By

กาย อินทรโสภา

บันทึกการเดินทางในลาว ครั้งยังเป็นภาคอีสาน : เอเจียน แอมอนิเย ตอนที่ 6

เจ้าบ่าวถือว่าเงิน 16 บาท ที่พ่อแม่เจ้าสาวเรียกร้องนั้นสูงเกินไป เงินสินสอดที่มอบให้แม่เจ้าสาวนั้น แม่เจ้าสาวจะมอบให้ลูกสาวเพียงครึ่งหนึ่ง หากมีการผิดเถียงกัน พ่อแม่ฝ่ายหญิงจะทวงเอาเงินสินสอดนั้นจากลูกเขย หากหย่าร้างกันเด็กอายุยังน้อยจะอยู่กับแม่

ชุมชนลาวในภาคกลางของสยาม (๕)

ความต่อจากครั้งที่แล้ว เมื่อรัชกาลที่๑ โปรดให้เจ้าอินทวงศ์ไปครองเวียงจันทน์หลังจากเจ้านันทเสนสิ้นพระชนม์ที่กรุงเทพฯ ในปีพ.ศ.๒๓๓๘ ในระหว่างนี้เจ้าอนุวงศ์ผู้เป็นอนุชาได้แสดงความสามารถในการรบให้เป็นที่ประจักษ์ และทำความชอบให้กับสยามไม่น้อย จึงเป็นที่โปรดปรานของรัชกาลที่๑ ทั้งยังเป็นพระสหายกับเจ้าฟ้าฉิม(ต่อมาคือรัชกาลที่๒)

บันทึกการเดินทางในลาว ครั้งยังเป็นภาคอีสาน : เอเจียน แอมอนิเย ตอนที่ 5

นอตอง (Notons) ได้บันทึกไว้ว่า “มีธาตุเจดีย์จำนวนมหาศาลหลบซ่อนอยู่ในป่าดง หลังจากที่บรรดาธาตุได้ถูกทำลายไปครั้งหนึ่ง ก็มีต้นไม้เกิดขึ้นมาค้ำจุนเองตามธรรมชาติ พยุงธาตุเจดีย์เหล่านั้นต่อไป พฤษชาติแบบธรรมชาตินั้น ผสมผสานกับพฤกษชาติหินได้เป็นอย่างดี สีเทาของพื้นทำให้มีลักษณะเหมือนหินแข็ง สีเศร้าหมองลงด้วยอากาศ ทองแดงและสำริด

บันทึกการเดินทางในลาว ครั้งยังเป็นภาคอีสาน : เอเจียน แอมอนิเย ตอนที่ 4

กระทั่งเดินทางมาถึงเมืองหนองหาน ซึ่งมีกำแพงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าล้มอรอบ 2 ชั้น เป็นกำแพงดินสูงกั้นรั้วไม้ไผ่หนาทึบ แต่ไม่มีคูเมือง กำแพงด้านนอกยาว 1,200 เมตร กว้าง 10 เมตร สูง 4 เมตร อีกกำแพงหนึ่งอยู่ห่างกันประมาณ 40 เมตร มีทางเข้าทางเดียวที่ด้านตะวันออกเมือง มีกระท่อม 150-200 หลัง พวกชาวบ้านดื่มน้ำจากบ่อหรืออ่างน้ำที่ขุด (น้ำส่าง) มีวัด 2 วัด พระสงฆ์ 30 กว่ารูป เจ้าเมืองหนองหานปัจจุบันเป็นคนที่ 5

บันทึกการเดินทางในลาว ครั้งยังเป็นภาคอีสาน : เอเจียน แอมอนิเย ตอนที่ 3

ในกรณีเกิดการเจ็บป่วย เกิดโรคระบาด พวกเขาเอาไม้ไผ่มาหุ้มห่อตั้งแต่พื้นดินถึงพื้นเรือน ตามเสาเรือน ขึ้นไปใกล้ ๆ ที่หัวของคนป่วย พวกเขาล้อมกระท่อมด้วยเชือกของหญ้าคา 3 เส้นที่ฟั่นเข้ากัน นั่นคือหญ้าที่พวกเขมรเรียกว่า “เซโบพลัง”สุดท้ายพวกเขาก็ฝังเฉพาะไม้ไผ่ที่สานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสไว้ที่มุมหมู่บ้านทั้งสี่มุม แทนเครื่องหมายตาแหลว แล้ววิญญาณจะอภัยโทษให้

