By

เสรี พพ

ภาษาลาว ภาษาอีสาน

คนอีสาน หรือคนที่อาศัยอยู่ในภาคอีสานมีมากมายหลายเผ่าพันธุ์ มีกลุ่มที่อยู่ที่นี่นานเป็นพัน ๆ ปี มีที่อพยพมาจากที่อื่นหลายร้อยปี ที่ผ่านมาบางกลุ่มอาจจะไม่สามารถหรือไม่อยากบอกว่าตนเองเป็นคนอีสาน เพราะเชื้อชาติดั้งเดิมนั้นชัดเจน และอาจมาอยู่ไม่นานอย่างคนเชื้อสายจีน เชื้อสายเวียดนาม

ภาษาไม่ใช่แค่เครื่องมือสื่อสาร

ผมมีเพื่อนเป็นชาวออสเตรเลีย เคยเป็นผู้บริหารระดับสูงในองค์การสหประชาชาติเขาบอกว่า ในบรรดาภาษาทั้งหลายเขาชอบภาษาไทยมากที่สุด เขาพูดไม่ได้และฟังไม่รู้เรื่อง แต่เขาชอบสุ้มเสียงสำเนียงและท่วงทำนองของภาษาไทยเป็นอย่างยิ่ง เป็นภาษาที่ไพเราะที่สุด ได้ยินเมื่อไรก็ยิ้มได้เหมือนได้ฟังดนตรีที่ชื่นชอบประมาณนั้น

อีสานในนิมิต

คนทั่วไปมองว่าอีสานมีอนาคตที่สดใส จะดีขนาดไหน จะโชติช่วงชัชวาลหรือไม่ เพียงใด ขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง แต่ถ้าพิจารณาศักยภาพแล้วก็เชื่อว่ามีทางที่จะเจริญพัฒนาแบบ “มีแต่สิดีไปเมือหน้า”

ปรากฏการณ์ใหม่แห่งวงวรรณกรรมไทย นวนิยายเรื่อง “ดอกไม้บานที่อิตาลี” เสรี พงศ์พิศ : ประพันธ์

หลายคนเริ่มเขียนนวนิยายตอนอายุยังน้อย ผมมาเขียนเอาในบั้นปลายชีวิต จึงผสานประสบการณ์ ข้อมูล ความรู้ ที่ได้สั่งสมมานาน ผ่านความคิดคำนึง กรองด้วยจินตนาการออกมาเป็น “ละครชีวิต”

ความเร้นลับแห่งวาติกัน (๓) ยิ่งกว่ารหัสลับดาวินชี

เมื่อปี 2012 สังฆราช Carlo Maria Vigano เลขาธิการของคณะกรรมการบริหารรัฐวาติกัน ได้ทำหนังสือเปิดเผยเรื่องการคอร์รัปชั่นทางการเงินในวาติกัน ซึ่งแม้ว่าจะมีการสอบสวนและไม่มีผลสรุป มีผู้ที่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยกับเรื่องดังกล่าว และเมื่อปี 2018 สังฆราชองค์องค์นี้ถูกส่งไปเป็นทูตวาติกันประจำสหรัฐ ก็ทำหนังสือเรียกร้องให้พระสันตะปาปาฟรันซิสลาออก เรื่องราวยังกับ “รหัสลับดาวินชี” ทีเดียว

ความเร้นลับแห่งวาติกัน (๒) ยิ่งกว่ารหัสลับดาวินชี

ที่เรียกกันว่า “ธนาคารวาติกัน” มีชื่อจริงว่า “สถาบันกิจการเพื่อศาสนา” (Istituto per le Opere di Religione IOR) เป็นสถาบันอิสระ ไม่ขึ้นต่อวาติกันโดยตรง แต่ทำหน้าที่บริหารการเงินให้วาติกัน โดยมีพระคาร์ดินัล 5 องค์เป็นคณะกรรมการบริหาร และมีฆราวาสเป็นคณะกรรมการตรวจสอบ

ความเร้นลับแห่งวาติกัน (๑) ยิ่งกว่ารหัสลับดาวินชี

วาติกัน ศูนย์กลางสถาบันสองพันปีของศาสนาคริสต์โรมันคาทอลิกกำลังเผชิญวิกฤติแสนสาหัส ซึ่งหมักหมมมานมนาน มีรากเหง้ามาจากประวัติศาสตร์ ทั้งใกล้และไกล ที่อยากนำไปเรียนรู้ด้วยกัน

ความเร้นลับของวาติกัน ยิ่งกว่ารหัสลับดาวินชี

จุดมุ่งหมายของข้อเขียนชุดนี้ คือ การเรียนรู้จากปรากฏการณ์ การสรุปบทเรียนจากสิ่งที่เกิดขึ้นที่ “วาติกัน” ในฐานะที่เป็นคาทอลิก เป็นสมาชิกของพระศาสนจักรที่กำลังเผชิญวิกฤติ ไม่อยากเป็นเหมือนนกตัวใหญ่ที่บินไม่เป็นและเอาหัวซุกทราย แต่อยากเป็นนกตัวเล็กที่บินขึ้นไปเพื่อจะได้มองปัญหารอบด้านและหลายมิติ

