Category

ศิลปวัฒนธรรม – ประวัติศาสตร์

ประวัติและที่มา ทำไมเจ้าของแผ่นดินจึงได้ชื่อว่า เจ้าแม่นางธรณี และนกกะแดดเด้า

ในคัมภีร์ปฐมกัปป์ได้บอกไว้มีว่า “ลมชูนำน้ำกะเล่าซูปลา ปลาชูหินหินชุดินจังบ่จมลงได้ลมพัดให้เป็นดินสองแผ่น แผ่นหนึ่งหญิงอยู่เฝ้าเป็นเจ้าแผ่นดิน แผ่นหนึ่งชายอยู่เฝ้าเป็นเจ้าแผ่นดิน ไกลกันล้ำพอประมาณฮ้อยโยชน์ แล้วจั่งติดต่อจ้ำกันเข้าแผ่นเดียว” เกิดแผ่นดินและสิ่งมีชีวิตขึ้นในโลกนี้ มีทั้งสวรรค์ นรก อเวจี ครุฑ นาค เทวดา พระอินทร์ พระพรหม พระอาทิตย์และพระจันทร์ แต่ยังไม่มีแสงส่องพื้นโลก

วัดหลวงปากเซ การประสมประเสที่น่าทึ่ง

“ปากเซ” เป็นเมืองเอก หรือเมืองศูนย์กลางของแขวงจำปาสัก และยังถือเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ การค้า การคมนาคม ของสปป.ลาว ในเขตภาคใต้ อีกทั้งยังเป็นศูนย์การศึกษาพระพุทธศาสนาที่ใหญ่ที่สุดของลาวอีกด้วย

ท้าวผาแดง – นางไอ่

วรรณคดีภาคอีสานโบราณซึ่งมีอยู่ในหนังสือผูกที่สำคัญเรื่องหนึ่งคือ “ท้าวผาแดง-นางหนังสือผูกนี้โดยปกติจานลงในใบลานเป็นตัวหนังสือไทยน้อย โดยทั่วไปตัวหนังสือที่ใช้อยู่ในภาคอีสานแต่ก่อนนั้นมีอยู่ ๓ แบบ ตัวหนังสือไทยน้อย นั้นส่วนมากใช้ในวงการบ้านเมืองทางคดีโลกและวรรณคดี แบบที่สองคือ ตัวหนังสือธรรม ส่วนมากใช้ทางคดีธรรม คือใช้ในวัดแบบที่สาม คือ ตัวหนังสือขอม เป็นอักษรสำหรับจารึกพระคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา ทั้งสามแบบนี้ ใช้เหล็กแหลมจาน (ขีด) จารึกไว้บนใบลาน โดยใช้เส้นเชือกร้อยหรือผูกไว้ ถ้าหากมีขนาดยาวก็เรียกว่า “หนังสือผูก” ซึ่งมักจะเป็นเรื่องวรรณคดี ถ้าหากจารึกลงในใบลานขนาดสั้นก็เรียกว่า “หนังสือก้อม” โดยมักจะเป็นประเภทตำราต่าง ๆ ทางวิชาการ

ไสว แกล้วกล้า : ผู้กล้าสร้างสีสันทุ่งกุลาร้องไห้

ลูกอีสานรักงานศิลปะ เรียนศิลปะ สอนศิลปะ และสร้างสรรค์งานศิลปะ ตามแบบฉบับของหัวใจ ใช้ชีวิตอยู่อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ เสาะหาวิถีชีวิตจิตวิญญาณของทุ่งกุลาร้องไห้ แล้วสร้างสีสันให้ปรากฏบนผืนผ้าใบ เป็นไปได้อย่างไรที่ทุ่งกุลาร้องไห้จะมีสีสัน

ยุทธศักดิ์ ลุมไธสงค์ “ศิลปินลูกอีสานผู้เรียบง่าย และรักธรรมชาติ”

ความรัก ความอบอุ่น การดำเนินชีวิตความรับผิดชอบในหน้าที่ของเด็กอีสานที่แฝงไว้ด้วยคุณธรรม ระเบียบวินัยในการดำเนินชีวิตประจำวัน การเอาตัวรอดในแต่ละวันจากรุ่นสู่รุ่นจากพ่อสู่ลูก วิถีชีวิตที่ดีงาม เรียบง่าย อยู่กับธรรมชาติ ซึ่งในปัจจุบันนั้นหาได้ยากเต็มที

เรื่องจากปก ทางอีศาน 15 : กำเนิดข้าวไทย

ในระยะแรกยุคที่มนุษย์ยังดำรงชีวิตด้วยการเก็บและล่า ข้าวเป็นเพียงอาหารตามฤดูกาล เมื่อข้าวป่าสุกจึงเก็บมาบริโภค เพราะข้าวป่าเมล็ดร่วงง่าย พอลงดินก็กลายเป็นต้นข้าวในฤดูต่อไป ต่อมามนุษย์เฝ้าสังเกตและเรียนรู้ธรรมชาติ จนถึงในยุคหินใหม่มนุษย์จึงเรียนรู้การปลูกข้าวอย่างเป็นระบบ แทนที่การหาเก็บ ต่อมาเมื่อมนุษย์อยู่รวมเป็นกลุ่ม จึงคิดวิธีปลูกข้าวแบบนาหว่าน แต่ได้ผลผลิตไม่ดีนักเพราะการหว่านไม่สม่ำเสมอ จึงประดิษฐ์ “ไถ” เพื่อแทง หรือไถดินให้ลึก ก่อนจะหว่านเมล็ดข้าวลงไป และต่อจากนั้นก็ทำให้เกิดนวัตกรรมต่าง ๆ ตามมาอย่างต่อเนื่อง

