บำรุง บุญปัญญา : อหังการแห่งสามัญชนลูกอีสาน
▪️อาลัยลา ราชสีห์อีสาน▪️
[พ.ศ. 2488 - มีนาคม พ.ศ. 2566]
“พลัง” ของแนวคิดสิทธิชุมชน
ผู้เขียนได้นำเสนอใน “ทางอีศาน” ฉบับก่อนว่า ฐานคิดเรื่องคุณค่าของแนวคิด “สิทธิชุมชน” มีความใกล้เคียงกับแนวคิด “วัฒนธรรมชุมชน” ที่มองชุมชนเป็นสถาบันสำคัญ มีกระบวนการภายในที่จะจัดการตนเองเพื่อความอยู่รอด แต่ในทางกระบวนการวิเคราะห์ชุมชนนั้น แนวคิดสิทธิชุมชนค่อนข้างให้ความสำคัญกับการศึกษาความขัดแย้งและการสร้างกติกาข้อตกลง การปรับดุลอำนาจภายในซึ่งเกิดขึ้นตลอดเวลาของชุมชน
แนวคิด “สิทธิชุมชน” เสริมขยายพลังเคลื่อนไหวของชุมชน
คำว่า “สิทธิชุมชน” นั้น เป็นคำที่ถูกผลิตขึ้นมาใหม่เพื่ออธิบายความหมายและคุณค่าอย่างหนึ่งที่เกิดและดำรงอยู่มาช้านานแล้ว เป็นวาทกรรมที่สร้างพลังให้กับการเคลื่อนไหวของ “ชุมชน” ที่ชาวชุมชนแสดงตัวตนชัดแจ้งในการปกป้องตัวเองจากภัยคุกคามจากภายนอกในยุคการพัฒนาในรอบกว่า ๒ ทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นยุคแย่งชิงทรัพยากรอย่างแท้จริง โครงการพัฒนาขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นเป็นเหตุของการรุกรานคุกคามสิทธิ์ในการใช้ทรัพยากรของชาวชุมชนท้องถิ่นอย่างหนัก
จากแนวคิดวัฒนธรรมชุมชน สู่สังคมการปกครองตนเอง
เพื่อนที่เป็นนักวิชาการชาวญี่ปุ่นท่านหนึ่งกล่าวกับข้าพเจ้าว่า ที่เมืองไทยนี้แปลกกว่าที่อื่นในยุคเดียวกัน การพูดถึงและให้คุณค่ากับความเป็น “ชุมชน” มีสูงมาก ทั้งในวงวิชาการ องค์กรชาวบ้าน แวดวงราชการ ในส่วนขององค์กรพัฒนาภาคเอกชนนั้นถือว่าแนวคิดวัฒนธรรมชุมชนเป็นกระแสคิดหลักของขบวนที่ยึดถือกันมาตลอดสองสามทศวรรษ แม้แต่พระมหากษัตริย์ไทยก็ทรงดำริเรื่อง “การสร้างชุมชนเข้มแข็ง” ผ่านแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ทฤษฎีใหม่ หรือรูปธรรมในโครงการพระราชดำริทั้งหลาย
อีสานปกครองตนเอง
ระบอบประชาธิปไตยแบบที่ประเทศไทยเราใช้ปกครองกันอยู่ในปัจจุบัน เป็นระบอบที่เราลอกเลียนมาจากการปกครองในประเทศตะวันตก ด้วยความจำเป็นของกระแสโลกที่เราจะต้องเดินตามแบบเขาประการหนึ่ง และความหลงในความศิวิไลซ์ของชาวฝรั่งอีกประการหนึ่ง
ความยั่งยืนและเป็นธรรม ของการจัดการน้ำขนาดเล็ก
นานเหลือเกินกว่าคนในสังคมแห่งนี้จะคิดขึ้นมาได้บ้างว่า ที่เราสร้างบ้านแปงเมืองกันมาจนเจริญรุ่งเรืองได้ขนาดนี้ การทำนาอย่างเช่นในภาคอีสานนี้ก็ด้วยการทำนาน้ำฝน ด้วยชลประทานขนาดเล็กของชุมชน ทำขึ้นมาด้วยสมองและมือของชาวนาตัวเล็ก ๆ ถึงปัจจุบันก็ยังคิดเป็นร้อยละ ๙๕ ของพื้นที่