Category

ศิลปวัฒนธรรม – ประวัติศาสตร์

ชุมชนลาวในภาคกลางของสยาม (๑๓)

หลังจากสยามยกทัพใหญ่ทั้งทัพบกและทัพเรือไปตีญวนหรือเวียดนามในปี พ.ศ. ๒๓๗๖ ดังได้กล่าวไปแล้ว สงครามครั้งนั้นแม้สยามจะเกณฑ์ไพร่พลไปมากถึง ๑๒๐,๐๐๐ คน(ส่วนมากเป็นพลทหารลาว เขมร มอญ มลายู แขกจาม ทหารตะวันตกรับจ้าง) แต่ก็ต้องประสบกับความพ่ายแพ้ถอยกลับอย่างไม่เป็นขบวน ด้วยไม่ชำนาญในพื้นที่

ปราสาทสัจธรรม

บ่อยครั้งที่เคยเห็นคนไทย (ซึ่งรวมถึงตัวเราเองด้วย) ไปยืนตะลึงพรึงเพริศในความงดงามอลังการของอัครโบราณสถานหลายแห่งในต่างประเทศ วันก่อนจึงปีติอยู่ลึกๆ เมื่อได้เห็นชาวยุโรปกลุ่มหนึ่ง กำลังตะลึงในความงามอย่างวิจิตรตระการตา ของปราสาทสัจธรรม ณ เมืองพัทยา

ชุมชนลาวในภาคกลางของสยาม (๑๒)

คลองมหานาคนี้ขุดขึ้นโดยเชลยลาว เขมร ซึ่งถูกกวาดต้อนมา แล้วนำมาเป็นแรงงานในการขุดคลอง สร้างแปลงพระนคร หลังจากนั้นราวปีพ.ศ.๒๓๒๙ ทัพสยามนำกำลังเข้าตีนครรัฐปัตตานี หัวเมืองมลายู นำเชลยศึกชาวมุสลิมจำนวนมากเข้ามายังกรุงเทพฯ รวมทั้งชาวมุสลิมแขกจามที่นำมาจากสงครามกับกัมพูชาด้วย

ชุมชนลาวในภาคกลางของสยาม (๑๑)

ทัพของเจ้าพระยาธรรมาธิบดี(สมบุญ) ซึ่งรัชกาลที่๓ โปรดให้เป็นแม่ทัพคุมกำลังพลกรุงเทพฯและหัวเมืองเหนืออันได้แก่ เมืองพิษณุโลก 1,000 คน เมืองสวรรคโลก 500 คน เมืองสุโขทัย 600 คน เมืองพิจิตร 140 คน เมืองพิชัย 500 คน ปากเหือง 200 คน กองทัพเมืองเพ็ชรบูรณ์ เมืองหล่มศักดิ์ เมืองแก่นท้าว เมืองเลย

ชุมชนลาวในภาคกลางของสยาม (๑๐)

วันนี้มาต่อกันที่กองทัพของพระมหาเทพ(ป้อม) เจ้ากรมพระตำรวจ รัชกาลที่ ๓ ทรงโปรดเกล้าฯให้เป็นแม่ทัพฝ่ายตะวันออกยกทัพไปตีเวียดนามทางเหนือ(เหงะห์อาน) ในปีพ.ศ.๒๓๗๖ โดยยกทัพออกจากกรุงเทพฯพร้อมกับทัพเจ้าพระยาบดินทรเดชา(สิงห์) นำกำลังจากกรมพระตำรวจ ๔,๐๐๐ คน ไปรวบรวมกะเกณฑ์ไพร่พลหัวเมืองลาวตะวันออกอีก ๑๐,๐๐๐ คน

กำแพงกร๋อม

เคยพบ หินก่อล้อม ยุคโบราณมากมายหลายแห่งในแถบลำพูน-เชียงใหม่ อาทิ โบราณสถานดอยไซ (ต.ป่าสัก อ.เมือง จ.ลำพูน) เวียงเจ็ดลิน (ตีนดอยสุเทพ) ม่อนฤๅษี (ที่อ.แม่ออน เชียงใหม่) ล้วนแล้วแต่เก่าคร่ำนับพันปี เพราะเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ยุคต้นหริภุญไชยหรือไม่ก็เรื่อง ฤษี-มุนี หรือไม่ก็ ชาวลัวะ แทบทั้งสิ้น แต่ในตำนานกลับเรียกว่า กร๋อม หรือ กล๋อม

ชุมชนลาวในภาคกลางของสยาม (๙)

ความต่อจากครั้งที่แล้ว ก่อนที่ผมจะลงรายละเอียดการรบระหว่างกองทัพสยามกับกองทัพญวนที่คลองวามนาวในปีพ.ศ.๒๓๗๖ ขอเล่าถึงกองทัพหน้าของเจ้าพระยานครราชสีมาก่อนครับ ซึ่งเป็นกองทัพหนึ่งที่รวบรวมกะเกณฑ์ไพร่พลจากหัวเมืองลาวได้ประมาณ ๒๐,๐๐๐ คน แล้วยกลงมาเมืองเสียมเรียบของเขมร ทัพนี้เป็นทัพหน้า โดยมีทัพของเจ้าพระยาบดินทรเดชาเป็นทัพหลวง

