Category

ศิลปวัฒนธรรม – ประวัติศาสตร์

ฮีตเดือนสิบ เกิดจากคติเรื่อง “เมียหลวงอิจฉาเมียน้อย”

คำว่า ข้าวสลาก หรือ ข้าวสาก หรือข้าวกระยาสารท แปลว่า ของกินในฤดูสารท และคำว่า หม้อข้าว ข้าวทิพย์ ข้าวปายาส (ปายาด) ข้าวมธุปายาส ข้าวปาด ข้าวสัปปิยาคู ก็มีความหมายเดียวกันแต่เรียกต่างกัน คำว่า ข้าวสลาก มาจากคำว่า สารท (ศรทฺ) ในภาษาสันสกฤต (ภาษาบาลีมาจากคำว่า สรท) ต่อมาออกเสียงสากหรือสาด

ประวัติและที่มาทำไมต้องหาฤกษ์ก่อนทำกิจและพิธีกรรม

ในหมู่บ้านแห่งนี้มีหญิงหม้ายคนหนึ่งชื่อว่า แม่ฤกษ์งามยามดี นางเป็นคนสวยรวยเสน่ห์ นางไม่ใช่แม่หม้ายธรรมดาแต่เป็นแม่หม้ายทรงเครื่องก่อนสามีของนางจะตายได้ให้บุตรชายถึงสี่คนเอาไว้ดูต่างหน้า...

ยี่สิบสี่ มิถุนา…

ถึงเดือนมิถุนายน ของทุกปี ผมจะนึกถึงเพลง...ยี่สิบสี่มิถุนา...ยน มหาศรีสวัสดิ์ ปฐมฤกษ์ ของรัฐธรรมนูญของไทยฯ...นึกได้ว่าที่ด้านซ้ายของลานพระบรมรูปทรงม้า หน้าประตูสนามเสือป่าจะมีหมุดฝังอยู่ มีข้อความจารึกว่า “ณ ที่นี้ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ เวลาย่ำรุ่ง คณะราษฎร ได้ก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญเพื่อความเจริญของชาติ”

พระมงคลวัฒนคุณ (“หลวงพ่อเพิ่มบารมี”)

ผลงานกวีนิพนธ์ของหลวงพ่อมีเป็นจำนวนมาก กลอนแบบนิราศที่เขียนถึงจังหวัดต่าง ๆ ในประเทศไทยที่รวบรวมเอาอำเภอ จุดเด่นของแต่ละจังหวัด แทรกแง่ข้อคิดเชิงปรัชญาไว้ด้วยหรือบทธรรมทัวร์ทั่วไทย หรือชุดดอกไม้ในแดนธรรม ซึ่งรวบรวมชื่อดอกไม้มาเขียนเป็นกลอนดอกสร้อยไว้ครบครัน รวมทั้งบท มงคล ๓๘ ที่หลวงพ่อมักทำเป็นใบปลิวแจกญาติโยม ซึ่งออกแบบเป็นรูปพระเจดีย์ อ่านขึ้นตั้งแต่ฐานจนถึงบทจบของกลอน

วิถีควาย วิถีคน

ควายเป็นสัตว์เลี้ยงสำคัญของชาติพันธุ์อีศาน ไม่ต่างจากชนลุ่มน้ำเจ้าพระยาและแหล่งอื่น ๆ อาทิ ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนีเซียเวียดนาม พม่า กัมพูชา และลาว ทั้งนี้เพราะควายเป็นแรงงานสำคัญในด้านกสิกรรม แต่ก็เหลือเชื่อที่มนุษย์ใช้เป็นทั้งแรงงาน เป็นทั้งอาหาร และใช้สำหรับประกอบพิธีกรรม

เรื่อย ๆ มาเรียง ๆ : สวัสดีปีใหม่

คำว่า “ปีใหม่” ...คนเราอาศัยดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ กำหนดวันเวลาเป็นเดือน เป็นปี ต่อมาสังเกตช่วงอากาศร้อน ฝนตก และอากาศหนาวกำหนดฤดูกาล การจะเริ่มต้นนับว่าช่วงไหนเป็นปีใหม่นั้น ต่างกลุ่มต่างก็ขึ้นปีใหม่กันตามความนิยมที่เห็นว่าเหมาะสมของกลุ่มของตน

ฮีตเดือนเก้า

คำว่า ข้าวประดับดิน คือการดำนาโดยการเอาข้าวกล้ามาปักดำลงในนา ถือเป็นศิลปะอย่างหนึ่งในการเอาต้นข้าวมาประดับดินให้ดูสวยงาม ทั้งตอนปักเสร็จแล้วใหม่ ทั้งตอนที่ต้นข้าวเขียวขจีทั่วท้องทุ่งทั้งตอนต้นข้าวออกรวงเหลืองอร่าม เมื่อถึงเดือน ๙ แรม ๑๔ คํ่า ชาวอีสานจะพากันทำบุญอย่างหนึ่ง เรียกว่า บุญข้าวประดับดิน หรือ บุญห่อข้าวน้อย ในวันเดือน ๙ ดับเท่านั้น เพราะในเดือนนี้พญายมบาลได้ปล่อยพวกสัตว์นรกออกมาหากิน หรือมารับส่วนบุญกับญาติพี่น้องที่โลกมนุษย์

