By

ทองแถม นาถจำนง

วัฒนธรรมแถน (๓)

การศึกษาเรื่อง “แถน” ที่ยังค้างหลงเหลือเป็น “รหัสวัฒนธรรม” อยู่ในสังคมไทสยามนั้นจำเป็นต้องศึกษาเปรียบเทียบกับร่องรอยที่ปรากฏในวัฒนธรรมไท/ไต ทุกกลุ่ม ซึ่งมันทำได้ยาก ผู้เขียนจะพยายามค้นคว้ามาให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เนื้อหาในบทแรก ๆ นี้ จึงมีความหลากหลายในการตีความ “ถอดรหัสวัฒนธรรมแถน” เป็นการปูพื้นฐานปรับข้อมูลให้รับรู้ตรงกันเสียก่อน แล้วในตอนท้าย ๆ ผู้เขียนจึงค่อย ถอดรหัสออกมาตามแนวคิดเห็นของตนเอง

ปริศนาตัวมอม (๑) หมานำพันธุ์ข้าวมาให้คน

เมื่อผู้คนมีไฟใช้หุงต้มอาหาร สุขภาพร่างกายจึงแข็งแรงขึ้นมาก และเมื่อละเลิก ขนบจารีตการกินเนื้อคนแก่แล้ว สัตว์ที่จะกินเป็นอาหารก็ลดน้อยลงเรื่อย ๆ ไม่พอจะกินกัน ผู้คนจึงไปปรึกษา ปู้ลัวทัว - ผู้หลวกทั่วอีก.. ผู้หลวกทั่วจึงสั่งให้หมาเก้าหางขึ้นไปขโมยพันธุ์ข้าวบนฟ้า

อนาคตอีสาน เกษตรกรรายย่อยจะอยู่รอด ต้องติดอาวุธปัญญา

ชนชั้นบนในสังคมไทยรับรู้เรื่องนี้ดี ทุนใหญ่ทุนขนาดกลางของไทยไม่เพียงเตรียมตัวพร้อมแล้วแต่ยังรุกคืบหน้าไปมากด้วย เป็นต้นว่า ยุทธศาสตร์อาหารสำเร็จรูปของเซเว่น-อีเล็ฟเว่น จะลงไปถึงระดับหมู่บ้านต่างจังหวัด, ยุทธศาสตร์ข้าวของซีพีจะพัฒนาการทำนาเป็นอุตสาหกรรมฟาร์มขนาดยักษ์ ใช้เครื่องจักรกล โดยรวบรวมที่ดินจากเกษตรกรรายย่อย จัดตั้งชาวนาในรูปสหกรณ์แบ่งปันรายได้กับซีพี ซึ่งอาจจะพัฒนารูปแบบจากสหกรณ์ชาวไร่อ้อย, ฮับทางการแพทย์ ที่จะดึงเอาบุคลากรไป จนทำให้คนไทยชั้นกลางและชั้นล่างเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้ยากขึ้น ฯลฯ

การบูชา “ฟ้าหลวง พูราหลวง” ของไทอาหม

พิธีกรรมสวดพูราหลวงนี้เป็นพิธีสาธารณะที่มีการชุมนุมกัน สวดขับร่วมกัน เพื่อเป็นการแสดงความเคารพต่อฟ้าหลวงและเทพเจ้าทั้งปวงของชาวอาหม บางครั้งจัดขึ้นเพื่อเป็นการสวดต้อนรับบรรดาแขกคนสำคัญที่มาเยือนชุมชน และทำพิธีสวดเรียกขวัญ ให้พร กระทำพิธีขึ้นที่อาคารทรงแปดเหลี่ยมที่เรียกว่า “หอผี”

๓๖๕ น้ำพริกกับสวนรอบบ้าน – ๖. น้ำพริก ผกค. สูตร ๑

กับข้าวสำหรับนักปฏิวัติคือ “พริกตำ” ผมขอเรียกว่า “น้ำพริกเบสิก ผกค.” หรือน้ำพริก ผกค.สูตรที่ ๑”เครื่องปรุง พริก (อะไรก็ได้ ขอให้มี) เกลือเม็ด ใบตอง(สำหรับห่อ)

ผู้ไตในอำเภอหม่ากวน มณฑลยูนนาน

ในเขตปกครองตนเองชนชาติจ้วง-กวางสี ชาติพันธุ์กลุ่มย่อยที่มีชื่อเรียกตนเองมาแต่เดิมหลายสิบกลุ่ม ถูกเปลี่ยนให้สังกัด ชนชาติจ้วง ชื่อเรียกตนเองว่า คนนุง คนโท้ ผู้ไต ผู้ม่าน(บ้าน) ผู้นา ฯลฯ จึงหายไป

คนเหล่า (Lao) เคลื่อนเข้าสู่เสฉวน

แบบเรียนประวัติศาสตร์รุ่นเก่า เขียนกันว่า ชนเผ่าไทเคยใหญ่อยู่นครลุง นครปา แล้วหนีจีนลงมาอยู่น่านเจ้า จากน่านเจ้าก็หนีจีนลงมาอยู่สุโขทัย แต่บันทึกประวัติศาสตร์จีนกลับมีเรื่องตรงกันข้าม คือ ในยุค หนาน-เป่ย หลังราชวงศ์จิ้น (ของลูกหลานสุมาอี้) แผ่นดินจลาจล ปรากฏว่า จีนกวาดต้อน คนเหล่า ชนพื้นเมืองในกุ้ยโจว ขึ้นไปอยู่เสฉวนถึงห้าแสนกว่าคน

