Category

ศิลปวัฒนธรรม – ประวัติศาสตร์

สำบายดี ปี เมิงเฮ้า

“ปักขทึน (ปัก-ขะ-ทึน)” เป็นคำเก่าในวรรณกรรมอีสานโบราณ ตรงกับคำภาษาบาลี ว่าปักขทิน ตรงกับภาษาสันสกฤตว่า ปฺรติทิน ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Calendar ปัจจุบันใช้ว่า ปฏิทิน แปลว่า แบบสำหรับดูวันเดือนปี คำว่า ปักขทึน มาจากคำ ๒ คำ

พ.ศ. 2442 ยกเลิกคำว่า “ลาว” เกิดคำว่า “อีสาน” และภาคอีสานนิยม

พ.ศ. 2442 ยกเลิกคำว่า “ลาว” เกิดคำว่า “อีสาน” และภาคอีสานนิยม พ.ศ. 2434 ราชสำนักกรุงเทพฯได้รวมหัวเมืองต่างๆ มาเป็นมณฑล แต่ยังไม่ได้จัดเป็นแบบเทศาภิบาล จนถึง พ.ศ. 2437 จึงได้ตั้งเป็นมณฑลเทศาภิบาล ...
Read More

“เจนละ” ชนะ “ฟูนัน” ยํ่าปราสาทวัดพู จำปาศักดิ์ ต้นกำเนิดอาณาจักรเจนละ

ก่อนจะกล่าวถึงจารึกซึ่งเป็นต้นเค้าประวัติศาสตร์นิพนธ์เมืองอุบลราชธานีใน ทางอีศาน ฉบับต่อ ๆ ไป ผู้เขียนขอวกกลับมาขยายความเรื่องปราสาทวัดพู แขวงจำปาศักดิ์ สปป.ลาว เพิ่มเติม ที่ถูกสร้างขึ้นภายหลังเจนละรบชนะฟูนัน เนื่องด้วยผู้เขียนได้ข้อมูลจากนักวิชาการชาวไทยและต่างชาติเพิ่มเติมในคราวค้นคว้าเรียบเรียงเรื่องจารึกพระเจ้าจิตรเสนฯ

ความลับของ ‘ดอกเข้าพรรษา’

แต่เดิมมีเพียงคนในพื้นที่จังหวัดสระบุรี เรียกพืชชนิดนี้ว่า ‘ดอกเข้าพรรษา’ เพราะมีดอกในช่วงต้นฤดูฝน ชาวบ้านจึงใช้ช่อดอกไม้ชนิดนี้ถวายพระสงฆ์ในเทศกาลงานบุญเข้าพรรษา อันเป็นที่มาของชื่อ คนทั่วไปอาจไม่ทราบว่า ดอกเข้าพรรษาที่เรียกกันนั้นเป็นพืชหลายชนิด ในสกุล“ข่าลิง” (Globba) ในวงศ์ขิง (Zingiberaceae) แต่ละชนิดมีความแตกต่างกันมากพอที่คนทั่วไปสังเกตสักหน่อยก็จะเห็น

เมืองที สุรินทร์ / เมืองทีโคราช, เปลาะปลอ – ปลูง – ปรู (๑)

ถามถึงบรรพชนชาวเมืองที มีเชื้อสายพูดเขมร, กวย หรือ กูย (ถูกเรียก ส่วย), มอญ บ้างมั้ย? เขาตอบไม่ได้ ผมจึงหันไปถามหญิงเจ้าของร้านค้าด้วยคำถามเดียวกัน ได้คำตอบกว้าง ๆ ว่า สองหมู่บ้านนี้อยู่ติดกันใกล้ลำนํ้ามูล ภาษาพูดก็คือไทยโคราช

ตำนานเกี่ยวกับเมืองสุวรรณโคมคำ ฉบับภาษาลาว

การก่อตั้งแว่นแคว้นทางภาคเหนือของประเทศไทยปัจจุบันตามตำนาน (ตำนานก็คือการเขียนประวัติศาสตร์ตามแบบของคนโบราณ) แว่นแคว้นแรกคือ “สุวรรณโคมคำ”

หูก กับ กี่ ต่างกันหรือไม่?

มีผู้สงสัยถามว่าคำว่า “กี่” ในคำว่า “กี่ทอผ้า” ไทยยืมคำนี้มาจากใคร จีนหรือมอญ – เขมร ตอนแรกผมก็คิดว่าคนตระกูลไทไม่ว่าจะเป็นกลุ่มไหนน่าจะมีศัพท์เฉพาะ “หูก” ProtoTai *truk D แต่ผมต้องเปลี่ยนความคิดเมื่อไปค้นในหนังสือ 傣语方言硏究 เขียนโดย Zhou Yaowen และ Luo Meizhen ในนั้นมีศัพท์คำว่า 织布机 [zhībùjī] หรือหูกทอผ้า

ฟันดาบไทย-ลาว การละเล่นใน “สมุทรโฆษคำฉันท์”