ศาสนาวานนี้ วันนี้ และวันหน้า

นักคิดนักปราชญ์ในตะวันตกวิพากษ์ศาสนามาหลายร้อยปี คาร์ล มาร์กซ์ บอกว่า “ศาสนาเป็นยาเสพติด” และมาร์กซิสต์ฉบับปรับปรุงใหม่บอกว่า “ศาสนาเป็นการครอบงําทางวัฒนธรรมที่แนบเนียนและรุนแรง” จะปลดปล่อยได้ยากที่สุด และเปลี่ยนแปลงเป็นอันดับสุดท้าย

ยุคฟื้นฟูศิลปะวัฒนธรรมRenaissance (3/3)

มาร์ติน ลูเธอร์ เป็นพระในคณะเอากุสตีเนียน เป็นอาจารย์สอนเทวศาสตร์ในมหาวิทยาลัยในเยอรมัน เป็นผู้นำสำคัญที่ให้กำเนิดนิกายโปรเตสแตนท์ โดยเรียกร้องให้มีการปฏิรูปศาสนา ในปี 1517 นำข้อประท้วง 95 ข้อไปติดที่ประตูโบสถ์เมืองวิตเทนเบอร์ก ประณามความฉ้อฉล ศาสนพาณิชย์ ขายบุญเพื่อให้ได้เงินสร้างโบสถ์วิหาร โดยเฉพาะเซนต์ปิเตอร์ที่กรุงโรม การทำบุญด้วยเงินเพื่อเป็นการไถ่บาป ทำให้มีสิทธิ์ได้ไปสวรรค์

ยุคฟื้นฟูศิลปะวัฒนธรรมRenaissance (2/3)

ยุคกลาง ยุคมืดตอนต้น หลังจากโรมล่มสลาย ไม่เป็นเมืองหลวงของโลกอีก (caput mundi) ความรู้เก่าหายไป วิศวกรรม สถาปัตย์ คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ ไม่มีการก่อสร้างอะไรเหมือนยุคโรมันอีก หอสมุดคอนสแตนติโนเปิลได้รวบรวมวิชาความรู้ไว้มากมาย ทั้งของตะวันออก-ตะวันตก เป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาที่สำคัญ

ยุคเกิดใหม่เพื่อฟื้นฟูศิลปะวัฒนธรรม Renaissance (1/3)

ยุคฟื้นฟูศิลปะวัฒนธรรม (Renaissance) เป็น “ยุคเกิดใหม่” ของอารยธรรมที่เคยรุ่งเรืองสองพันปีก่อนในยุคกรีกและโรมัน ยุคที่ผู้คนกลับไปเรียนรู้ ฟื้นฟูความรู้ภูมิปัญญา ก่อให้เเกิดการเปลี่ยนแปลงมากมายในระยะเวลาไม่นานในแทบทุกด้าน

โอกาสในวิกฤติ

มองในแง่บวก โควิดน่าจะเป็น “โชคดีที่มากับโชคร้าย” (blessing in disguise) หรือ “นาฬิกาปลุก” (wake-up call) ปลุกให้ตื่น ตระหนัก สำนึก ให้ลดอหังการลง อ่อนน้อมถ่อมตน และสรุปบทเรียน ปรับเปลี่ยนวิธีคิด จะได้อยู่รอด รับมือกับอะไรที่อาจร้ายแรงกว่าโควิดที่จะตามมา เพราะธรรมชาติที่ผิดเพี้ยนทำให้เกิดโรคภัยไข้แจ็บและภัยพิบัติอะไรได้อีกมากและอย่างที่คาดไม่ถึง

ตำนานโอลิมปิก

# เต็มสิบยิมนาสติก Perfect Ten นาเดีย โคมาเนชี (Nadia Comaneci) เด็กสาวชาวรูเมเนีย อายุ 14 ปี ทำคะแนนเต็ม 10 ในยิมนาสติกบาร์ต่างระดับที่โอลิมปิกมอนทรีลปี 1976 นับเป็นคนแรกในประวัติศาสตร์กีฬาประเภทนี้ เธอได้เหรียญทอง 3 เหรียญจากรวมอุปกรณ์ บาร์ต่างระดับ และคานทรงตัว และได้เต็มสิบอีก 2 เหรียญทองในโอลิมปิกที่มอสโก 1980

โอลิมปิกกับมาราธอน

กีฬาโอลิมปิกเกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศกรีกเมื่อปี 776 ก่อน ค.ศ. (ประมาณ 2,800 ปีก่อน) จัดที่เมืองโอลิมเปีย ห่างจากกรุงเอเธนส์ไปต่างตะวันออก 188 ก.ม.
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com