“ลาว” กลุ่มชาติพันธุ์ก่อนเรียกตัวเองว่า “ไต-ไท”

ทั้งหมดนี้มีพันธุกรรม DNA ร่วมกัน มีภาษาใกล้เคียงกัน อยู่ในกลุ่มวัฒนาธรรมข้าว วัฒนธรรมเรือ วัฒนธรรมสำริด ร่วมกัน จีนบันทึกเมื่อเกือบสี่พันปีก่อนเรียกพวกนี้่ว่า ไป่ผู ต่อมาเมื่อสามพันปีก่อนเรียกพวกนี้ว่า "ไป่เยวี่ย" สาขาหนึ่งของพวกไป่เยวี่ย ที่อยู่ในกวางสี กุ้ยโจว ยูนนาน เวียดนามภาคเหนือ และลาวภาคเหนือ อีสาน

วรรณคดีและชีวิตสามัญ คือคลังแห่งภาษา

รู้ภาษาหลายภาษาเท่าใดก็ยิ่งดี สมองคนเราคิดจากภาพออกมาเป็น คำศัพท์ คนเรารู้คำศัพท์มากเท่าใด ก็ยิ่งคิดได้มากคิดได้กว้างได้ลึกกว่าคนที่รู้คำศัพท์น้อย อย่านึกว่า การเรียนวิชาภาษาไทย ให้อ่านวรรณกรรม วรรณคดี มาก ๆ มันไม่มีความหมายไร้ประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต

แถนในตำนานไทมาว ไทใหญ่ ไทอาหม (๒)

ฉบับนี้ขอเสนอเรื่องเกี่ยวกับ แถนคำ, แลงดอน, ขุนตุงคำ (ซึ่งน่าจะตรงกับ “แถนหลวงฟ้าคื่น” ในพงศาวดารล้านช้าง) ที่ส่งคนลงมาปกครองเมืองลุ่ม ตามเอกสารของ ไทมาว ไทใหญ่ไทอาหม ที่ ศาสตราจารย์สุกัญญา สุจฉายา สรุปเนื้อความไว้ในบทความวิชาการเรื่อง “ไก่แสง :ไก่เสี่ยงทายตัวแรกในตำนานปรัมปราของชนชาติไท” วารสารวิชาการ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

คนกับกลอน – คำว่า “กลอน” ๒

“กลอน” คือร้อยกรองที่มีสัมผัสสระร้อยโยงเชื่อมระหว่างวรรค “โคลง-กลอน” เป็นรูปแบบฉันทลักษณ์ที่มีลักษณะร่วมกัน ในกลุ่มตระกูลภาษาไท กะได คือมีส่งสัมผัสสระไปที่กลางวรรคต่อไป นี่เป็นอัตลักษณ์สำคัญของบทกวีในตระกูลภาษาไท กะได

วัฒนธรรมแถน : อ่านเอกสารชั้นต้นกันก่อน (๑)

เรื่อง “พญาแถน” เป็นตำนานที่ชนเผ่าไท-ลาว ทั้งกลุ่มไทน้อยและกลุ่มไทใหญ่มีร่วมกันเรื่องพญาแถนยังเป็นต้นเค้าของวัฒนธรรมไท-ลาวดั้งเดิม (ก่อนรับพุทธศาสนา) ทั้งในด้านวิถีชีวิตประจำปีและด้านการเมืองการปกครอง

กลอนบทละคร (๒)

เจ้าสตรีที่แต่งเรื่องอิเหนาและดาหลังในสมัยอยุธยาคือ เจ้าฟ้ากุณฑลและเจ้าฟ้ามงกุฎ พระราชธิดาของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ดูจากคำกลอนข้างต้น ก็น่าจะคิดว่า เรื่องอิเหนาและดาหลังที่ทรงแต่งไว้นั้นเป็นบทละคร และต้องแพร่หลายเป็นที่นิยมมาก

คนกับกลอน

วรรณคดีและชีวิตสามัญ คือคลังแห่งภาษา ภาษาคืออาวุธสำหรับการดำรงชีวิต การเลี้ยงชีพให้มีความสุข การดำรงชีวิตให้อยู่รอด (ในโลกที่แสนจะโหดร้าย) ต้องพึ่งพาภาษาอย่างมาก ขั้นต้นคือภาษาพูด

น้ำเต้า

“วัฒนธรรม” ก่อกำเนิดมาจากวิถีการดำเนินชีวิต ซึ่งมีรูปแบบการผลิตเป็นตัวหลัก คนเราทำมาหากินอย่างไร วัฒนธรรมก็งอกเงยจากสภาวะนั้น ชนเผ่าในอาเซียนเลี้ยงชีพด้วยการเพาะปลูกข้าวเป็นหลัก
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com