วิจิตรตา… วัดศรีเทพประดิษฐาราม
กัลยาณมิตรคนหนึ่งรู้ใจผมว่านิยมชมชอบงานศิลปะสถาปัตยกรรม ที่ประดับปูชนียสถานโดยไม่มีข้อจํากัดทางศาสนา จะเป็นเทวาลัยฮินดูโบสถ์คริสต์ มัสยิด ฤๅพุทธสถาน หากอนุญาตให้เข้าชมได้แม้แต่เพียงภายนอก ก็ถือเป็นความยินดีปรีดานัก
อัปสราศีขรภูมิ : บ้าน ๆ สะท้านทรวง
“ห้องศิลป์อีสาน” ฉบับที่แล้ว เล่าให้ฟังว่าที่ซุ้มประตูปราสาทศีขรภูมิ อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ มี “เทพทวารบาล” หรือเทพผู้รักษาประตูปราสาท หรือประตูวิมาน กำลังยืนกุมไม้กระบองอยู่ข้างนวลน้องอัปสรา หรือ “เทพอัปสร” ชนิดที่ผมนึกไม่ออกจริงๆ ว่าถ้าผมต้องมายืนเฝ้าปราสาทอยู่ใกล้สาวงามปานนี้
วัดหลวงปากเซ การประสมประเสที่น่าทึ่ง
“ปากเซ” เป็นเมืองเอก หรือเมืองศูนย์กลางของแขวงจําปาสัก และยังถือเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ การค้า การคมนาคม ของ สปป.ลาว ในเขตภาคใต้อีกทั้งยังเป็นศูนย์การศึกษาพระพุทธศาสนาที่ใหญ่ที่สุดของลาวอีกด้วย
มหัศจรรย์สี่พันดอน
เกาะเต่า ในทะเลอ่าวไทย มีพื้นที่ราว ๒๑ ตารางกิโลเมตร เชื่อไหมว่า ในแม่นํ้าโขงช่วงที่ไหลผ่านแขวงจําปาสัก ภาคใต้ของลาว มีเกาะขนาดใหญ่กว่าเกาะเต่าถึง ๔ เท่าตั้งอยู่ นั่นคือดอนโขง หรือเกาะโขง ตรงบริเวณที่แม่นํ้าโขงกว้างสุด ถึง ๑๕ กม. และยังมีเกาะแก่ง หรือที่คนลาวเรียก “ดอน” นับได้ถึงสี่พันดอน
พระสุเมรุกลางใจเรา
การสร้างปราสาท หรือเทวสถานตามคติฮินดูคือการสร้างทิพยวิมานถวายแด่เทพเจ้ายามที่ท่านเสด็จลงมายังโลกมนุษย์แต่โดยปกติทวยเทพจะประทับอยู่ที่เขาพระสุเมรุซึ่งถือเป็นศูนย์กลางของโลกและจักรวาล ดังนั้นการสร้างปราสาทจึงเท่ากับเป็นการจําลองเขาพระสุเมรุ
มากกว่ากาละแม คือทับหลังงามแท้ที่ศีขรภูมิ
ไม่น่าเชื่อขนมห่อเล็ก ๆ ฝีมือชาวบ้าน ในบรรจุภัณฑ์ (Packaging) แบบบ้าน ๆ นั่นคือ “กาละแม” จะทำให้ผมและใครต่อใครหลายคนติดอกติดใจจนต้องแวะเวียนไปอำเภอเล็ก ๆ แห่งหนึ่งของจังหวัดสุรินทร์ เพื่อหาซื้อ “กาละแม แม่สองบาล” มาชิมจนอิ่มเอิบในหัวใจ
แหล่งตัดหินบ้านกรวด เปิดปมปริศนาเทวาลัย
ไปเยือนปราสาทหินคราใด คำถามเหล่านี้วนเวียนอยู่ในห้วงคำนึงของผมเสมอ ช่างแขมร์โบราณตัด ยก ขนย้ายก่อนศิลาทรายหนักเป็นตัน ๆ ได้อย่างไร ? ใช้อะไรขัดให้เรียบ กลึงให้กลม แกะให้งาม ที่สำคัญในการออกแบบก่อสร้างเทวาลัยขนาดใหญ่เช่นนี้ สถาปนิกผู้รังสรรค์ใช้วัสดุใดเป็น “พิมพ์เขียว” ในการร่างแบบ ?
