว่าง แม่ให้ไปเป็นเพื่อน สงสัยว่าทำไมต้องไปแต่เช้ามืดขนาดนี้ พอไปถึงก็เห็นผู้หญิงทั้งสาวและวัยกลางคนนั่งบ้าง ยืนบ้าง มือก็จับไม้คานไว้ รอคิวตักน้ำ ใครที่ได้ตักน้ำก่อนก็จะได้หาบน้ำใสสะอาดกลับบ้าน

คำผญา (๓)

ตกหมู่แฮ้งเป็นแฮ้ง ตกหมู่กาเป็นกา เมื่อเราคบใครเราก็เป็นอย่างนั้น เมื่อเข้าไปอยู่ในกลุ่มของอีแร้ง เราย่อมเป็นอีแร้งด้วย

เรื่องของอาหาร (๒)

คนสมัยก่อน เกิดมาติดในรสชาติอาหารที่แม่ทำ แม่ทำอะไรก็อร่อยไปหมด เพราะกินอาหารรสชาติฝีมือแม่มาแต่เกิด บางคนพอแต่งงานไปอยู่กินกับเมีย. เมียปรุงรสชาติอาหารได้ไม่เหมือนแม่พาลทะเลาะกับเมียก็มี นี่เป็นเพราะรับวัฒนธรรมรสชาติใหม่ไม่ได้

ทำไร่ ทำนา ทำปลาจ่อม ทำปลาแดก

"เกลือที่เหมาะทำปลาแดกก็คือเกลือสินเธาว์ เพราะเป็นเกลือต้มสุกแล้ว ส่วนเกลือทะเลหรือ "เกลือบักเม็ก" ใช้ทำปลาแดกไม่ได้ เพราะเป็นเกลือไม่สุกทำให้บูดเน่า ที่เรียกว่า "ปลาแดก" เพราะสมัยก่อนจะเอาปลาใส่ในครกตำข้าวแล้วใช้สากซึ่งหุ้มด้วยอะลูมิเนียมเจาะรู "แดก" ลงไปหรือตำลงไปเบา ๆ ให้เกล็ดปลาหลุดออกแล้วจึงล้างน้ำและนำไปทำปลาแดก..."
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com