สาวผู้ไทในนอร์เวย์ ปึ้มใหม่ของสำนักพิมพ์ “ทางอีศาน”
เรื่องราวเข้มข้นปนขันขื่นของสาวผู้ไทอุดรธานีกับวิศวกรหนุ่มใหญ่นอร์วีเจี้ยน และ “อิเบะ” ยายผู้หาญกล้าเคลื่อนโลกตนเองจากท้ายไร่อ้อยอีสานเหนือไปบรรจบป่าแครนเบอร์รี่บนภูสูงนอร์เวย์ จนถึงชายทุ่งเยอรมนี เพื่อเยี่ยมยามถามข่าวลูก หลาน เหลน
ผักดอง…ทําไมจึงดอง
เคยสงสัยไหมครับว่าผักสดก็มีออกถมไป ทำไมต้องกินผักดองตอบแบบไม่ต้องใช้อวัยวะระหว่างหูคิดก็ได้ว่า ก็มันอร่อยนะสิฝรั่งมีแตงดอง (pickled cucumber) กะหลํ่าปลีดอง (sauerkraut) เกาหลีมีกิมจิญี่ปุ่น จีน มีขิงดอง ผักกาดดอง มะเขือดอง เต้าเจี้ยว ฯลฯ เครื่องจิ้มของอินเดียที่เรียก ชัทนีย์ ก็เป็นผักผลไม้ดองแบบหนึ่ง ส่วนกับข้าวไทย ต้มจืด ผักกาดดอง แกงคั่วหน่อไม้ดอง (กับปูม้า หรือหอยแมลงภู่) ผักก็มีผักเสี้ยนดองจิ้มน้ำพริกกะปิ และอีกสารพัด พูดแล้วนํ้าลายไหล
เบอร์เดียวกัน
พ่อเฒ่ามินกับลูกเขยชื่อบักวินับว่าเป็นพ่อเฒ่ากับลูกเขยที่สวรรค์จัดมาให้ ถูกคู่กันจริง ๆ มีหลายเรื่องที่พ่อเฒ่ากับลูกเขยคู่นี้ ได้สร้างวีรกรรม หรือใช้วาทกรรมต่อกันให้ชาวบ้านได้ฟัง และครึกครื้นกันมาอยู่บ่อยครั้ง พ่อเฒ่ามินเป็นทนายความ วาทะหรือคารมคมคายก็ไม่ใช่ธรรมดา ปั้นนํ้าให้เป็นตัวก็ยังได้ส่วนบักวิผู้ลูกเขยมันเคยเป็นครูมาก่อน คารมครูวิก็ไม่ธรรมดาเหมือนกัน ครูสาวหลงคารมมันมานักต่อนักแล้ว
เลือกได้ตามใจเธอ
พ่อเฒ่านง มีลูกเขยชื่อว่าบักมี บักมีมันเป็นผู้หมั่นเฮ็ดเวียกเฮ็ดงาน ขยันพอสมควร ซึ่งกะเป็นที่พอใจของพ่อเฒ่านงหลาย ถือว่าลูกสาวเลือกผัวได้ถืกต้อง บ่ขี้คร้านคือลูกเขยผู้อื่นแต่ว่าบีกมีมันอยากเป็น คนหล่วง (ล่วงเกิน) แหน่จั๊กหน่อย มักสอดรู้ สอดเห็น พูดจาเสียดแทงกระทบคนนั้นกระทบคนนี้อยู่บ่อย ๆ แต่พ่อเฒ่านงก็ไม่ถือสา
หน่อไม้-ต้นไผ่ เรื่องไหนรู้จริง
แทบไม่มีคนไทยคนไหนไม่รู้จักต้นไผ่ เราล้วนเคยเห็นป่าไผ่ กระท่อมไม้ไผ่ ตะกร้าสาน ขลุ่ยไม้ไผ่ ตะเกียบไม้ไผ่ ซุปหน่อไม้ ฯลฯ จนคุ้นเคยแบบหลับตาก็นึกภาพได้ แต่เอาเข้าจริง สิ่งที่เราคิดว่ารู้เกี่ยวกับต้นไม้พื้นบ้านชนิดนี้นั้น จริงเท็จแค่ไหน หวังว่าเรื่องราวต่อไปนี้ คงช่วยตอบคำถามที่หลายคนไม่เคยคิดจะถามได้บ้าง
เขากินอะไรเป็นข้าวกัน
ในแต่ละมื้ออาหารปกติของคนทั่วโลก ต้องมีของกินที่เป็นหลักอยู่อย่างหนึ่ง สำหรับคนไทยแล้วของกินที่ว่านั้นคือ ข้าว แล้วคนชาติอื่นกินอะไร บางคนบอกฝรั่งกินขนมปัง แต่เอ คนแอฟริกากินอะไรเล่า ในยุคสมัยที่ร้านอาหารไม่ถูกจำกัดด้วยความเชื่อ
สถิติ
พ่อเฒ่าเสือเป็นคนเจ้าชู้เห็นสาว ๆ หรือแม่ฮ้างนางหม้ายมาอยู่ใกล้ ๆ มักจะมีเรื่องหยอก เรื่องแซว หรือหยิกแกมหยอกเขาอยู่เสมอ จนชาวบ้านให้ฉายาไปต่าง ๆ นานา บ้างก็ว่า “เฒ่าหัวงู” บ้างก็ว่า “เฒ่าบ่อยู่สมเฒ่า” หรือว่า “เฒ่าไก่แจ้” ก็เคยมี
สมุนไพรระงับปวด
“ปวด” คำ ๆ เดียวนี้ ทุกคนได้ยินเหมือนกัน แต่รับรู้ไม่เหมือนกัน คนส่วนใหญ่ไม่ชอบความเจ็บปวด แม้ว่าต้องพบเจอตั้งแต่เกิดจนตาย ความรู้สึกเจ็บปวดเป็นคุณสมบัติอันจำเป็น ที่ทำให้สัตว์ตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่อาจเป็นอันตรายต่อตนเอง ถ้าไม่มีความรู้สึกเจ็บปวดทารกที่เกิดมาคงอยู่รอดได้ไม่เกินหนึ่งวัน