วัดหลวงปากเซ การประสมประเสที่น่าทึ่ง
“ปากเซ” เป็นเมืองเอก หรือเมืองศูนย์กลางของแขวงจำปาสัก และยังถือเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ การค้า การคมนาคม ของสปป.ลาว ในเขตภาคใต้ อีกทั้งยังเป็นศูนย์การศึกษาพระพุทธศาสนาที่ใหญ่ที่สุดของลาวอีกด้วย
จดหมายจากนักเขียน
เรียน ท่านผู้อ่าน “ทางอีศาน” ที่เคารพ
ผมเป็นคอลัมนิสต์จิตอาสา ของ “ทางอีศาน” มาตั้งแต่ปี ๒๕๕๖ ด้วยศรัทธาในปณิธานของ บ.ก.ปรีดา ข้าวบ่อ ที่อึดและอดทนทำนิตยสารเชิงสาระความรู้ เพื่อชาวอีศานและคนไทยทุกภาค “ลึกซึ้งรากเหง้า เข้าใจปัจจุบัน รู้ทันอนาคต”
จนถึงราวปลายปีที่แล้ว ผมมีปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบ คือข้อมูลและภาพประกอบที่จะเขียนคอลัมน์ “ห้องศิลป์อีสาน” เหตุเพราะปัญหาสุขภาพ ทำให้ผมไม่ได้เดินทางไปเก็บภาพและข้อมูลใหม่ ๆ เลย จึงเห็นควรพักคอลัมน์ “ห้องศิลป์อีศาน” ไว้ถึงฉบับมีนาคมที่ผ่านมา
ตามรอยจาริกหลวงปู่มั่น จากอีสานสู่ล้านนา
“อย่าลดละท้อถอยความเพียร ธรรมเป็นสมบัติกลาง และเป็นสมบัติของทุกคนที่ใคร่ต่อธรรม พระพุทธเจ้ามิได้ผูกขาดไว้แก่ผู้หนึ่งผู้ใดโดยเฉพาะ ต่างมีสิทธิครอบครองเป็นเจ้าของได้ด้วยการปฏิบัติดีของตนด้วยกัน” (หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)
เมื่อฝรั่งตะลึงสยาม พยุหยาตราชลมารค
“ขบวนเรือหลวงมีเรือ ๗ ถึง ๘ ลำ มีฝีพายลำละ ๑๐๐ คน มีทหารประจำเรือรวมทั้งสิ้นประมาณ ๔๐๐ คน ตามมาด้วยข้าราชบริพารอีก ๑,๐๐๐ ถึง ๑,๒๐๐ คน ซึ่งนั่งมาในเรือแกะสลักเป็นลวดลายลงรักปิดทอง บางลำก็เป็นเรือสำหรับพวกปี่พาทย์โดยเฉพาะ” ส่วนคนที่อยู่ในเรือก็ “...เห่เรือกันอย่างสุดเสียง ทั้งยังพายเรือด้วยความสง่างามเหมือนกับเป็นของง่าย...มันเป็นภาพที่สวยงามอย่างไม่น่าเชื่อ... มองไปทางไหนก็เห็นแต่เรือและผู้คน ผ่านไปมาในแม่น้ำอย่างไม่ขาดสาย”
จาก “สีหปักษี” ถึง “หัสดีลิงค์” สัตว์ศักดิ์สิทธิ์ในพิธีศพสูงศักดิ์
ด้วยศรัทธาสูงส่งที่มีต่อเทพเจ้าทั้งหลายในศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู พิธีศพของชาวบาหลีจึงมีกระบวนการอันเอิกเกริก ดั่งการส่งดวงวิญญาณของผู้ตายคืนสู่สรวงสวรรค์ ซึ่งจะต้องสร้างอุปกรณ์สำคัญสองสิ่ง คือ “บาเดห์” (Wadah) หออัญเชิญศพแบบจำลองจักรวาลตามคติของชาวบาหลี และ “เลมบู” (Lembu) หุ่นสัตว์ในเทพนิยายสำหรับอัญเชิญศพสู่พิธีเผา ...
เทพทันใจ ผีอารักษ์ในสังคมพม่า
กรณีมีการอัญเชิญ เทพทันใจ จากเมียนมาร์ มาให้คนไทยสักการะที่ท้องสนามหลวงเมื่อต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา เทพองค์ดังกล่าวมีนามว่า โบโบยีนัต 1 ในนัตศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวเมียนมาร์นับถือ แต่ไม่ปรากฏในคติความเชื่อของสังคมไทย จึงน่าสนใจว่า นัตคือใคร มีความสำคัญอย่างไร และเป็นเทพหรือเป็นผีกันแน่ ?
ผีตาโขน ผีตาขน ผีตามคน ผีตามใคร?
ถึงแม้ขบวนแห่ผีตาโขนจะเป็นแม่เหล็กดึงดูดคนจากทั่วสารทิศ ให้ไปเยือนอำเภอเล็ก ๆ ในหุบเขาอย่างด่านซ้าย จังหวัดเลย แต่สาระสำคัญที่แท้จริงของ “งานประเพณีบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขน”
หอมข้าวละมุนที่นาบุญข้าวหอม
นาบุญข้าวหอมไม่ใช่ร้านกาแฟกลางทุ่งนา หรือทุ่งนามีกาแฟขาย แต่คือนาข้าวที่เราปลูกข้าวกันจริง ๆ เป็นข้าวอินทรีย์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม