ว่าด้วย เงือก (๒) “ตูเงียะ” เงือกของชาวจ้วงในกวางสี
ตามความเชื่อของนักวิชาการกวางสีโดยทั่วไปเชื่อว่า “ตูเงียะ” เป็นจ้าวแห่งนํ้าเช่นกัน แต่คือ จระเข้ เสียงคำว่า “เงียะ” นั้นคล้ายกับสำเนียงจีนกลางคำว่า “เง่อ” (หรือ เอ้อ) ที่แปลว่า “จระเข้” 鳄
๑๒ เดือนของไทมาว
“มาว” เป็นชื่อแม่น้ำ คือแม่น้ำมาว คนไทแถบนั้นก่อตั้งรัฐเมืองมาวหลวงขึ้น มีตำนานว่าก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ ค.ศ ๕๘๖ (ยุคโน้น ยังถูกครอบงำด้วยอำนาจของอาณาจักรหนานเจาหรือน่านเจ้า) ภายหลังจึงมีเอกราช (ตำนานขุนลู ขุนไล ในช่วงประมาณ ต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๑๐)
ยักษ์สะลึคึ ตำนานแม่น้ำโขง
ครั้งหนึ่ง นานมาแล้ว มียักษ์เพศผู้ตนหนึ่งหากินอยู่บริเวณที่เป็นอาณาเขตของประเทศจีน พม่า ลาว ไทย กัมพูชา และเวียดนาม ในปัจจุบัน ยุคนั้นบ้านเมืองต่าง ๆ ยังไม่มีการรวมกลุ่มเป็นประเทศ จะมีเพียงผู้คนอาศัยรวมกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ตามป่าเขา ชาวบ้านทั่วไปจะรู้จักยักษ์เพศผู้ตนนี้ดี เพราะเวลามันเดินทางไปหาอาหาร จะเกิดเสียงดังสนั่นเหมือนกับเกิดแผ่นดินเลื่อนหรือแยกออกเป็นร่อง พอชาวบ้านได้ยินเสียงดังกล่าวจะพากันอพยพหลบหนีไปซ่อนตัวตามหุบเขาให้พ้นเส้นทางที่ยักษ์ตนนี้เดินผ่านจะได้ปลอดภัย
แกะรอยคำว่า เงือก
การเปลี่ยนความหมายของ “คำ” เป็นเรื่องปกติ ความหมายดั้งเดิมของคำบางคำ เช่นคำว่า “เงือก” ในภาษาไท-ลาวโบราณ เปลี่ยนไปจนหมดเค้าเดิม
ถ้าถามเด็ก ๆ ว่า “เงือก” คือตัวอะไร คำตอบคือ “นางเงือก” (mermaid) ครึ่งคนครึ่งปลา
ถ้าถามผู้ใหญ่ในอีสาน ว่า “เงือก” คือตัวอะไร คำตอบที่ได้ฟังบ่อยคือ เป็นสัตว์นํ้าประเภทปลาไหลไฟฟ้า , เป็นผีนํ้า ทำให้คนตาย ฯลฯ
วรรณกรรมสมัยกรุงธนบุรี เล่มที่สอง [๕]
มุขปาฐะเรื่องปาจิต อรพิม นี้ ได้รับการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรในหลากหลายรูปแบบ ทั้งแบบโคลงในสมัยอยุธยา ตัวธรรมลาวปัญญาสชาดก แต่การบันทึกลายลักษณ์อักษรในฐานะ ตำนานเมืองพิมายนั้นเป็นการยืมโครงเรื่องของเรื่องเล่านิทานปรัมปราที่กลายเป็นชาดกนอกนิบาต และกลับกลายเป็นตำนานท้องถิ่น
พื้นสืบ
“พื้นสืบ” ในภาษาลาว หมายถึง เรื่องเล่าพื้นบ้าน มีเนื้อหาเล่าถึงประวัติของ บุคคล, เหตุการณ์, สถานที่, ชุมชน, บ้านเมือง ฯลฯ ดั้งเดิมเป็นวรรณกรรม “มุขปาฐะ” คือเรื่องเล่า ต่อมาเมื่อเริ่มมีการเขียนบันทึกเชิงประวัติศาสตร์ เนื้อหาของพื้นสืบถูกปรับปรุง ถูกตัดทอน ให้ดูเป็นประวัติศาสตร์ที่น่าเชื่อถือมากขึ้น ทางอีสานบ้านเรา เรียกวรรณกรรมประเภทนี้ว่า “หนังสือพื้น”
ฤกษ์งาม ยามดี : โลกเก่าที่เล่าซํ้าบนโลกใหม่
การแสดงจุดยืนด้วยท้องถิ่นนิยมที่ปรากฏอยู่ทั่วไปในสังคมอีสานปัจจุบัน เช่น การรณรงค์อาหารอีสาน การเที่ยวเมืองอีสาน การรื้อฟื้นประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นอีสาน ตลอดถึงการฟื้นฟูภูมิปัญญาอีสาน
กลอนบทละคร (๑๕-๑๖)
บทพากย์ นางลอย ยุคอยุธยา เทียบกับพระราชนิพนธ์ ร.2 ขนบการประพันธ์ของไทยโบราณ ผู้ประพันธ์จะถ่อมตน บางเรื่องไม่แถลงนามผู้ประพันธ์ หลายเรื่องที่ลงท้ายเชิญให้ผู้ที่มีความสามารถสูงกว่าช่วยแก้ไขปรับปรุงให้ด้วย
ผู้หญิงแนวหลัง
