Category

ศิลปวัฒนธรรม – ประวัติศาสตร์

กลอนบทละคร (๑)

กลอนบทละครมีมาแล้วตั้งแต่ยุคกรุงศรีอยุธยา แต่จะมีบทละครจบเรื่องครบถ้วนอย่างที่มาแต่งกันในยุครัตนโกสินทร์หรือไม่ ก็ตัดสินยาก เพราะต้นฉบับสูญหายไปครั้งกรุงแตก แต่หลักฐานมียืนยันได้ว่า มีการแต่งเป็น “บทร้อง” และก็น่าจะร้องเล่น (แสดงละคร) กันทั้งคืนเป็นเวลาหลายคืน

ตำนานหลังเสื้อยึด “หมาเก้าหาง” ของทางอีศาน

คนในสุวรรณภูมิเมื่อ 3,000 ปีมาแล้ว ยกย่องหมาเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์มี 9 หาง เอาพันธุ์ข้าวจากเมืองฟ้า ลงมาให้มนุษย์ปลูกกินเป็นอาหาร มีคำบอกเล่าของชาวจ้วง อำเภอหลงโจว ในมณฑลกวางสี มีความว่า แต่ก่อนคนเรายังโง่ ยังไม่มีข้าวกิน เพราะไม่รู้จักและไม่มีเมล็ดพันธุ์ข้าวปลูก ครั้งนั้นมีหมา 9 หางตัวหนึ่งขึ้นไปบนสวรรค์

วิจารณ์ “บันทึกการเดินทางในลาว” ของ เอเจียน แอมอนิเย

หนังสือแปล “บันทึกการเดินทางในลาว ภาคหนึ่ง พ.ศ.๒๔๓๘” กับ “ภาคสอง พ.ศ.๒๔๔๐” [๑] จากบันทึกของ เอเจียน แอมอนิเย (Etienne Aymonier) มาสำรวจหาศิลาจารึกทำสำเนาและสำรวจภูมิประเทศเพื่อสร้างแผนที่ก่อแนวเขตดินแดนสยาม-ลาว-เขมร เบื้องต้นตามอำเภอใจ ก่อนหน้า ๑๐ ปีจะเกิด “วิกฤตปากน้ำ ร.ศ.๑๑๒”

ที่มาของคำ “กระซิบรักบันลือโลก” ภาพฝาผนังวัดภูมินทร์ น่าน

ปฏิเสธไม่ได้ว่า ภาพ ปู่ม่านย่าม่าน จิตรกรรมฝาผนังของวัดภูมินทร์ภาพนี้ เป็นสุดยอดของภาพเขียนในยุคร้อยกว่าปีที่ผ่านมา คงไม่มีคำพูดใดๆ จะกล่าวชื่นชมได้เหมาะสม ทั้งในแง่งามของสุนทรียศาสตร์ ความสมดุล อารมณ์ เฉดสี พลังที่กระแทกใจผู้ชม สรุปคำและความแล้ว ผมมักจะเรียกรวมด้วยความเคารพช่างเขียนท่านนี้ว่า เจริญทัศน์ นักหนา

กรณีเวียดนามขอพระองค์ตื้อจากลาว

ตอนนี้กำลังเป็นข่าวที่ฮือฮาพอสมควรเกี่ยวกับพระพุทธรูปในวัดองค์ตื้อ เรื่องมีอยู่ว่า เมื่อประมาณปีกลาย ได้มีหนังสือขอพระพุทธรูปในนามธนาคาร BIDV ซึ่งเป็นธนาคารของเวียดนามในลาว ขอมาในนามประธานของธนาคาร เรื่องมีอยู่ว่า

ลำดับกษัตริย์อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ท้าวนองและท้าวลอง

ลำดับกษัตริย์อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ยังเป็นที่สับสนกันอยู่ว่าหลังพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ ๒ (พระไชยองค์เว้) สิ้นพระชนม์ ท้าวนองและท้าวลองใครกันที่ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระไชยองค์เว้ บางตำราว่าท้าวนองและท้าวลองคือคน ๆ เดียวกัน

จุ้มใบ-พระราชโองการ ของกษัตริย์หลวงพระบาง

ในบรรดาใบจุ้มทั้งหมดในหอสมุดแห่งชาติของไทย ที่มีทั้งเขียนบนกระดาษและผ้าฝ้าย จำนวนกว่า ๖๙ ฉบับ มีใบจุ้มฉบับหนึ่ง เป็นใบจุ้มเลขที่ ๘ ลงศักราชไว้ ๑๒๐๐ ตัว(จุลศักราช) หรือพุทธศักราช ๒๓๘๑ ราวรัชสมัยเจ้าสุกเสริม แห่งอาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง

จุ้มหรือตราราชลัญจกร สมัยล้านช้าง

จุ้มหรือตราราชลัญจกร สมัยพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช ซึ่งเป็นกษัตริย์ที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดของอาณาจักรล้านช้าง ตั้งแต่ พ.ศ.๒๑๘๑-๒๒๓๘ ระยะเวลากว่า ๕๗ ปี ถือเป็นกษัตริย์ล้านช้างอีกองค์หนึ่งที่ทำให้อาณาจักรล้านช้างมีเจริญความรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก ทั้งฝ่ายอาณาจักรและศาสนจักร

