Category

ศิลปวัฒนธรรม – ประวัติศาสตร์

กาลเวลาของชาวอีสานในอดีต

ชาวอีสาน เป็นกลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมอันเก่าแก่และสวยงามที่เรียกว่า กลุ่มชนวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำโขง หรือกลุ่มชนวัฒนธรรมไทลาว ซึ่งในอดีตเคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านช้าง เป็นกลุ่มชนที่มีมรดกทางศิลปวัฒนธรรมอันโดดเด่น เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ในการเรียกชื่อเวลาหรือนับกาลเวลา

ຂບ ລຳ ລາວ ມາແຕໃສ ? “ขับ-ลำ”ลาว มาจากไหน ?

ເຕນຮຳ (ເຕນລຳ) เต้น รำ คำนี้คนไทยนิยมใช้ส่วนคนลาวไม่ใช้กันมาก มีแต่คนในเมืองที่ชอบไปม่วนชื่นในสถานบันเทิงใช้กัน มันเป็น คำประสมระหว่าง “เต้น ” ที่เป็น ภาษาลาว และ “รำ” ที่เป็น ภาษาแขมร์ เต้นรำก็คือการไปฟ้อน/เต้น ด้วยลีลาท่าทางตามเสียงเพลง (ไม่ใช่การเต้นแล้วลำ โอ่ยละนอ...ไปพร้อมกัน) คนลาวไม่รัวลิ้นเมื่อพูดตัว ร. ก็เลยพูดออกเสียงเป็นตัว ล.ลิง ว่า “ลำ” แทน

รำลึก อ่ำ บุญไทย “กฤดาการบนที่ราบสูง”

ดังเช่น “... (ง) สมัยอำนาจกษัตริย์ ผู้ชกเก่งต่อยเก่ง คิดเก่ง รบเก่งได้ตั้งตัวเป็นหัวหน้า ใช้หลักของผีหรือพระเจ้าและของศาสนาหรือศาสดาคุมกันเข้ากับแนวความคิดและประเพณีนิยมเป็นหลักกฎหมาย มีกษัตริย์เป็นผู้ปกครองอย่างพ่อใหญ่ดูแลทุกข์สุข มีข้าราชการแบ่งแยกงานไปช่วยทำแทนหูแทนตา...(จ) สมัยอำนาจประชาชน ต่อมาฝูงชนฉลาดขึ้น จึงเข้าช่วยคิดอ่านจัดการบ้านเมืองร่วมมือกับกษัตริย์ตามความต้องการของประชาชนเลือกตั้งผู้แทนเข้าออกเสียงแทนตน

รำลึก วันเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕

แนวคิดเศรษฐศาสตร์ในขณะนั้น ได้พัฒนาก้าวข้ามแนวคิดเศรษฐศาสตร์แบบเสรีนิยม ที่มองแรงงานว่าเป็นปัจจัยหนึ่งในกระบวนการผลิตแบบทุน หากแต่ได้นำเสนอมโนทัศน์ของแรงงานและราษฎร ในอีกลำดับขั้นของการพัฒนาที่เหนือกว่าและเป็นผลต่อเนื่องจากพัฒนาการในระบบทุนนิยมเอง เข้าสู่การเป็นเจ้าของและเป็นนายเหนือทุนและที่ดินเลย

วันที่ลงจากเตียงผิดด้าน

เจ้าสุนัขพิตบูล หัวใหญ่ หน้าทะเล้น ที่มักโถมเข้ามาชวนเล่นราวตอร์ปิโดทุกคราวที่พบกัน บัดนี้ตาเหลือกลาน ขาทั้งสี่ข้างเหยียดเกร็ง น้ำลายฟูมปาก นี่มันอดทนต่อฤทธิ์ของยาพิษนั่นตั้งแต่เช้าเชียวหรือ ภาพนั้นทำให้หัวใจฉันกระตุกวูบ ที่หัวตาไม่มีการกะพริบตอบสนองเมื่อยามเคาะ

คำของ ‘ท่านกูฏ’ อัตชีวประวัติ พงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา ตอนที่ ๓

ที่นี่ผมได้พบกับคนมีชื่อเสียงของจังหวัดอุบลราชธานี ถึง ๒ คน คนแรกคือ อาจารย์ไพบูลย์ สุวรรณกูฏ หรือที่คนในวงการศิลปะเรียก “ท่านกูฏ” ศิษย์รุ่นแรกของ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี และอีกท่านคือ ศิลปชัย ชาญเฉลิม หรือ “นายหนหวย” นักเขียน-นักหนังสือพิมพ์ และยังเป็นนักจัดรายการที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเนื่องจากท่านทั้งสองมาบวชที่วัดสุปัฏวนาราม และเป็นโอกาสดีที่ผมได้เป็นผู้รับใช้ใกล้ชิดท่านทั้งสอง

ผักกะแญง แรกแย้ม: อัตชีวประวัติ พงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา ตอนที่ ๑

ตอนเรียนอยู่ ม.๕ ไปหาซื้อของเร่ขาย ขายแป้งบาหยัน ขายสบู่ ร้องเพลงเลาะขาย สมเกียรติมาบอกแม่ว่า อ้ายพงษ์ไปเลาะขายของบ่ไปโรงเรียน แม่ใจหายวับเป็นห่วงลูก ย่านลูกเรียนบ่จบ ไอ้พงษ์มันแปลกบ่คือผู้ได๋ เกือบลูกบ่จบ ม.๖ อาจารย์เฉลิม สุขเสริมมาบอกแม่ว่า ลูกเจ้าบ่เข้าเรียนสิบ่ได้สอบ แม่ได้ขอครูให้ลูกสอบ ถึงบ่เข้าเรียนลูกกะบ่แม่นคนชั่วบ่มีนิสัยเกเร มันไปเรียนรู้ตามอารมณ์ของมัน ครูเลยให้สอบ ผลการเรียนออกมา ไอ้พงษ์สอบได้ที่ ๑