ประวัติและที่มา ทำไมจึงปลูกบ้านขวางดวงอาทิตย์ได้

กาลอันล่วงเลยมาสามารถกำหนดช่วงเวลา กำหนดวัน กำหนดเดือน กำหนดปีที่เกิดเหตุการณ์ได้ และสามารถที่จะกำหนดเป็นศตวรรษได้ โดยเริ่มต้นจากกาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีอยู่สมัยหนึ่งพระอินทร์ผู้เป็นเทพเจ้าแห่งสิ่งทั้งมวลบนโลกพิภพ อีกทั้งยังเป็นจอมเทพแห่งเทวโลก มนุษย์โลก และสัตว์โลกทั้งหลายได้ตรวจตราดูโลก

เมื่อฝรั่งตะลึงสยาม พยุหยาตราชลมารค

“ขบวนเรือหลวงมีเรือ ๗ ถึง ๘ ลำ มีฝีพายลำละ ๑๐๐ คน มีทหารประจำเรือรวมทั้งสิ้นประมาณ ๔๐๐ คน ตามมาด้วยข้าราชบริพารอีก ๑,๐๐๐ ถึง ๑,๒๐๐ คน ซึ่งนั่งมาในเรือแกะสลักเป็นลวดลายลงรักปิดทอง บางลำก็เป็นเรือสำหรับพวกปี่พาทย์โดยเฉพาะ” ส่วนคนที่อยู่ในเรือก็ “...เห่เรือกันอย่างสุดเสียง ทั้งยังพายเรือด้วยความสง่างามเหมือนกับเป็นของง่าย...มันเป็นภาพที่สวยงามอย่างไม่น่าเชื่อ... มองไปทางไหนก็เห็นแต่เรือและผู้คน ผ่านไปมาในแม่น้ำอย่างไม่ขาดสาย”

กลอนบทละคร (๔)

เรื่องกลอนบทละครอยุธยา ยังมีเรื่องเล่าอีกยาวครับ ตอนก่อน ๆ ผมคิดว่าท่านผู้อ่านคงอ่านรสกลอนไม่เต็มที่ ฉบับนี้จะลงให้จุใจเลย เป็นกลอนชมเมืองจากบทละครเรื่องอิเหนา สมัยอยุธยา (คัดจากหนังสือ “ตำนานอิเหนา” โดย สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ) นอกจากอยากให้สนใจลีลากลอนสมัยอยุธยาแล้ว

แทนน้ำนมแม่ สำนึกของลูกอีสาน

วรรณกรรมอีสานหลากหลายเรื่องราวถูกจดจารลงในใบลาน เรียงร้อยด้วยสายสนองเรียกว่า “หนังสือผูก” เป็นมรดกทางภูมิปัญญาของบรรพชนที่ส่งต่อสำนึกทางวัฒนธรรมให้กับคนรุ่นต่อมา ลูกอีสานเมื่อครั้งยังอาศัยวัดเป็นสำนักเรียนรู้ คงคุ้นเคยกับวรรณกรรมสำคัญเรื่อง “แทนน้ำนมแม่” ซึ่งมีเรื่องราวที่เล่าถึงพระคุณแม่ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงเมื่อครั้งเสด็จโปรดพุทธมารดาที่เมืองฟ้า

วัฒนธรรมแถน (๔) : แถนในวัฒนธรรมมลายูดั้งเดิม

ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มีการละเล่นคล้ายมะโนราเรียกว่า มะโย่ง มีผู้ศึกษาพบว่าคำว่า มะโย่ง (Makyung) มาจากคำว่า Mak Hyang (มะ-แม่ เฮียง) ซึ่งเป็นพิธีบูชาผีบรรพบุรุษฝ่ายแม่ของพวกมลายูในสมัยก่อนอิสลาม หรือก่อนพราหมณ์-พุทธด้วยซ้ำ ซึ่งคลี่คลายมาเป็นการละเล่นเพื่อความบันเทิงในสมัยหลังเช่นเดียวกับหนัง ‘วายัง’ (wayang) หรือหนังตะลุง

คำเก่าอย่าฟ้าวลืม – ยา

คำว่า “ยา” ภาษาลาว-อีสาน มี ๓ ความหมาย ๑. คำนาม ยารักษาโรค (อักษรลาวปัจจุบันใช้ ตัว ย-หางยาว) ๒. คำกริยา หมายความว่า อย่า ๓. คำนาม เป็นคำเรียกพระภิกษุที่เคารพยกย่องว่า “ยาคู” (ยา ออกเสียงขึ้นจมูก)

จาก “สีหปักษี” ถึง “หัสดีลิงค์” สัตว์ศักดิ์สิทธิ์ในพิธีศพสูงศักดิ์

ด้วยศรัทธาสูงส่งที่มีต่อเทพเจ้าทั้งหลายในศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู พิธีศพของชาวบาหลีจึงมีกระบวนการอันเอิกเกริก ดั่งการส่งดวงวิญญาณของผู้ตายคืนสู่สรวงสวรรค์ ซึ่งจะต้องสร้างอุปกรณ์สำคัญสองสิ่ง คือ “บาเดห์” (Wadah) หออัญเชิญศพแบบจำลองจักรวาลตามคติของชาวบาหลี และ “เลมบู” (Lembu) หุ่นสัตว์ในเทพนิยายสำหรับอัญเชิญศพสู่พิธีเผา ...

ไหว้ตาแฮกที่ปลายนา : หัวใจบุญข้าวสาก

บุญข้าวสาก เป็นงานบุญเดือนสิบของคนอีศาน นอกจากทำบุญอันเป็นพิธีทางศาสนาในพระพุทธศาสนาแล้ว ยังเป็นประเพณีที่มีความเชื่อถือถึง วิถีชีวิต การทำมาหากิน รวมอยู่ในงานประเพณีที่สำคัญของบุญเดือนสิบ – บุญข้าวสากอีกด้วย
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com