จักรกฤษณ์ การะเกต
จักรกฤษณ์เป็นคน อ.นารอง จ.บุรีรัมย์
เขาเป็นศิลปินแนว Modern Impressionist และอดีตหมาด ๆ จากหน้าที่อาจารย์ประจำภาควิชาทัศนศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเป็นผู้ที่มีความผูกพันกับผืนป่ามรดกโลก อันประกอบไปด้วย เขาใหญ่ ปางสีดา ทับลาน ตาพระยา เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ ฯลฯ ดังนั้นผลงานทั้งหมดที่ผ่านมาจึงล้วนแต่ได้แรงบันดาลใจมาจากธรรมชาติ สัตว์ป่า ต้นไม้ ดอกหญ้า ภูเขา สายน้ำ หมู่เมฆ
ต้นงิ้ว กามารมณ์ และการลงทัณฑ์
คุณคิดว่า ต้นงิ้วมีลักษณะอย่างไรหรือ อ๋อ ก็มีลำต้นตรง โตขนาดโอบได้ มีหนามแหลมยื่นยาวออกมาจากต้นโดยรอบ แล้วใบงิ้วเป็นอย่างไร ไม่รู้ซินะ นึกไม่ออก เขาว่ามีอยู่ในนรกไง รู้ได้ไงหรือ อ๋อ เคยได้ยินเพลงร้องว่า “...ต้นงิ้ว กระทะทองแดง เอาหอกแหลมแทง ทุกวันทุกวัน” แล้วเคยเห็นของจริงไหม “บ้าละซี ยังไม่ตายนี่ ถึงตายก็ไม่อยากเห็น”
ฤๅสับปะรดเป็นหัวอยู่ใต้ดิน
ทำไมคนไทยจึงเรียก สับปะรด มีหลายความเห็น แต่ล้วนขาดหลักฐานยืนยัน ยากสรุป จากบันทึกของลา ลูแบร์ คำนี้มีมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์แล้ว ในเอกสารเก่า ๆ บางทีก็เขียน สัปรด ขณะที่ภาษาถิ่นตามภาคต่าง ๆ เรียกชื่อผลไม้ชนิดนี้ตามเสียง อะนานาส ว่า ยานัด หมากนัด บ่าขะนัด คล้าย ๆ กัน
ถั่วเหลือง ถั่วแระ และถั่วเน่า
สามพันกว่าปีก่อน มนุษย์คนหนึ่งนำเมล็ดถั่วป่าหยอดลงในผืนดินทางตอนเหนือของประเทศจีน นับเป็นการเพาะปลูกถั่วชนิดนี้เป็นครั้งแรกในโลก อีกพันกว่าปีต่อมา ถั่วชนิดนี้แพร่หลายไปยังดินแดนญี่ปุ่น ชมพูทวีป และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ดอกมะเดื่อเป็นของหายาก…จริงหรือ?
คนในเมืองรู้เพียงว่า มะเดื่อเป็นชื่อต้นไม้ บ้างรู้ดีขึ้นไปอีกว่า ลูกมะเดื่อมักมีแมลงหวี่อยู่ข้างใน บ้างก็ว่าผลมะเดื่อฝรั่งนั้นอร่อยนัก คนชนบทเสริมว่า ใบและผลอ่อนของมะเดื่อกินได้ อีกคนบอกในป่ามีมะเดื่อลูกโต ผลสุกสีแดงหวานอร่อย
กลับจากอบรม
ใกล้วันปิดการอบรมแล้ว สุพิศดีใจจะได้กลับบ้าน ไปอยู่กับเมีย ด้วยความคึดฮอด สุพิศวางแผนโดยได้ข้อคิดจากโครงการที่ไปเข้าอบรมคือ “ผู้นําการเปลี่ยนแปลง ” จงโทรบอกเมียรักว่า ถ้าข้อยกลับไปถึงบ้าน เจ้าจะต้องทําทีเป็นปวดหัวเป็นไข้แทบเดินไม่ไหวเลยนะ ส่วนข้อยจะทําทีปวดท้องอย่างรุนแรง เนื่องจากกินอาหารแสลงมาจากที่อบรม จะได้ให้พ่อเฒ่าไปซื้อยาที่บ้านเหนือ! แล้วเราจะอยู่ลําพังกันสองคน ผู้เป็นเมียก็เห็นด้วยกับแผนอันแยบยลของคนมีหัวระดับศึกษานิเทศก์!
ผักหวานบ้าน-ผักหวานป่า
ผักหวานของคนในกรุง กับผักหวานของคนชนบท เป็นไม้คนละชนิดกัน เพื่อมิให้สับสนชาวกรุงจึงเรียกผักหวานแบบดั้งเดิมที่พวกเขารู้จักว่า ผักหวานบ้าน และเรียกผักหวานของชาวชนบทว่า ผักหวานป่า ส่วนชาวชนบทยังคงเรียกผักหวานของเขาเช่นเดิม ไม่รับรู้ทั้งผักหวานบ้าน และผักหวานป่า