บันทึกการเดินทางในลาว ครั้งยังเป็นภาคอีสาน : เอเจียน แอมอนิเย ตอนที่ 2

ตามคำบอกเล่าของคนในพื้นที่ บอกว่าเมืองอุบลนี้ได้สถาปนาขึ้นโดยพวกขุนนางที่อพยพมาจากทางทิศเหนือ จากหนองบัวลำภู ซึ่งเดิมมาจากแถบเมืองเวียงจันทน์ อดีตเมืองเอก เจ้าพระตามีลูกสาวคนหนึ่งซึ่งงดงามมากที่สุด ได้พาลูกสาวหนีจากการถูกบีบบังคับจากเจ้าอนุ เจ้าผู้ครองเมืองเวียงจันทน์

บันทึกการเดินทางในลาว ครั้งยังเป็นภาคอีสาน : เอเจียน แอมอนิเย ตอนที่ 1

นอกจากนี้ยังเล่าถึงบรรยากาศงานศพว่า มีพระมาสวดพระอภิธรรมทุกคืน พวกหนุ่มสาวพากันมาพูดคุยหยอกล้อเฮฮากัน สนุกสนานและเกี้ยวพาราสี มีดนตรีบรรเลงตลอดและมีการพนันทุกประเภท พวกลูกๆของผู้ตายไม่แต่งชุดไว้ทุกข์

เงินตราโบราณ ในอีสานบ้านเฮา (ตอนที่ ๒)

เงินฮ้อยคือเงินที่มีนํ้าหนักสิบบาท แต่คนลาวจะเรียกว่าฮ้อยหนึ่งหรือร้อยหนึ่ง อนึ่ง เงินฮ้อยมิใช่เงินที่หล่อด้วยเงินแท้ ๆ เป็นเงินชนิดปน คือเขาเอาทองสำริดหรือทองขาว (ทองแดงหรือดีบุก) มาหลอมสูบในไฟไล่ขี้โลหะออกไปหลาย ๆ หน จนหมดตะกั่วและชินที่อยู่ในเนื้อทองสำริด ผสมกับเนื้อเงินแท้ ๆ ในสัดส่วนเงินหนัก ๑๐ สลึง ทองสำริดหนัก ๗ บาท ๒ สลึง (รวมนํ้าหนักเป็น ๑๐ บาท) แล้วนำไปหลอมจนละลายเทลงในแม่พิมพ์จะได้เงินฮ้อยหนึ่งแท่ง

เงินตราโบราณ ในอีสานบ้านเฮา

เคยสงสัยกันบ่ครับว่าในอดีตปู่ย่าตาทวดของเฮาชาวอีสาน ใช้เงินตราอีหยังกันในการจับจ่ายใช้สอย ซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน เหมือนหรือต่างกับเงินตราที่เราใช้กันซุมื้อนี่หรือไม่ นั่นอาจสิเป็นคำถามที่เกิดขึ้นในใจของไผหลาย ๆ คน บางคนอาจจะเคยเห็นเงินตราเหล่านั้นมากบ้างน้อยบ้างตามแต่ที่ท่านสนใจ หรือผู้เฒ่าผู้แก่เพิ่นได้เก็บไว้ให้ลูกหลานได้เบิ่งได้แยงกัน แต่มื้อนี้กระผมสิได้นำซุผู้ซุคนได้ย้อนกลับไปในอดีต ไปค้นหาร่องรอยทางประวัติศาสตร์ของการใช้เงินตราในอดีตของบรรพบุรุษของเฮา

ชุมชนลาวในภาคกลางของสยาม (๔)