ผู้หญิงแนวหลังที่ผมขอเอ่ยนามไว้ คือท่านผู้หญิงพูนสุข พนมยงค์ นางนิวาศน์ ศิริขันธ์ นางบังอร ภูริพัฒน์ นางทองคำ ดาวเรือง นางบุญทัน อุดล และ นางแตงอ่อน จันดาวงศ์ ภรรยาของ นายครอง จันดาวงศ์ ผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ และถูกประหารชีวิตโดยการยิงเป้าที่ อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร ผู้หญิงแนวหลังกลุ่มนี้ เป็นผู้หญิงอีสานทั้งหมด ยกเว้นท่านผู้หญิงพูนสุข พนมยงค์ ต้องมีชีวิตที่ต้องต่อสู้ความรู้สึกทั้งภายใน และภายนอก
ปริศนาสุริยะเทพ
ประติมากรรมหินรูปสุริยะเทพ พบไม่มากในอาเซียน และที่พบในไทยและกัมพูชานั้นแตกต่างจากที่พบในชวาชัดเจน สุริยะเทพที่พบในไทยและกัมพูชาส่วนหนึ่งสวมหมวกแขกหรือที่เรียกว่า กีริฎมงกุฎ อีกส่วนหนึ่งสวมหมวกแขกเหลี่ยม บางรูปมีหนวดเครา (เช่นองค์ที่พบ ที่ศรีเทพ) สุริยะเทพสวมหมวกเหลี่ยมนี้ ผู้รู้ท่านว่าเป็นลักษณะพิเศษที่พบในอาเซียน แต่ไม่พบในอินเดีย ส่วนสุริยะเทพสวมหมวกแขกนั้นเป็นอิทธิพลช่างอินเดีย
นิทานประจำถิ่น ปาจิต อรพิม และฉบับเมืองนางรอง [๔]
การเคลื่อนที่ของนิทานประจำถิ่นนั้นเป็นไปตามการเคลื่อนย้ายของคนในท้องถิ่น ชาวโคราช และชาวบุรีรัมย์นั้น ต่างก็เคลื่อนย้ายถิ่นฐานไปตามเส้นทางการค้าและการเกษตรโดยไม่ได้คำนึงถึงเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างจังหวัด จากสี่กลุ่ม ของชาวบุรีรัมย์ คือ ไทยโคราช ไทยลาว ไทยเขมร และกูย
กลอนบทละคร (๕ – ๖)
กลอนบรรยายพระราชวังกรุงกุเรปัน ในบทละครอิเหนาครั้งกรุงเก่าข้างต้นนี้ ภาพที่บรรยายแท้จริงแล้วก็คือพระราชวังสมัยกรุงศรีอยุธยานั่นเอง เนื้อความตอนนี้จึงมีความหมายสำคัญทางประวัติศาสตร์ด้วยครับ การอ่านวรรณคดีนั้น เราจะได้ทั้งความไพเราะชื่นใจของภาษา และความรู้ทางประวัติศาสตร์ สังคมวิทยาด้วย
ชนะคาม – เชียงคาน “พระหด” สิ่งมหัศจรรย์ของอาเซียน
สมัยโบราณนั้นตัวอำเภอเชียงคานกับเมืองสานะคามหรือชนะคามเป็นเมืองเดียวกัน(เมืองอกแตก คือ มีสองฝั่ง ส่วนใหญ่แล้วบริเวณตัวเมืองใหญ่จะอยู่ฝั่งลาว ตัวเมืองเล็กอยู่ฝั่งไทย เช่น “ศรีเชียงใหม่ก็คือส่วนหนึ่งของเมืองเวียงจันโบราณ) เมืองเชียงคานโบราณเป็นเมืองสำคัญอยู่กึ่งกลางระหว่างหลวงพระบางกับเวียงจัน
ประวัติความเป็นมาของเผ่าภูไท ตำนานแรก
เผ่าภูไทนิยมนุ่งผ้าซิ่นหมี่ตีนต่อ เป็นผืนเดียวกันกับผ้าผืนกว้างประมาณ 4-5 นิ้ว ย้อมครมเกือบสีดำ เรียกว่าผ้าดำหรือซิ่นดำ สวมเสื้อแขนกระบอกสามส่วน สำดำขลิบแดง ติดกระดุมเงิน หรือเหรียญสตางค์ หรือกระดุมขาวมาติดเรียงสองแถวห่มด้วยผ้าขิดพื้นเมือง เปลือยไหล่ด้านขวา ห่มด้านซ้ายและมัดชายผ้าสีข้างด้านขวา นิยมสวมสร้อยคอ สร้อยข้อมือ ข้อเท้า ด้วยโลหะเงิน เกล้าผมเป็นมวยสูงตั้งตรง ใช้ผ้ามนหรือแพรมนทำเป็นผ้าสี่เหลี่ยมเล็กๆ ม้วนผูกมวยผม
Time And Tide : The Undercurrents of Contemporary Lao Art ศิลปะสมัยใหม่ของลาว
ศิลปะของบ้านใกล้เรือนเคียงหรือบ้านพี่เมืองน้องในแถบลุ่มแม่น้ำโขง เช่นในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีความน่าสนใจในตัวเนื้อหาของเรื่องเล่าชีวิต สังคมการเมืองของผู้คนในประเทศผ่านงานศิลปะร่วมสมัยกับศิลปะสมัยใหม่ ทำให้ผู้ศึกษาและชมงานศิลปะของลาวได้เรียนรู้ผ่านผลงานของศิลปินลาวที่นำเสนอไปยังสาธารณะ