วรรณคดีที่บรรยายเรื่องมหรสพการละเล่นสยามไว้มาก คือเรื่อง “สมุทรโฆษคำฉันท์” ช่วงต้น ๆ ซึ่งเป็นฝีมือของ “มหาราชครู” กล่าวถึงมหรสพต่าง ๆ เช่น หัวล้านชนกัน, ไทย - ลาวฟันดาบ, ชวาแทงกฤช, ชนแรด ฯลฯ

ตำนานพญาศรีโคตรตะบอง

ตำนานพญาศรีโคตร, พญาศรีโคตรตระบอง, ພະຍາສີໂຄດຕະບອງ เป็นตำนานร่วมกันทั้ง แขมร, สยาม, ลาว เรื่องราวในตำนานคล้ายคลึงกัน พิจารณาแล้วน่าจะสะท้อนเรื่องราวประวัติศาสตร์ช่วง “มืดมน” คือช่วงล่มสลายของ “ยุคพระนครหลวง” (ยโศธรปุระ - นครธม) ร่วมสมัยกับการรุ่งเรืองขึ้นมาของรัฐที่ปกครองโดยชาวสยาม-ลาว

เมื่อม้ากัณฐกะไม่ได้มีสีขาวปลอดและม้าเฝ้าอุรังคธาตุน่ะมีสี

ม้าและมนุษย์มีความผูกพันกันมากว่า ๕,๐๐๐ ปีแล้ว ในวรรณกรรมต่าง ๆ ม้ายังเป็นตัวละครที่ช่วยเสริมอรรถรสด้วย เห็นในแต่ละเรื่องมีอภินิหารเป็นสุดยอดอาชาที่เก่งกล้าสามารถ แต่ก็ใช่ผู้แต่งจะเขียนบรรยายลักษณะกันเรื่อยเปื่อยนะ เชื่อไหมว่าเขามีการอ้างอิงตำราไม่ต่างจากนักเขียนนิยายสมัยใหม่เลยเชียว ตำราที่ว่านั่นคือ “ตำราม้าของเก่า” และ “ตำราม้าคำโคลง”

มังมูน บุญข้าว : เสาค้ำวัฒนธรรมอีสาน

มนุษย์ที่อาศัยในแผ่นดินอีสานค้นพบข้าวป่าและนำมาเป็นอาหาร จากยุคเก็บหาจนสามารถนำมาเพาะปลูกในผืนนาที่จัดการระบบนํ้าอย่างชาญฉลาด บนเส้นเวลาทอดยาวกว่าหมื่นปีที่วิถีข้าวและวิถีคนปรับปนจนเป็นเนื้อเดียวกัน ผูกพันก่อเกิดเรื่องราวของการผลิต การแปรรูป ความเชื่อ และประเพณี ที่สะท้อนถึงความสมบูรณ์มั่งคั่งโดยมีข้าวเป็นแก่นสารของการก่อเกิดวัฒนธรรม

โอ้ นารายณ์ขายาวผู้ลือเลื่อง

ในตำนานอุรังคธาตุ เล่าว่าเมื่อพระมหากัสสปะอัญเชิญพระอุรังคธาตุมา จากอินเดีย พระยาสุวรรณภิงคารประสงค์จะขอแบ่งพระธาตุมาบ้าง จึงมีกุศโลบายชักชวนราษฎรชายและหญิง สร้างปราสาทแข่งกัน ของ ใครเสร็จก่อนจะได้เป็นที่ประดิษฐานพระอุรังคธาตุ ฝ่ายชายจึงสร้างปราสาทภูเพ็กขึ้นแข่งกับฝ่ายหญิงที่สร้างปราสาทนารายณ์เจงเวง

นาคสิบห้าตระกูล ผู้รักษาหลวงพระบาง

พญานาคที่คุ้มครองหลวงพระบางนั้นมีสิบห้าตระกูล ที่คุ้มครองเวียงจันบางตำนานว่ามีเจ็ดตระกูล คำว่า “นาค” นั้นเป็นศัพท์ยืมมาจากอินเดีย จึงอาจมีคำถามได้ว่า แล้วก่อนที่นาคอินเดียจะมาถึงสุวรรณภูมินี้ ใครเล่าคุ้มครองหลวงพระบาง

ตำรับตำรา กับข้าวกับปลา

ท่านผู้หญิงยังแบ่งอาหารหวานคาวออกมาเป็น ๘ บริเฉทคือ อาหารทั่วไปหนึ่ง การหุงต้มข้าวหนึ่ง การต้มแกงหนึ่ง กับข้าวจานหนึ่ง เครื่องจิ้มกับแกล้มหนึ่ง ขนมของหวานหนึ่ง ผลไม้หนึ่งและเครื่องว่างของกินเล่นอีกหนึ่ง

คืนสู่รากเหง้า เวลา ที่ ผี ขวัญ

การคืนสู่รากเหง้า คือกระบวนการเรียนรู้ กลับไปสู่อีกมิติหนึ่งของเวลา ของวัฒนธรรม ก้าวข้ามทุกอย่างเพื่อเข้าถึงคุณค่าและเนื้อหาที่ดีงามของชีวิต เป็นการ “เชื่อมอดีตกับปัจจุบันเพื่อสานอนาคต”
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com