ความเป็นมาพระแก้วมรกต (พระแก้วเขียว)

หากยึดตามตำนานพระแก้วมรกตนั้น ว่ากันว่าสร้างตั้งแต่ราว พ.ศ.๕๐๐ โดยพระนาคเสน ที่เมืองปาฏลีบุตร แล้วมีการโยกย้ายองค์พระไปยังอีกหลายที่ ซึ่งผมมีความเห็นว่าเป็นตำนานที่แต่งเติมกันขึ้นมาภายหลัง เนื่องด้วยพระแก้วมรกตนี้เป็นพระพุทธรูปสกุลช่างเชียงแสน น่าจะมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๐ และเป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในแถบหัวเมืองเหนืออย่างแน่นอน

ชุมชนลาวในภาคกลางของสยาม (๑๔)

สงครามเริ่มต้นด้วย กองทัพของพระยาพิชัยนำกำลังพล 500 คน บุกตีค่ายญวนที่เมืองโสย ทัพพระยาพิชัยฆ่าทหารญวนได้ทั้งหมดจำนวน 200 คน พอเวลาเย็น กองทัพพระยาสุโขทัย พระยาพิชัย และกองทัพใหญ่พระยาสวรรคโลก ก็เคลื่อนทัพเข้าเมืองโสย พอดีค่ำๆเจ้าเมืองพวนก็ส่งหนังสือมาแจ้งว่า กองทัพพระราชวรินทร์ก็ได้เข้าเมืองพวนมาตั้งแต่ เดือนสามแรมสิบสามค่ำแล้ว

ชุมชนลาวในภาคกลางของสยาม (๑๓)

หลังจากสยามยกทัพใหญ่ทั้งทัพบกและทัพเรือไปตีญวนหรือเวียดนามในปี พ.ศ. ๒๓๗๖ ดังได้กล่าวไปแล้ว สงครามครั้งนั้นแม้สยามจะเกณฑ์ไพร่พลไปมากถึง ๑๒๐,๐๐๐ คน(ส่วนมากเป็นพลทหารลาว เขมร มอญ มลายู แขกจาม ทหารตะวันตกรับจ้าง) แต่ก็ต้องประสบกับความพ่ายแพ้ถอยกลับอย่างไม่เป็นขบวน ด้วยไม่ชำนาญในพื้นที่

ปราสาทสัจธรรม

บ่อยครั้งที่เคยเห็นคนไทย (ซึ่งรวมถึงตัวเราเองด้วย) ไปยืนตะลึงพรึงเพริศในความงดงามอลังการของอัครโบราณสถานหลายแห่งในต่างประเทศ วันก่อนจึงปีติอยู่ลึกๆ เมื่อได้เห็นชาวยุโรปกลุ่มหนึ่ง กำลังตะลึงในความงามอย่างวิจิตรตระการตา ของปราสาทสัจธรรม ณ เมืองพัทยา

ชุมชนลาวในภาคกลางของสยาม (๑๒)

คลองมหานาคนี้ขุดขึ้นโดยเชลยลาว เขมร ซึ่งถูกกวาดต้อนมา แล้วนำมาเป็นแรงงานในการขุดคลอง สร้างแปลงพระนคร หลังจากนั้นราวปีพ.ศ.๒๓๒๙ ทัพสยามนำกำลังเข้าตีนครรัฐปัตตานี หัวเมืองมลายู นำเชลยศึกชาวมุสลิมจำนวนมากเข้ามายังกรุงเทพฯ รวมทั้งชาวมุสลิมแขกจามที่นำมาจากสงครามกับกัมพูชาด้วย

ชุมชนลาวในภาคกลางของสยาม (๑๑)

ทัพของเจ้าพระยาธรรมาธิบดี(สมบุญ) ซึ่งรัชกาลที่๓ โปรดให้เป็นแม่ทัพคุมกำลังพลกรุงเทพฯและหัวเมืองเหนืออันได้แก่ เมืองพิษณุโลก 1,000 คน เมืองสวรรคโลก 500 คน เมืองสุโขทัย 600 คน เมืองพิจิตร 140 คน เมืองพิชัย 500 คน ปากเหือง 200 คน กองทัพเมืองเพ็ชรบูรณ์ เมืองหล่มศักดิ์ เมืองแก่นท้าว เมืองเลย

ชุมชนลาวในภาคกลางของสยาม (๑๐)

วันนี้มาต่อกันที่กองทัพของพระมหาเทพ(ป้อม) เจ้ากรมพระตำรวจ รัชกาลที่ ๓ ทรงโปรดเกล้าฯให้เป็นแม่ทัพฝ่ายตะวันออกยกทัพไปตีเวียดนามทางเหนือ(เหงะห์อาน) ในปีพ.ศ.๒๓๗๖ โดยยกทัพออกจากกรุงเทพฯพร้อมกับทัพเจ้าพระยาบดินทรเดชา(สิงห์) นำกำลังจากกรมพระตำรวจ ๔,๐๐๐ คน ไปรวบรวมกะเกณฑ์ไพร่พลหัวเมืองลาวตะวันออกอีก ๑๐,๐๐๐ คน
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com