ชุมชนลาวในภาคกลางของสยาม (๘)

ก่อนจะเล่าการสงคราม อานามสยามยุทธ์ ในปี พ.ศ.๒๓๗๖ จำเป็นต้องเล่าความสำคัญของเมืองพุทไธมาศหรือฮาเตียน ให้ท่านได้ทราบก่อนว่า เมืองพุทไธมาศนี้ในอดีตเป็นเมืองของเขมร เรียกกันว่าบันทายมาศ จากนั้นเขมรได้เสียดินแดนนี้ รวมถึงเมืองไซ่ง่อนให้แก่เวียดนาม ทำให้เวียดนามมีอิทธิพลมาถึงแหลมญวน ในราวปลายกรุงศรีอยุธยาญวนเวียดนามได้ขุดคลองจากเมืองพุทไธมาศ

ชุมชนลาวในภาคกลางของสยาม (๑)

ในอดีตนั้นอาณาจักรอยุธยาถือว่าเป็นอาณาจักรบ้านพี่เมืองน้องกับอาณาจักรล้านช้าง อันถือเป็นแผ่นดินแม่ของกลุ่มคนไท-ลาวก็ว่าได้ เหตุเพราะทั้งไทยและลาวก็ล้วนเป็นลูกหลานขุนบรม ซึ่งทั้งสองฝ่ายเข้าใจกันดี แม้นช่วงหนึ่งของหน้าประวัติศาสตร์พระเจ้าฟ้างุ้มทรงรวบรวมแผ่นดินลาวให้เป็นปึกแผ่นและยาตราทัพเข้าใกล้ชายแดนอาณาจักรอยุธยา พระเจ้าอู่ทองแห่งอาณาจักรอยุธยาถึงกับส่งสาส์นมาขอเป็นไมตรี

สายแนน กกแนน จากตำนานขูลูนางอั้ว

กกแนนเกี่ยวพันกันจึงนำจ่อง ปลายหากเนิ้งหนีเว้นจากกัน มียอดด้วนกุดขาดตายใบ หนองวังบกขาดลงเขินท้าง อันหนึ่งน้ำบ่อแก้วเหลือตลิ่งหนองหลวง กลายเป็นแหนหนามจอกขาวตันท้าง

“รอยทาง เจริญธรรม” กาญจนบุรี

ภาพบันทึกการเดินทาง แถลงข่าวหนังสือ"รอยทาง เจริญธรรม" 13-15 มิ.ย. 2557 และตามรอยอนุสรณียสถาน"สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช" ที่จังหวัดกาญจนบุรี กับ "กลุ่มกล้องกับปากกา ด้วยดวงตาและหัวใจ" โดย สงคราม โพธิ์วิไล, สมปอง ดวงไสว, ธีรภาพ โลหิตกุล และที่ปรึกษา-ประสานงาน กิติมาภรณ์ จิตราทร

ศิลปะวัดไทลื้อ

ความสุขเมื่อได้เดินทางไปในท้องถิ่นชนบทประการหนึ่ง คือการแวะชม “วัดบ้านๆ” ที่แม้จะไม่ใช่ “อารามหลวง” แต่มักมีอะไรแปลกๆ สนุกๆ ให้เราค้นหาเสมอ อย่างเมื่อครั้งตั้งใจไปชมดอกชมพูภูคาบานที่น่าน ก่อนไปถึงได้แวะชมวัดต้นแหลง ของชุมชนชาวลื้อเขตอำเภอปัว

ประชาธิปไตย เบื้องต้นสำหรับสามัญชน ปรีดี พนมยงค์

ถ้าชนส่วนมากซึ่งเป็น “สามัญชน” ถูกตัดสิทธิมนุษยชนโดยให้มีหน้าที่แต่อย่างเดียว สามัญชนก็มีลักษณะเป็นทาส หรือข้าไพร่ของชนส่วนน้อยซึ่งมีสิทธิใหญ่ยิ่งหรือ “อภิสิทธิ์ชน” แบบการปกครองจึงไม่ใช่ประชาธิปไตย ถ้าสามัญชนมีสิทธิมนุษยชนอย่างเดียว โดยไม่มีหน้าที่ มนุษยชนแบบการปกครองก็เกินขอบเขตของประชาธิปไตย

มงคลนิมิต สู่จิตทรรศน์ “ศตวรรษิกชน”

ณ วารกาลเถลิงศกใหม่ พุทธศักราช ๒๕๕๗ นี้ ขออำนวยพรดลบันดาลผู้อ่านทุกท่านได้บริบูรณ์ด้วยสุขสนุก สุขสบาย สุขสว่าง สุขสงบ สุขสง่า สุข เท่าทัน และอายุมั่นขวัญเพริศพร้อยเป็นร้อยปี กันอย่างถ้วนหน้าสืบไป องค์การสหประชาชาติได้นิยามไว้ว่า ประเทศใดที่มีประชากรอายุ ๖๐ ปีขึ้นไปในสัดส่วนร้อยละ ๑๐ หรืออายุ ๖๕ ปีขึ้นไป เกินร้อยละ ๗ ของจำนวนประชากรทั้งหมด ถือว่าประเทศนั้นได้ก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com