หลังจากเสร็จศึกกับล้านช้างในปีพ.ศ.๒๓๒๒ กรุงธนบุรีก็เกิดจลาจลขึ้นในปีพ.ศ.๒๓๒๕ เจ้าพระยาจักรี(ก่อนหน้านี้คือเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก) ก่อการรัฐประหารยึดอำนาจจากพระเจ้าตากสิน และปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์มีพระนามว่าพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก(รัชกาลที่๑) และสถาปนาน้องชายคือ เจ้าพระยาสุรสีห์เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลมหาสุรสิงหนาถ

ชุมชนลาวในภาคกลางของสยาม (๓)

จึงเป็นเหตุให้สยามได้ใช้โอกาสนี้หาเหตุยกทัพตีอาณาจักรล้านช้าง ซึ่งหากเป็นดังเหตุที่ว่าก็ควรยกทัพทำศึกกับอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ แต่การหาเป็นดังนั้นไม่ สยามยกทัพตีอาณาจักรล้านช้างจำปาสัก อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ และบังคับให้อาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง เป็นเมืองประเทศราชด้วย

ชุมชนลาวในภาคกลางของสยาม (๒)

สงครามระหว่างพม่าและอยุธยาในปี พ.ศ.๒๓๑๐ ทำให้อาณาจักรอยุธยาถึงกาลสูญสิ้น การยกทัพของพม่าในครั้งนี้ตีกระนาบกรุงศรีอยุธยาทั้งจากทิศเหนือและทิศใต้ โดยตีหัวเมืองเหนือและกวาดต้อนผู้คนลงมาตั้งแต่เชียงตุง เชียงใหม่ ลำปาง อุตรดิตถ์ พิษณุโลก จนถึงกรุงศรีอยุธยา ทางใต้นั้นก็เข้าตีระนอง เพชรบุรี กาญจนบุรีแล้วเข้าล้อมกรุงศรีอยุธยาไว้ทุกด้าน ศึกครั้งนี้พม่าหวังจะทำลายกรุงศรีอยุธยาไม่ให้ฟื้นตัวได้ ผู้คนชาวสยามล้มตายเป็นอันมากและถูกจับไปเป็นเชลยอีกหลายหมื่นคน

จุ้มใบ-พระราชโองการ ของกษัตริย์หลวงพระบาง

ในบรรดาใบจุ้มทั้งหมดในหอสมุดแห่งชาติของไทย ที่มีทั้งเขียนบนกระดาษและผ้าฝ้าย จำนวนกว่า ๖๙ ฉบับ มีใบจุ้มฉบับหนึ่ง เป็นใบจุ้มเลขที่ ๘ ลงศักราชไว้ ๑๒๐๐ ตัว(จุลศักราช) หรือพุทธศักราช ๒๓๘๑ ราวรัชสมัยเจ้าสุกเสริม แห่งอาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง

จุ้มหรือตราราชลัญจกร สมัยล้านช้าง

จุ้มหรือตราราชลัญจกร สมัยพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช ซึ่งเป็นกษัตริย์ที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดของอาณาจักรล้านช้าง ตั้งแต่ พ.ศ.๒๑๘๑-๒๒๓๘ ระยะเวลากว่า ๕๗ ปี ถือเป็นกษัตริย์ล้านช้างอีกองค์หนึ่งที่ทำให้อาณาจักรล้านช้างมีเจริญความรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก ทั้งฝ่ายอาณาจักรและศาสนจักร

ความเป็นมาพระแก้วมรกต (พระแก้วเขียว)

หากยึดตามตำนานพระแก้วมรกตนั้น ว่ากันว่าสร้างตั้งแต่ราว พ.ศ.๕๐๐ โดยพระนาคเสน ที่เมืองปาฏลีบุตร แล้วมีการโยกย้ายองค์พระไปยังอีกหลายที่ ซึ่งผมมีความเห็นว่าเป็นตำนานที่แต่งเติมกันขึ้นมาภายหลัง เนื่องด้วยพระแก้วมรกตนี้เป็นพระพุทธรูปสกุลช่างเชียงแสน น่าจะมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๐ และเป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในแถบหัวเมืองเหนืออย่างแน่นอน
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com