แม่โพสพ

“ข้าวคือชีวิต” คนไทยเชื่อว่าข้าวเป็นสิ่งที่มีบุญคุณ มีจิตวิญญาณ มีเทพธิดาชื่อว่า “แม่โพสพ” ประจำอยู่ในต้นข้าว แม่โพสพเป็นผู้คอยดูแลต้นข้าวให้เจริญงอกงาม ถ้าผู้ใดได้ทำพิธีตามคติความเชื่อและบูชากราบไหว้แม่โพสพแล้วจะทำให้ผู้นั้นร่ำรวยอุดมสมบูรณ์ และข้าวสามารถให้คุณให้โทษแก่มนุษย์ได้ มนุษย์เราเป็นหนี้บุญคุณแม่โพสพเป็นอันมาก

งานจำหลักไม้ บานประตูเรือนไทย

ศิลปะงานไม้ที่โดดเด่นสมัยโบราณก็คืองานจำหลักไม้ ใช้เป็นส่วนประกอบสำคัญของสถาปัตยกรรม ทั้งบ้านเรือนที่อาศัยและสถาปัตยกรรมทางศาสนา

“บุญผะเหวด เทศน์มหาชาติ ประเพณีโบราณอีสาน สะท้อนพลังศรัทธาอันยิ่งใหญ่ผ่านผืนผ้า”

“ผะเหวด” เป็นคำสำเนียงอีสาน ตรงกับคำว่า “พระเวส” หมายถึง พระเวสสัดร อดีตชาติของพระพุทธเจ้าเรื่องราวเกี่ยวกับพระเวสสันดร เรียกว่า “เวสสันดรชาดก” ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก

ผ้าผะเหวด : บันทึกอีสานบนงานทอ

งานศิลปะที่เป็นการบันทึกเรื่องราวทางศาสนาของชาวสุวรรณทวีปในอดีต ไม่ว่าจะบนหลักหิน หรือบนผืนผ้า ถือเป็นหลักฐานสำคัญที่นำไปสู่การศึกษาตีความเรื่องราววิถีชีวิตของผู้คนในอดีต ที่ปรากฏเป็นองค์ประกอบอยู่ในงานศิลปะนั้น บนพื้นที่อีสานมีงานศิลปะแห่งศรัทธาที่เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่ง คือ ผ้าผะเหวด

[๑๑] เส้นทางหนีของปาจิต อรพิม (กำเนิดเมืองพิมาย)

กลุ่มเส้นทางอีกกลุ่มหนึ่งคือ เส้นทางการหนีของปาจิตและอรพิม หลังจากที่ได้สังหารท้าวพรหมฑัต ซึ่งลักพาตัวนางอรพิมมาที่เมืองพิมายแล้ว โดยตำนานกล่าวว่านางอรพิมได้มอมเหล้าพรหมฑัต แล้วปาจิตซึ่งได้รับการต้อนรับจากพรหมฑัตอย่างดี

ตามรอยจาริกหลวงปู่มั่น จากอีสานสู่ล้านนา

“อย่าลดละท้อถอยความเพียร ธรรมเป็นสมบัติกลาง และเป็นสมบัติของทุกคนที่ใคร่ต่อธรรม พระพุทธเจ้ามิได้ผูกขาดไว้แก่ผู้หนึ่งผู้ใดโดยเฉพาะ ต่างมีสิทธิครอบครองเป็นเจ้าของได้ด้วยการปฏิบัติดีของตนด้วยกัน” (หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)

วัดทุ่งสนุ่นรัตนาราม กับโครงการพัฒนาดนตรี-รำฟ้อน ให้แก่เยาวชน โดย “หมาเก้าหาง” – “มูลนิธิทางอีศาน” [ ๒ ]

ท่านได้พัฒนาวัดและพัฒนาคนไปพร้อม ๆ กัน ถึงพื้นที่แห่งนี้มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ และทัศนคติที่อาจจะเห็นต่างกันบ้าง แต่ท่านก็ได้ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนากับศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านมาเป็นตัวสื่อกลางเชื่อมความหลากหลายทางเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์

พ่อครูทรงศักดิ์ ประทุมสินธุ์ ศิลปินเกียรติยศ โหวดเสียงทองเทวดา

พ่อครูเล่าที่มาของโหวดว่าแต่เดิมเป็นของเล่นของเด็กเลี้ยงควาย ยังไม่ถูกเรียกเป็นเครื่องดนตรี ใช้เล่นในช่วงปลายฤดูฝนก่อนเกี่ยวข้าว เป่าเล่นเพื่อความสนุกขณะที่เลี้ยงควายตามทุ่งนา และใช้แกว่งหรือเหวี่ยงเพื่อฟังเสียง ด้วยการต่อหางโหวดให้ยาวแล้วใช้เชือกคล้องหัวกับหางโหวด แกว่งให้หวดรอบศีรษะด้วยความเร็วสูงจะเกิดเสียงดังว่า “แงว ๆ” ฟังแล้วเกิดเสียงไพเราะ เรียกการแกว่งโหวดชนิดนี้ว่า “การแงวโหวด” ลักษณะของโหวดสมัยโบราณยังไม่มีความสวยงาม
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com