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านหนองบัวโคก อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์

ทางอีศาน 13: “พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านหนองบัวโคก เป็นพิพิธภัณฑ์ขนาดเล็ก เกิดขึ้นจากการสะสมเครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้านส่วนตัว มาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๒ ด้วยการขอบริจาค ขอซื้อ รวมทั้งขอแลกเปลี่ยนจากชาวบ้าน ในเขตอำเภอลำปลายมาศแล้วขยายไปตามพื้นที่ต่าง ๆ ตามโอกาสที่มี โดยใช้วิธีค่อยเป็นค่อยไป ไม่เร่งรีบสะสมแต่อย่างใด เมื่อเห็นว่ามีเครื่องมือเครื่องใช้พอสมควร สามารถจัดแยกหมวดหมู่ จึงได้เปิดให้ผู้อื่นมาชื่นชมได้”

พรมแดนไทย สมัยต้นรัตนโกสินทร์

ในขณะที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีกำลังตรากตรำพระราชภารกิจกอบกู้บ้านเมือง และเร่งขยายขอบขัณฑสีมาอยู่นั้น ทางกรุงเวียงจันทน์ก็เกิดกรณีขัดแย้งกับเมืองหนองบัวลุ่มภู หรือนครเขื่อนขัณฑ์กาบแก้วบัวบาน จนเป็นตำนานในประวัติศาสตร์เมืองอุบลราชธานีในปัจจุบัน

เก้าพิธีกรรมขอฝน (Nine Rain Rituals)

เมื่อฝนไม่ตกเพราะเหตุดังกล่าว บรรพชนเราจึงคิดค้นพิธีกรรมขอน้ำฝนขึ้นมาตามความเชื่อของตน ขอน้ำฝนจากแถน เทพบุตร เทวดาองค์ที่มีหน้าที่ให้น้ำฝนน้ำฟ้าประทานแก่ชาวโลกทั้งมวลหากองค์ท่านไม่พึงพอใจก็ไม่ทำหน้าที่ ทำเป็นเฉยเมยไปเสีย ดังนั้น ปราชญ์บรรพชนเราจึงทำพิธีกรรมขอฝน ซึ่งที่เคยมีมาแล้วนั้นไม่น้อยกว่า ๙ พิธีกรรม

จักรินทร์ สร้อยสูงเนิน

ผมเป็นนักเขียนได้เกิดจากการอ่านหนังสือคนจะเขียนหนังสือต้องอ่านหนังสือ ถ้านักเขียนคนไหนไม่อ่านหนังสือ คุณจะเป็นนักเขียนได้แค่เศษสวะ และเป็นวรรณกรรมที่มาแล้วหายไป จะไม่มีชื่อปรากฏในวงการนักเขียนไทย

วรรณกรรมไทยจากมุมมองญี่ปุ่น ผ่านข้อเขียนของ โช ฟุกุโทมิ

ทางอีศาน 12: ส่วนวรรณกรรมไทยนั้น ได้รับความสนใจจากคนญี่ปุ่นน้อยมาก เว้นแต่งานเขียนของนักเขียนหนุ่มรุ่นใหม่อย่างปราบดา หยุ่น ซึ่งได้รับการแปลเป็นภาษาญี่ปุ่นแทบทุกชิ้น และคนอ่านญี่ปุ่นให้การต้อนรับค่อนข้างมาก เพราะอะไร เดี๋ยวค่อยพูดถึง โช ฟุกุโทมิ ชี้ว่า คนญี่ปุ่นมองวรรณกรรมไทยอย่างเป็น (แค่) “ไกด์บุ๊ค” ซึ่งก็คือหนังสือนำเที่ยวนั่นเอง !

เย็นทั่วหล้ากับอาเซียนฟีเวอร์ พะเรอเกวียน !

ปีนี้ศุกร์เป็นอธิบดีฝน บันดาลให้ฝนตก ๖๐๐ ห่า แบ่งเป็นตกในจักรวาล ๒๔๐ ห่า ตกในป่าหิมพานต์ ๑๘๐ ห่า ตกในมหาสมุทร ๑๒๐ ห่า และตกในโลกมนุษย์เพียง ๖๐ ห่า มีนาคราชให้น้ำเพียงตัวเดียว ฝนแรกปีมาก กลางปีงาม ปลายปีน้อยแลฯ คำทำนาย เกณฑ์ธัญญาหารชื่อ “ปาปะ” ข้าวกล้าในไร่นาจะได้ ๑ ส่วน เสีย ๑๐ ส่วน คนทั้งหลายจะตกลำบากยากแค้น เพราะเกิดกันดารอาหาร และเสียหายเป็นจำนวนมาก ทั้งจะเกิดอันตรายขึ้นกลางเมือง จะเกิดเพลิง โจรผู้ร้าย และจะเจ็บไข้นักแลฯ ปีนี้ถือว่าน้ำน้อย

กลยุทธสามก๊ก

วงสนทนาวันนั้น มีผู้ เอ่ยถึงวรรณกรรมจีน กับวรรณกรรมอินเดีย  พูดคุยกันถึงสามก๊ก ฉบับวณิพก ของยาขอบ  ฉบับนายทุน ของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช และฉบับเจ้าพระยาพระคลังหน
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com